อรรถกถาสุจจชชาดกที่  ๑๐

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันวิหาร  ทรงปรารภ

กฎุมพีคนหนึ่ง  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า  สุจชํ  วต

  จชิ  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  กฎุมพีนั้นคิดว่า  จักสะสางหนี้สินในหมู่บ้าน  จึงไป

ในหมู่บ้านนั้นพร้อมกับภรรยา  ครั้นชำระสะสางแล้วคิดว่า  เราจักนำ

เกวียนมาขนไปภายหลัง  จึงฝากไว้ในตระกูลหนึ่ง  กลับไปยังเมือง

สาวัตถีอีก  ได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งในระหว่างทาง.  ครั้งนั้น  ภรรยากล่าว

กะกฎุมพีนั้นว่า  นาย  ถ้าภูเขานี้จะพึงเป็นทองไซร้  ท่านจะให้อะไร

ฉันบ้าง.  กฎุมพีกล่าวว่า  เธอเป็นใคร  ฉันจักไม่ให้อะไรเลย.  ฝ่าย

ภรรยานั้นได้น้อยใจว่า  สามีของเรานี้มีหัวใจกระด้างนัก  นัยว่า  เมื่อ

ภูเขาแม้เกิดเป็นทองไปทั้งลูก  ก็จักไม่ให้อะไรแก่เราเลย.  สามีภรรยา

ทั้งสองนั้นเดินมาใกล้พระเชตวัน  คิดว่าจักดื่มน้ำ  จึงเข้าไปยังพระ-

วิหารดื่มน้ำ.  ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งนั้นแล  แม้พระศาสดาก็ทรงได้

เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของคนทั้งสองนั้น  เมื่อจะทรงรอคอยการ

มา  จึงประทับนั่งในบริเวณพระคันธกุฎี  ทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณ

  ประการ.  ฝ่ายสามีภรรยาทั้งสองนั้นดื่มน้ำแล้วก็มาถวายบังคมพระ-

ศาสดาแล้วนั่งอยู่.  พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับสามีภรรยาทั้งสอง

นั้น  แล้วตรัสถามว่า  ท่านทั้งสองไปไหนมา  ?  สามีภรรยาทั้งสอง

กราบทูลว่า  ไปสะสางหนี้สินในหมู่บ้านของข้าพระองค์  พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสถามภรรยาของเขาว่า  อุบาสิกา  สามีของเธอหวังประ-

โยชน์เกื้อกูลแห่งเธอ  ทำอุปการะแก่เธออยู่หรือ  ?  ภรรยากฎุมพีกราบ-

ทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์มีความสิเน่หาในสามีนี้  แต่

สามีนี้ไม่มีความสิเน่หาในข้าพระองค์  วันนี้  เมื่อข้าพระองค์เห็นภูเขา

แล้วพูดว่า  ถ้าภูเขาลูกนี้จะเป็นทอง  ท่านจะให้อะไรแก่ฉันบ้าง  เขา

กลับพูดว่า  เธอเป็นใคร  ฉันจักไม่ให้อะไร  สามีผู้นี้เป็นคนมีหัวใจ

กระด้างอย่างนี้  พระเจ้าข้า.  พระศาสดาตรัสว่า  อุบาสิกา  กฎุมพีนี้

ย่อมกล่าวอย่างนี้เอง  แต่เมื่อใด  เขานึกถึงคุณความดีนั้นของเธอ

เมื่อนั้น  เขาจะให้ความเป็นใหญ่ทั้งหมด  อันภรรยาของกฎุมพีนั้น

ทูลอาราธนาว่า  ขอพระองค์จงตรัสบอกเถิด  พระเจ้าเข้า  จึงทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งหมดของพระ-

เจ้าพรหมทัตนั้น.  อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงเห็นพระราชโอรสมา

ยังที่เฝ้า  ทรงดำริว่า  ลูกคนนี้คงจะทรยศประทุษร้ายในฝ่ายในของเรา

จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า  ลูกรัก  ตราบเท่าที่

พ่อยังมีชีวิตอยู่  เจ้าอย่าได้อยู่ในพระนคร  จงอยู่ในที่อื่น  เมื่อพ่อ

ล่วงลับไปแล้วจึงค่อยครองราชสมบัติ.  พระโอรสรับพระบัญชาแล้ว

ถวายบังคมพระราชบิดาพร้อมกับพระเชษฐชายา  ออกจากพระนครไป

ยังชายแดน  สร้างบรรณศาลาอยู่ในป่า  ยังพระชนม์ชีพให้เป็นอยู่

ด้วยมูลผลาผลในป่า.  จำเนียรกาลนานมา  พระราชาเสด็จสวรรคต

อุปราชราชโอรสทรงตรวจดูนักขัตฤกษ์  รู้ว่าพระราชาผู้พระบิดานั้น

สวรรคตแล้ว  จึงมายังพระนครพาราณสี  ในระหว่างทางได้เห็นภูเขา

ลูกหนึ่ง.  ลำดับนั้น  พระชายาตรัสกะพระราชโอรสนั้นว่า  ข้าแต่เทวะ

ถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง  พระองค์จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง.

พระราชโอรสตรัสว่า  เธอเป็นใคร  ฉันจักไม่ให้อะไรเลย.  พระชายา

นั้นได้น้อยพระทัยว่า  เราไม่อาจละทิ้ง  เพราะความสิเน่หาในพระ-

สวามีนี้  จึงเข้าไปสู่ป่าด้วย  แต่พระสวามีนี้ตรัสอย่างนี้  เป็นผู้มีพระทัย

กระด้างยิ่งนัก  พระสวามีนี้ได้เป็นราชาแล้ว  จักไม่กระทำความดีงาม

แก่เรา.  พระราชโอรสนั้นเสด็จมาแล้วดำรงอยู่ในราชสมบัติ  จึงทรง

ตั้งพระชายานั้นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี  ได้ประทานเพียงยศนี้เท่านั้น

ส่วนการนับถือยกย่องที่ยิ่งขึ้นไป  ไม่มี  แม้ความที่พระนางมีอยู่  ก็ไม่

ทรงสนพระทัย.  พระโพธิสัตว์คิดว่า  พระเทวีนี้มีอุปการะแก่พระราชา

นี้มิได้คำนึงถึงความลำบากได้เสด็จอยู่ในป่าด้วย  แต่พระราชานี้มิได้

ทรงคำนึงถึงพระเทวีนี้เลย  เที่ยวอภิรมย์อยู่กับนางสนมอื่นๆ  เราจัก

กระทำโดยประการที่พระเทวีนี้ได้อิสริยยศทั้งปวง  วันหนึ่ง  จึงเข้าไป

เฝ้าพระเทวีนั้นแล้วกราบทูลว่า  ข้าแต่มหาเทวี  ข้าพระองค์ไม่ได้แม้

แต่ก้อนข้าวจากสำนักของพระองค์  เพราะเหตุไร  ?  พระองค์จึงทรงละ

เลยข้าพระองค์  มีน้ำพระทัยกระด้างยิ่งนัก.  พระเทวีนั้นตรัสว่า  ดู-

ก่อนพ่อ  ถ้าตัวเราได้  เราก็จะให้ท่านบ้าง  แต่เราเมื่อไม่ได้  จักให้ได้

อย่างไร  จนบัดนี้  แม้พระราชาก็มิได้ประทานอะไรเลยแก่เรา  ดูก่อน

พ่อ  ในระหว่างทาง  เมื่อเรากล่าวว่า  เมื่อภูเขานี้เกิดเป็นทอง  พระองค์

จักประทานอะไรหม่อมฉันบ้าง  พระราชานั้นยังตรัสว่า  เธอเป็นใคร

ฉันจักไม่ให้อะไรเลย  แม้ของที่บริจาคได้ง่ายๆ  พระองค์ก็ไม่ทรงบริ-

จาคเลย.  พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า  ก็พระองค์จักอาจตรัสเรื่องนี้ใน

สำนักของพระราชาหรือ  ?  พระเทวีตรัสว่า  ทำไมฉันจักไม่อาจเล่าพ่อ.

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า  ถ้าอย่างนั้น  ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของ

พระราชา  จักทูลถามพระองค์พึงตรัสขึ้นเถิด.  พระเทวีรับว่า  ได้ซิพ่อ.

ในเวลาที่พระเทวีเสด็จไปยังที่เฝ้าพระราชา  แล้วประทับยืนอยู่  พระ-

โพธิสัตว์กราบทูลว่า  ข้าแต่พระแม่เจ้า  ข้าพระองค์ไม่ได้แม้อะไรๆ

จากสำนักของพระองค์เลยมิใช่หรือ  ?  พระเทวีตรัสว่า  พ่ออำมาตย์

เราเมื่อได้จึงจะให้ท่าน  เราเองก็ไม่ได้อะไรเลย  บัดนี้  แม้พระราชา

ก็จักประทานอะไรแก่เราบ้าง  เพราะว่าในเวลามาจากป่า  พระราชา

นั้นทรงเห็นภูเขาลูกหนึ่ง  เมื่อเราทูลว่า  ถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง  พระองค์

จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง  พระองค์นั้นยังตรัสว่า  เธอเป็นใคร

ฉันจักไม่ให้อะไรเลย  แม้ของที่สละได้ง่ายพระองค์ก็ไม่ทรงเสียสละ

เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้  จึงตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วย

       พระวาจา  ชื่อว่าไม่ทรงสละสิ่งที่ควรสละได้

       ง่าย  เมื่อพระราชานั้นพระราชทานอะไรบ้าง

       ก็ชื่อว่าได้พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สุจชํ  วต  ความว่า  ชื่อว่าไม่

ทรงสละแม้สิ่งที่อาจสละได้โดยง่าย.  บทว่า  อททํ  ได้แก่  ไม่พระ-

ราชทานภูเขาแม้ด้วยสักว่าพระดำรัส.  บทว่า  กิญฺจิ  ตสฺส  จชนฺ-

ตสฺส*  ความว่า  เมื่อพระราชานั้นผู้อันเราทูลขอแล้วได้ทรงสละภูเขา

นั้น  ชื่อว่าได้ทรงสละอะไรบ้าง.  บทว่า  วาจาย  อททํ*  ปพฺพตํ

ความว่า  ถ้าพระราชานี้อันเราทูลขอแล้วได้พระราชทานภูเขานั้น  ซึ่ง

แม้เป็นทองตามคำพูดของเรา  ด้วยพระวาจา  คือ  ได้พระราชทานด้วย

เพียงสักว่าพระดำรัส.  พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น  จึงตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              บัณฑิตกระทำสิ่งใด  พึงพูดสิ่งนั้น  ไม่

       กระทำสิ่งใด  ไม่พึงพูดสิ่งนั้น  บัณฑิตทั้งหลาย

       ย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำดีแต่พูด.

 ______________________________

 *  ม.  อจชนฺตสฺส.  ๒.  ม.  อทท.

       คำอันเป็นคาถานั้นมีใจความว่า  ก็คนที่เป็นบัณฑิตกระทำสิ่งใด

ด้วยกาย  พึงพูดถึงสิ่งนั้นด้วยวาจา  แม้สิ่งใดไม่ได้กระทำ  ก็ย่อมไม่

พูดสิ่งนั้น.  อธิบายว่า  ประสงค์จะให้ก็ควรพูดว่าจะให้  เมื่อไม่ประสงค์

จะให้ก็ไม่ควรจะพูดว่าจะให้.  เพราะเหตุไร  ?  เพราะบุคคลใด  แม้

พูดว่าจักให้  ภายหลังกลับไม่ให้  บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนดรู้บุคคล

นั้นว่าไม่ทำ  ดีแต่พูดเท็จอย่างเดียว.  อธิบายว่า  บุคคลกล่าวแต่เพียง

คำพูดว่าเราจักให้  แต่ไม่ได้ให้  ก็แต่ว่าสิ่งใดถึงแม้จะไม่ได้ให้ด้วยกาย

เป็นแต่ให้ด้วยสักว่าคำพูดเท่านั้น  สิ่งนั้นชื่อว่าจักเป็นอันได้ก่อนทีเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จด้วยประการดังกล่าว

นี้  แต่คนเขลาทั้งหลายย่อมยินดีชอบใจโดยสักแต่คำพูดเท่านั้น.

