อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันวิหาร  ทรงปรารภ

ภิกษุแก่รูปหนึ่ง  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า  อปิ

กสฺสป  มนฺทิย  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  ในนครสาวัตถีมีกุลบุตรผู้หนึ่งเห็นโทษในกามทั้ง

หลาย  จึงบวชในสำนักของพระศาสดา  ขวนขวายในพระกรรมฐาน

ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.  จำเพียรกาลนานมา  มารดาของภิกษุ

นั้นได้กระทำกาลกิริยาตาย.  เมื่อมารดาล่วงลับไปแล้ว  ภิกษุนั้นจึงให้

บิดาและน้องชายบวช  แล้วอยู่ในพระเชตวันวิหาร  ในวัสสูปนายิก-

สมัยใกล้วันเข้าพรรษา  ได้ฟังว่าปัจจัยคือจีวรหาได้ง่าย  จึงไปยังอาวาส

ประจำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง  ทั้ง    รูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสประจำหมู่

บ้านนั้น  ออกพรรษาแล้วจึงกลับมายังพระเชตวันวิหารตามเดิม.  ภิกษุ

หนุ่มจึงสั่งสามเณรน้องชาย    ที่ใกล้พระเชตวันว่า  สามเณร  เธอจง

ให้พระเถระแก่พักแล้วค่อยนำมา  เราจะล่วงหน้าไปจัดแจงบริเวณก่อน

แล้วก็เข้าไปยังพระเชตวัน.  พระเถระแก่ค่อยๆ  เดินมา.  สามเณร

ทำราวกะว่าเอาศีรษะรุนอยู่บ่อยๆ  นำท่านไปโดยพลการว่า  ท่านผู้-

เจริญ  จงเดินๆ  ไปเถิด.  พระเถระกล่าวว่า  เธอนำฉันมาเป็นแน่

จึงหวนกลับไปใหม่  แล้วเดินมาตั้งแต่ปลายทาง.  เมื่อพระเถระกับ

สามเณรทำการทะเลาะกันอยู่อย่างนี้นั่นแหละ  พระอาทิตย์ก็อัสดงคต

ความมืดมนอนธการก็เกิดขึ้น.  ฝ่ายภิกษุหนุ่มนอกนี้ก็กวาดบริเวณตั้ง-

น้ำไว้  เมื่อไม่เห็นการมาของพระเถระกับสามเณรเหล่านั้น  จึงถือ

คบเพลิงไปคอยรับ  ได้เห็นพระเถระและสามเณรกำลังมาอยู่  จึงถามว่า

ทำไมจึงชักช้าอยู่  ?  พระเถระแก่จึงบอกเหตุนั้น  ภิกษุหนุ่มนั้นให้

พระเถระและสามเณรนั้นพักแล้วค่อยๆ  พามา.  วันนั้น  ไม่ได้โอกาส

การอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า  ครั้นในวันที่สองภิกษุหนุ่มนั้นมายังที่อุปัฏ-

ฐากของพระพุทธเจ้า  ถวายบังคมแล้วนั่ง  พระศาสดาจึงตรัสถามว่า

เธอมาเมื่อไร  ?  ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า  มาเมื่อวาน  พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า  เธอมาเมื่อวาน  แต่มากระทำพุทธอุปัฏฐากวันนี้.

ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า  พระเจ้าข้า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แล้ว

กราบทูลเหตุนั้น.  พระศาสดาทรงติเตียนพระแก่แล้วตรัสว่า  ภิกษุแก่

รูปนี้กระทำกรรมเห็นปานนี้  ในบัดนี้เท่านั้น  ก็หามิได้  แม้ในกาลก่อน

ก็ได้กระทำแล้ว  แต่บัดนี้  พระแก่นั้นทำเธอให้ลำบาก  แต่ในกาลก่อน

ได้กระทำบัณฑิตให้ลำบาก  อันภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว  จึงทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์  ในนิคมกาสี  เมื่อ

พระโพธิสัตว์นั้น  เจริญวัยแล้ว  มารดาได้กระทำกาลกิริยาตาย.  พระ-

โพธิสัตว์นั้นกระทำฌาปนกิจสรีระของมารดาแล้ว  พอล่วงไปได้กึ่ง

เดือน  ได้ให้ทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือนให้เป็นทาน  แล้วพาบิดากับน้องชาย

ไป  ถือเอาผ้าเปลือกไม้ที่เทวดาให้  แล้วบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันต-

ประเทศ  ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเหง้ามันและผลาผลไม้  โดยการเที่ยว

แสวงหาอยู่ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์.  ก็ในหิมวันตประเทศ  ในฤดู-

ฝน  เมื่อฝนตกไม่ขาดเม็ด  ไม่อาจขุดเหง้ามัน  ทั้งผลาผลไม้และใบผักก็

ล่วงหล่นโดยมาก  ดาบสทั้งหลายพากันลงจากหิมวันตประเทศไปอยู่ใน

ถิ่นมนุษย์.  แม้ในกาลนั้น  พระโพธิสัตว์ก็พาบิดาและน้องชายไปอยู่

ในถิ่นมนุษย์  เมื่อหิมวันตประเทศผลิดอกออกผลอีก  จึงพาบิดาและน้อง

ชายทั้งสองนั้น  มายังอาศรมบทของตนในหิมวันตประเทศ    ที่ไม่

ไกลอาศรม  เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว  จึงกล่าวว่า  ท่านทั้งหลาย

ค่อยๆ  มาเถิด  ข้าพเจ้าจักล่วงหน้าไปจัดแจงอาศรมบทก่อน  แล้วก็ละ

ดาบสทั้งสองนั้นไป.  ดาบสน้อยค่อยๆ  ไปกับบิดา  ราวกะจะเอาศีรษะรุน

ท่านที่แถวๆ  สะเอวเร่งพาท่านไป  โดยพูดว่า  เดินเข้า  เดินเข้า.  ดาบส

แก่กล่าวว่า  เจ้าพาเรามาตามความชอบใจของตน  จึงหวนกลับไป

แล้วเดินตั้งแต่ปลายมาใหม่.  เมื่อดาบสพ่อลูกเหล่านั้นทำการทะเลาะ

กันและกันอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ  เวลาได้มืดลง.  พระโพธิสัตว์ปัด-

กวาดบรรณศาลาตั้งน้ำใช้และฉัน  แล้วถือคบเพลิงเดินสวนทางมา

เห็นดาบสพ่อลูกนั้น  แล้วจึงกล่าวว่า  ท่านทั้งหลายมัวทำอะไรกันอยู่

ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้.  ดาบสน้องจึงบอกเหตุที่บิดาทำ.  พระโพธิ-

สัตว์นำดาบสแม้ทั้งสองนั้นช้าๆ  ให้เก็บงำบริขาร  ให้บิดาอาบน้ำ

ทำการล้างเท้า  ทาเท้า  และนวดหลัง  ตั้งกระเบื้องถ่านไฟ  แล้วเข้าไป

นั่งใกล้บิดาผู้ระงับความอิดโรยแล้ว  จึงกล่าวว่า  ข้าแต่บิดา  ธรรมดา

เด็กหนุ่มทั้งหลาย  เช่นกับภาชนะดิน  ย่อมแตกได้โดยครู่เดียวเท่านั้น

ตั้งแต่เวลาที่แตกแล้วครั้งเดียว  ย่อมไม่อาจต่อกันได้อีก  เด็กหนุ่ม

เหล่านั้น  ด่าอยู่ก็ดี  บริภาษอยู่ก็ดี  ผู้ใหญ่ควรจะอดทน  เมื่อจะโอวาท

บิดาจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า  :-

              ข้าแต่ท่านกัสสปะ  เด็กหนุ่มจะด่าแช่ง

       หรือจะตีก็ตาม  ด้วยความเป็นเด็กหนุ่ม  บัณ-

       ฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนความผิดที่พวกเด็ก

       ทำแล้วทั้งหมดนั้นได้.

              ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน  ก็กลับ

       เชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว  ส่วนคนพาลทั้ง-

       หลายย่อมแตกกัน  เหมือนภาชนะดิน  เขา

       ย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.

              ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงเกินแล้ว  และรู้

       การแสดงโทษ  คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อม-

       เพรียงกันยิ่งขึ้น  ความสนิทสนมของเขาย่อม

       ไม่เสื่อมคลาย.

              ผู้ใด  เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินแล้ว  ตน

       เองสามารถเชื่อมให้สนิทสนมได้  ผู้นั้นแล

       ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง  เป็นผู้นำภาระไป

       เป็นผู้ทรงธุระไว้.

       พระโพธิสัตว์เรียกบิดาโดยชื่อว่า  กัสสปะ  ในกาลนั้น.  บทว่า

มนฺทิยา  ได้แก่  ด้วยความเป็นคนหนุ่ม  โดยความเป็นผู้มีปัญญาน้อย.

บทว่า  ยุวา  สปติ  หนฺติ  วา  ความว่า  เด็กหนุ่มด่าก็ดี  ประหาร

ก็ดี.  ด้วยบทว่า  ธีโร  นี้  ท่านเรียกบุคคลผู้ปราศจากบาปว่า  ผู้มี

ความเพียร.  บทว่า  ธีโร  มีความว่า  ผู้ประกอบด้วยปัญญา  ดังนี้ก็มี.

ส่วนบทว่า  ปณฺฑิโต  เป็นไวพจน์ของบทว่า  ธีโร  นี้เท่านั้น.  แม้

ด้วยบททั้งสอง  ท่านแสดงว่า  บัณฑิตผู้มีปัญญามาก  ย่อมอดกลั้น  คือ

อดทนความผิดที่พวกเด็กผู้อ่อนปัญญากระทำแล้วนั้นทั้งหมด.  บทว่า

สนฺธิยเร  ความว่า  ย่อมสนิทสนมกัน  คือ  เชื่อมกันได้ด้วยมิตรภาพ

อีก.  บทว่า  พาลา  ปตฺตาว  ความว่า  ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อม

แตกกันเลย  เหมือนภาชนะดินแตกแล้วต่อกันไม่ได้ฉะนั้น.  บทว่า

  เต  สมถมชฺฌคู  ความว่า  คนพาลเหล่านั้นทำการทะเลาะกัน

แม้มีประมาณน้อย  ย่อมไม่ได้  คือไม่ประสบความสงบเวร.  บทว่า

เอเต  ภิยฺโย  ความว่า  ชนทั้งสองนั้นแม้แตกกันแล้วย่อมสมานกัน

ได้อีก.  บทว่า  สนฺธิ  ได้แก่  ความสนิทสนมโดยความเป็นมิตร.

บทว่า  เตสํ  ความว่า  ความสนิทสนมของคนทั้งสองนั้นเท่านั้น  ย่อม

ไม่เสื่อมคลาย.  บทว่า  โย  จาธิปนฺนํ  ความว่า  ก็ผู้ใดย่อมรู้โทษ

ผิดที่ทำไว้ในคนอื่น  ซึ่งตนต้องแล้วคือล่วงเกินแล้ว.  บทว่า  เทสนํ

ความว่า  และผู้ใดย่อมรู้ที่จะรับการแสดงโทษที่ผู้นั้นแม้รู้โทษตนจึง

แสดงแล้ว.  บทว่า  โย  ปเรสาธิปนฺนานํ  ความว่า  ผู้ใดเมื่อคนอื่น

ล่วงเกิน  คือถูกโทษครอบงำ  กระทำความผิด.  บทว่า  สยํ  สนฺธาตุ-

มรหติ  ความว่า  เมื่อคนเหล่านั้นแม้ไม่ขอขมาโทษ  ตนเองสามารถ

ทำความสนิทสนม  คือเชื่อมมิตรภาพอย่างนี้ว่า  ท่านผู้มีหน้างามมาเถิด

จงเรียนอุเทส  จงฟังอรรถกถา  จงหมั่นประกอบภาวนา  เพราะเหตุไร

ท่านจึงเหินห่าง  ผู้นี้คือผู้เห็นปานนี้  เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา  เป็น

ผู้ประเสริฐยิ่ง  ย่อมถึงการนับว่า  ผู้นำภาระ  และว่า  ผู้ทรงธุระไว้

เพราะนำภาระ  และธุระของมิตรไป.

       พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ดาบสบิดาอย่างนี้.  จำเดิมแต่นั้น

ดาบสผู้บิดาแม้นั้นก็ได้เป็นผู้ฝึกตนทรมานตนได้ดีแล้ว.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า.  ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น  ได้เป็นพระเถระแก่ในบัดนี้

ดาบสน้อยในครั้งนั้น  ได้เป็นสามเณรในบัดนี้  ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ให้

โอวาทแก่ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่