อรรถกถาติตฺติรชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยนครโกสัมพี  ประทับอยู่ในวทริการาม

ทรงปรารภพระราหุลเถระ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

สุสุขํ  วต  ชีวามิ  ดังนี้.

       เรื่องราวได้พรรณนาไว้พิสดารแล้วในติปัลลัตถชาดก  ในหน

หลังนั่นแล.  แต่ในที่นี้  ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงคุณความดี

ของท่านผู้มีอายุนั้น  ในโรงธรรมสภาว่า  ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

พระราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา  มีความรังเกียจบาปธรรม  อดทน

ต่อโอวาท.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้

พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ  ?  เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล

ว่า  ด้วยเรื่องชื่อนี้  พระเจ้าข้า.  จึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้น  แม้ในกาลก่อน  ราหุลก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา

มีความรังเกียจบาปธรรม  อดทนต่อโอวาทแล้วเหมือนกัน  แล้วทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัต  ครองราชสมบัติใน

พระนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์  พอเจริญวัย

แล้ว  ก็เรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา  แล้วออกบวชเป็นฤาษี

ในหิมวันตประเทศ  ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้วเล่นฌานอยู่

ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์  ได้ไปยังบ้านปัจจันตคามแห่งหนึ่ง  เพื่อ

ต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว.  คนทั้งหลาย  ในบ้านปัจจันตคาม

นั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว  มีจิตเลื่อมใสจึงให้สร้างบรรณศาลาใน

ป่าแห่งหนึ่งแล้วนิมนต์ให้อยู่  บำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลาย.  ครั้งนั้น

มีนายพรานนกคนหนึ่งในบ้านนั้น  จับนกกระทาเป็นนกต่อได้ตัวหนึ่ง

ให้ศึกษาอย่างดีแล้วใส่กรงเลี้ยงไว้.  นายพรานนกนั้นนำนกกระทาต่อ

นั้นไปป่า  แล้วจับพวกนกกระทำซึ่งพากันมาเพราะเสียงนกกระทำต่อ

นั้นเลี้ยงชีวิตอยู่.  ครั้งนั้น  นกกระทานั้นคิดว่าญาติของเราเป็นอันมาก

พากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว  นั้นเป็นบาปของเรา  จึงไม่ส่งเสียง

ร้อง  นายพรานนกนั้นรู้ว่านกกระทาต่อนั้นไม่ร้อง  จึงเอาแขนงไม้ไผ่

ตีศีรษะนกกระทาต่อนั้น.  นกกระทาจึงร้องเพราะอาดูรเร่าร้อนด้วย

ความทุกข์.  นายพรานนกนั้นอาศัยนกกระทานั้น  จับนกกระทา

ทั้งหลายมาเลี้ยงชีวิต  ด้วยประการอย่างนี้.  ลำดับนั้น  นกกระทานั้น

คิดว่า  เราไม่มีเจตนาว่า  นกเหล่านี้จงตาย  แต่กรรมที่อาศัยเป็นไป

คงจะถูกต้องเรา  เมื่อเราไม่ร้อง  นกเหล่านี้ก็ไม่มา  ต่อเมื่อเราร้อง

จึงมา  นายพรานนกนี้จับพวกนกที่มาแล้วๆ  ฆ่าเสีย  ในข้อนี้  บาป

จะมีแก่เราหรือไม่หนอ.  จำเดิมแต่นั้น  นกกระทานั้นคิดว่า  ใครหนอ

จะตัดความสงสัยนี้ของเราได้  จึงเที่ยวใคร่ครวญหาบัณฑิตเห็นปาน

นั้น.  อยู่มาวันหนึ่ง  พรานนกนั้นจับนกกระทาได้เป็นอันมากบรรจุ

เต็มกระเช้า  คิดว่าจักดื่มน้ำ  จึงไปยังอาศรมของพระโพธิสัตว์  วาง

กรงนกต่อนั้นไว้ในสำนักของพระโพธิสัตว์  ดื่มน้ำแล้วนอนที่พื้น

ทรายหลับไป.  นกกระทารู้ว่านายพรานนั้นหลับ  จึงคิดว่า  เราจะถาม

ความสงสัยของเรากะดาบสนี้  เมื่อท่านรู้จักได้บอกเรา  เมื่อจะถาม

ดาบสนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ข้าพเจ้าเป็นอยู่สบายดีหนอ  และได้

       บริโภคอาหารตามชอบใจ  แต่ว่าข้าพเจ้าตั้งอยู่

       ในระหว่างอันตรายแท้  ข้าแต่พระคุณเจ้า

       ผู้เจริญ  คติของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สุสุขํ  วต  ความว่า  ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าอาศัยนายพรานนกผู้นี้เป็นอยู่สบายดี.  บทว่า  ลภามิ

เจว  ความว่า  ข้าพเจ้าย่อมได้แม้เพื่อจะบริโภคของควรเคี้ยว  ควร

บริโภคตามความชอบใจ.  บทว่า  ปริปนฺเถว  ติฏฺ€ามิ  ความว่า

ก็แต่ว่า  ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  ผู้พากันมาแล้วๆ  ด้วยเสียงของ

ข้าพเจ้า  ย่อมฉิบหายไปเพราะอันตรายใด  ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอันตราย

นั้น.  ด้วยบทว่า  กา  นุ  ภนฺเต  นี้  นกกระทาถามว่า  ท่านผู้เจริญ

คติของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ  คือว่า  ความสำเร็จผลอะไรจักมีแก่

ข้าพเจ้า.