       พระเทวีได้ทรงสดับดังนั้น  จึงประคองอัญชลีแล้วตรัสคาถาที่

  ว่า  :-

              ข้าแต่พระราชบุตร  ขอความนอบน้อม

       จงมีแด่พระองค์  พระองค์ทรงประสบความ

       พินาศ  แต่พระทัยยังทรงยินดีอยู่ในสัจจะ

       พระองค์ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในวจีสัจ  และ

       สภาวธรรม.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สจฺเจ  ธมฺเม  ได้แก่  ในวจีสัจจะ

และสภาวธรรม.  บทว่า  พฺยสนํ  ปตฺโต  ความว่า  พระทัยของ

พระองค์แม้จะถึงความพินาศ  กล่าวคือถูกขับไล่จากแว่นแคว้น  ก็ยัง

ทรงยินดีอยู่  เฉพาะในสัจจธรรม.

       พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระเสาวณีของพระเทวี  ผู้ตรัสคุณความดี

ของพระราชาอยู่อย่างนั้น  เมื่อจะประกาศคุณความดีของพระเทวีนั้น

จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              หญิงใด  เมื่อสามีขัดสน  ก็ขัดสนด้วย

       เมื่อสามีมั่งคั่ง  ก็พลอยมั่งคั่งมีชื่อเสียงด้วย

       หญิงนั้นแหละ  นับว่าเป็นยอดภรรยาของเขา

       เมื่อสามีมีเงิน  หญิงภรรยาก็ย่อมมีเงินเหมือน

       กัน.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  กิตฺติมา  ความว่า  เพียบพร้อม

ด้วยเกียรติ.  บทว่า  สา  หิสฺส  ปรมา  ความว่า  หญิงใดในเวลา

สามีเป็นคนยากจน  แม้ตนเองเป็นคนยากจนก็ไม่ละทิ้งสามีนั้น.  บทว่า

อฑฺฒสฺส  ความว่า  ในเวลาสามีมั่งคั่ง  ก็เป็นคนมั่งคั่ง  อนุวรรต

ตามสามี  เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย.  หญิงนั้นแหละ  ชื่อว่าเป็นภรรยา

ชั้นยอดเยี่ยมของเขา.  บทว่า  สหิรญฺสฺส  ความว่า  ก็เมื่อสามีมีเงิน

ตั้งอยู่ในความเป็นใหญ่หญิงภรรยาทั้งหลายก็ย่อมมีเงินด้วย  ไม่น่า

อัศจรรย์เลย.

       ก็แหละ  พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว  จึงกล่าว

ความดีของพระเทวีว่า  ข้าแต่มหาราช  พระเทวีนี้  เวลาเมื่อพระองค์

มีความทุกข์  ก็ทรงเป็นผู้ร่วมทุกข์อยู่ในป่า  ควรจะทรงกระทำความ

ยกย่องพระเทวีนี้.  พระราชาทรงระลึกถึงคุณความดีของพระเทวี

เพราะคำพูดของพระโพธิสัตว์นั้น  จึงตรัสว่า  ดูก่อนบัณฑิต  เราระลึก

ถึงคุณของพระเทวีได้  เพราะถ้อยคำของท่าน  จึงพระราชทานอิสริย-

ยศทั้งปวงแก่พระเทวีนั้น  แล้วตรัสว่า  เธอทำให้ฉันระลึกถึงคุณความ

ดีของพระเทวี  จึงได้พระราชทานสักการะนับถืออย่างใหญ่หลวงแก่

พระโพธิสัตว์.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก.  ในเวลาจบสัจจะ  ผัวและเมียทั้งสอง

ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.  พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น  ได้เป็น

กฎุมพีนี้  พระเทวีในครั้งนั้น  ได้เป็นอุบาสิกานี้  ส่วนอำมาตย์ผู้เป็น

บัณฑิตในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ   อรรถกถาสุจจชชาดกที่  ๑๐