อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

ปริพาชกชื่อจัมมสาฏก  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

กลฺยาณรูโป  วตายํ  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  ปริพาชกนั้นมีหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งและเครื่อง

ห่ม.  วันหนึ่ง  ปริพาชกนั้นออกจากอารามของปริพาชก  เที่ยวภิกขา

ไปในนครสาวัตถีถึงที่พวกแพะชนกัน.  แพะเห็นปริพาชกนั้นมีความ

ประสงค์จะชนจึงย่อตัวลง.  ปริพาชกไม่หลีกเลี่ยงไปด้วยคิดว่า  แพะนี้

จักแสดงความเคารพเรา.  แพะวิ่งมาโดยรวดเร็ว  ชนปริพาชกนั้นที่

ขาอ่อนทำให้ล้มลง.  เหตุที่เขายกย่องแพะนั้นซึ่งมิใช่สัตบุรุษนั้น  ได้

ปรากฎไปในหมู่ภิกษุสงฆ์.  ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม-

สภาว่า  อาวุโสทั้งหลาย  จัมมสาฏกปริพาชกกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ

จึงถึงความพินาศ  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  เมื่อภิกษุทั้งหลาย.

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  มิใช่บัดนี้เท่านั้น

แม้ในกาลก่อน  ปริพาชกนี้ก็ได้ยกย่องอสัตบุรุษแล้วถึงความพินาศ

ดังนี้แล้ว  ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าตระกูลหนึ่ง  กระทำ

การค้าอยู่.  ในกาลนั้น  มีจัมมสาฏกปริพาชกผู้หนึ่ง  เที่ยวภิกขาไปใน

นครพาราณสีถึงสถานที่พวกแพะชนกัน  เห็นแพะตัวหนึ่งย่อตัวก็ไม่

หลีกหนีด้วยสำคัญว่า  มันทำความเคารพเรา  คิดว่า  ในระหว่าง

พวกมนุษย์นี้มีประมาณเท่านี้  แพะตัวหนึ่งยังรู้จักคุณของเรา  จึงยืน

ประนมมือแต้อยู่  กล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              แพะตัวนี้เป็นสัตว์มีท่าทางดี  เป็นที่

       เจริญใจ  และมีศีลน่ารักใคร่  เคารพยำเกรง

       พราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์  จัดว่า

       เป็นแพะประเสริฐ  มียศศักดิ์.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  กลฺยาณรูโป  ได้แก่  มีชาติกำเนิด

งาม.  บทว่า  สุเปสโล  ได้แก่  มีศีลเป็นที่รักด้วยดี  บทว่า  ชาติมนฺ-

ตูปปนฺนํ  แปลว่า  สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ทั้งหลาย.  บทว่า  ยสสฺสี

นี้เป็นบทกล่าวถึงคุณ.

       ขณะนั้น  พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตนั่งอยู่ในตลาด  เมื่อจะห้ามปริพา-

ชกนั้น.  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ดูก่อนพราหมณ์  ท่านอย่าได้ไว้วางใจ

       สัตว์    เท้า  เพียงได้เห็นมันครู่เดียว  มัน

       ต้องการจะชนให้ถนัด  จึงย่อตัวลงจักชนให้

       ถนัดถนี่.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อิตฺตรทสฺสเนน  ความว่า  เพียง

เห็นมันชั่วขณะ.

       ก็เมื่อพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตกำลังพูดอยู่นั่นแหละ  แพะวิ่งมาโดย

เร็วชนที่ขาอ่อนให้ปริพาชกนั้นล้มลง    ที่นั้นเอง  ทำให้ได้รับทุกข-

เวทนา.  ปริพาชกนั้นนอนปริเวทนาการอยู่.

       พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น  จึงตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก  บริขาร

       ที่หาบก็พลัดตก  สิ่งของของพราหมณ์ก็แตก

       ทำลายหมด  พราหมณ์ประคองแขนทั้งสอง

       คร่ำครวญอยู่ว่า  ช่วยด้วย  แพะชนพรหมจารี.

       เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นมีว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กระ-

ดูกขาของปริพาชกนั้นหัก  หาบบริขารก็พลัดตก  เมื่อปริพาชกนั้น

กลิ้งไป  ภัณฑะเครื่องอุปกรณ์ของพราพมณ์นั้นแม้ทั้งหมดแตกไป.

พราหมณ์นั้นยกมือทั้งสองขึ้น  กล่าวหมายเอาบริษัทที่ยืนล้อมอยู่ว่า

ช่วยด้วย  แพะชนพรหมจารีดังนี้  คร่ำครวญ  ร้องไห้  ปริเทวนาการ

ร่ำไรอยู่.

       ปริพาชกจึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ผู้ใดสรรเสริญยกย่องคนที่ไม่ควรบูชา

       ผู้นั้นจะถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่  เหมือนเราผู้มี

       ปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อปูชํ  ได้แก่  ผู้ไม่ควรบูชา.  บทว่า

ยถาหมชฺช  ความว่า  เหมือนเรายืนทำการยกย่องอสัตบุรุษ  ถูกแพะ

ชนอย่างแรงจนตายอยู่  ณที่นี้ในวันนี้เอง.  บทว่า  ทุมฺมติ  แปลว่า

ผู้ไม่มีปัญญา  อธิบายว่า  บุคคลแม้อื่นใดกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ

บุคคลแม้นั้นย่อมเสวยความทุกข์เหมือนเราฉันนั้น.

       ปริพาชกนั้นคร่ำครวญอยู่ด้วยประการฉะนี้  จึงถึงความสิ้น

ชีวิตไป    ที่นั้นเอง.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  ปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในครั้งนั้น.  ได้เป็นปริพาชกชื่อ

จัมมสาฏกในบัดนี้  ส่วนพาณิชผู้บัณฑิตในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่