       พระโพธิสัตว์เมื่อจะแก้ปัญหาของนกกระทานั้น  จึงกล่าวคาถา

ที่    ว่า  :-

              ดูก่อนปักษี  ถ้าใจของท่านไม่น้อมไป

       เพื่อกรรมอันเป็นบาป  บาปย่อมไม่แปด

       เปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์  ผู้ไม่ขวนขวายกระทำ

       บาปกรรม.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ปาปสฺส  กมฺมุโน  ความว่า

ถ้าใจของท่านไม่น้อมไปเพื่อประโยชน์แก่บาปกรรม  คือไม่โน้มน้อม

เงื่อมไปในการกระทำบาป.  บทว่า  อปาวฏสฺส  ความว่า  เมื่อเป็น

เช่นนั้น  บาปย่อมไม่แปดเปื้อน  คือไม่ติดท่านผู้ไม่ขวนขวาย  คือ

ไม่ถึงการขวนขวายเพื่อต้องการทำบาปกรรม  เป็นผู้บริสุทธิ์ทีเดียว.

       นกกระทาได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              นกกระทาเป็นอันมากพากันมาด้วย

       คิดว่าญาติของเราจับอยู่  นายพรานนกได้

       กระทำกรรม  คือปาณาติบาต  เพราะอาศัย

       ข้าพเจ้า  ใจของข้าพเจ้ารังเกียจอยู่ในเรื่องนั้น.

       คำที่เป็นคาถานั้น  มีอธิบายว่า  ท่านผู้เจริญ  ถ้าข้าพเจ้าไม่

ทำเสียง  นกกระทานี้จะไม่มา  แต่เมื่อข้าพเจ้ากระทำเสียง  นกกระทา

จำนวนมากนี้มา  ด้วยคิดว่า  ญาติของพวกเราจับอยู่  นายพรานจับ

นกกระทาตัวที่มานั้นฆ่าอยู่  ชื่อว่าย่อมถูกต้อง  คือได้ประสบกรรมคือ

ปาณาติบาตนี้  เพราะอาศัยข้าพเจ้า  เพราะฉะนั้น  ใจของข้าพเจ้าจึง

รังเกียจคือถึงความรังเกียจอย่างนี้ว่า  นายพรานกระทำบาป  เพราะ

อาศัยเรา  บาปนี้จะมีแก่เราไหมหนอ.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ถ้าใจของท่านไม่คิดประทุษร้ายไซร้

       กรรมที่นายพรานอาศัยท่านกระทำแล้วย่อม

       ไม่ถูกต้องท่าน  บาปกรรมย่อมไม่แปดเปื้อน

       ท่านผู้บริสุทธิ์  ผู้มีความขวนขวายน้อย.

       คำอันเป็นคาถานั้น  มีอธิบายว่า  ถ้าใจของท่านไม่ประทุษร้าย

เพราะอาการทำบาปกรรม  คือ  ไม่โน้มไม่โอน  ไม่เงื้อมไปในการทำ

บาปกรรมนั้น  เมื่อเป็นเช่นนั้น  กรรมแม้ที่นายพรานอาศัยท่าน

กระทำ  ย่อมไม่ถูกต้องคือไม่แปดเปื้อนท่าน  เพราะบาปนั้นย่อมไม่

แปดเปื้อน  คือย่อมไม่ติดจิตของท่านผู้มีความขวนขวายน้อย  คือ

ไม่มีความห่วงใยในการทำบาป  ผู้เจริญคือผู้บริสุทธิ์  เพราะท่านไม่มี

ความจงใจในปาณาติบาต.

       พระมหาสัตว์ให้นกกระทาเข้าใจแล้ว  ด้วยประการอย่างนี้

ฝ่ายนกกระทานั้นก็ได้เป็นผู้หมดความรังเกียจสงสัย  เพราะอาศัย

พระมหาสัตว์นั้น.  นายพรานตื่นนอนแล้วไหว้พระโพธิสัตว์  ถือเอา

กรงนกกระทาหลีกไป.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  นกกระทาในครั้งนั้น  ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้

ส่วนพระดาบสในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาติตฺติรชาดกที่