อรรถกถาปุจิมันทชาดกที่   

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

อุฎฺเ€หิ  โจร  กึ  เสสิ  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  เมื่อพระเถระเข้าไปอาศัยนครราชคฤห์  อยู่ในกุฎีที่

สร้างอยู่ในป่า  มีโจรคนหนึ่งตัดที่ต่อในเรือนหลังหนึ่ง  ในบ้านใกล้

ประตูเมือง  ถือเอาทรัพย์ที่เป็นแก่นสารซึ่งพอจะถือเอาไปได้  หนีไป

เข้าบริเวณกุฎีของพระเถระ  แล้วนอนที่หน้ามุขบรรณศาลาของพระ-

เถระด้วยคิดว่า    ที่นี้จักคุ้มครองรักษาเราได้.  พระเถระรู้ว่าโจรนั้น

นอนอยู่ที่หน้ามุข  จึงทำความรังเกียจโจรนั้น  คิดว่า  ธรรมดาว่า

การเกี่ยวข้องกับโจร  ย่อมไม่ควร  จึงออกมาไล่ว่า  เฮ้ย  เอ็งอย่ามา

นอนที่นี้.  โจรจึงออกจากที่นั้น  ทิ้งแต่รอยเท้าให้หลงเหลือไว้แล้ว

หนีไป.  มนุษย์ทั้งหลาย  ถือคบเพลิงมา    ที่นั้น  ตามแนวรอยเท้าโจร

เห็นที่มา  ที่ยืน  และที่นอนเป็นต้นของโจรนั้น  จึงกล่าวกันว่า

โจรมาทางนี้  ยืนที่นี้  นั่งที่นี้  หนีไปทางนี้  แต่พวกเราไม่เห็นโจร

ต่างแล่นไปทางโน้นทางนี้  ก็ไม่เห็น   จึงพากันกลับ.  วันรุ่งขึ้น

เวลาเช้า  พระเถระเที่ยวบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์  กลับจากบิณฑบาต

แล้ว  จึงไปยังพระเวฬุวันวิหาร  กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

พระศาสดาตรัสว่า  โมคคัลลานะ  มิใช่เธอเท่านั้นจะรังเกียจสิ่งที่ควร

รังเกียจ  แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็รังเกียจแล้ว  อันพระเถระ

อ้อนวอนแล้ว  จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา  สิงอยู่ที่ต้น

สะเดาในป่าอันเป็นป่าช้าแห่งพระนคร.  อยู่มาวันหนึ่ง  โจรกระทำ

โจรกรรมในบ้านใกล้ประตูเมือง  แล้วเข้าไปยังป่าช้านั้น.  ก็ในกาลนั้น

มีต้นไม้ใหญ่ในป่าช้านั้น   ต้นคือ  ต้นสะเดากับต้นอัสสัตถพฤกษ์.

โจรเก็บห่อภัณฑะไว้ที่โคนต้นสะเดาแล้วจึงนอน.แต่ในเวลาอื่น

มนุษย์ทั้งหลายจับพวกโจรเสียบหลาวทำด้วยไม้สะเดา.  ครั้งนั้น

เทวดานั้นคิดว่า  ถ้าพวกมนุษย์จักมาจับโจรนี้  จักพากันตัดกิ่งสะเดา

นี้แหละ  ทำเป็นหลาวเสียบโจรนี้  เมื่อเป็นอย่างนี้  ต้นไม้จักพินาศ

เอาเถอะ  เราจักนำโจรนั้นออกไปจากที่นี้.  เทวดานั้นเมื่อจะเจรจา

ปราศัยกับโจรนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              แนะโจร  เจ้าจงลุกขึ้น  จะมัวนอน

       อยู่ทำไม  เจ้าต้องการอะไรด้วยการนอน

       ราชบุรุษอย่าจับเจ้าผู้ทำโจรกรรมอันหยาบช้า

       ทารุณในบ้านเลย.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ราชาโน  ท่านกล่าวหมายเอาพวก

ราชบุรุษ  บทว่า  กิพฺพิสการกํ  ได้แก่  ผู้กระทำโจรกรรมอันทารุณ

หยาบช้า.

       เทวดาครั้นกล่าวกะโจรนั้นดังนี้แล้ว  จึงทำให้กลัวหนีไป

โดยพูดว่า  เจ้าจงไปที่อื่นตราบเท่าที่พวกราชบุรุษยังไม่มาจับ.  ก็เมื่อ

โจรนั้นไปแล้ว  เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นอัสสัตถพฤกษ์  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              พวกราชบุรุษจักจับโจรผู้กระทำโจรกรรม

       อันทารุณหยาบช้าในบ้านมิใช่หรือ  ธุระอะไร

       ในเรื่องนั้นของปุจิมันทเทวดาผู้เกิดอยู่ในป่า

       เล่า.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วเน  ชาตสฺส  ติฏฺ€โต  ความว่า

ต้นไม้ที่เกิดและตั้งอยู่ในป่า.  ก็อัสสัตถพฤกษ์  เทวดา  ร้องเรียก

ปุจิมันเทวดา  โด ยเฉพาะเรียกชื่อต้นไม้  เพราะปุจิมันทเทวดานั้น

เกิดที่ต้นสะเดานั้น.

       นิมพเทวดาได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ดูก่อนอัสสัตถเทวดา  ท่านไม่รู้เหตุที่

       จะอยู่ร่วมกันไม่ได้  ระหว่างเรากับโจร

       ราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้ทำโจรกรรมอัน

       หยาบช้าทารุณในบ้านได้แล้ว  จะเสียบโจร

       ไว้บนหลาวไม้สะเดา.  ใจของเรารังเกียจใน

       เรื่องนั้น.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อสฺสตฺถ  นี้  เทวดาผู้เกิดที่ต้น

สะเดานั้น  ร้องเรียก  โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ.  บทว่า  มม

โจรสฺส  จนฺตรํ  ได้แก่  เหตุที่เราและโจรอยู่ร่วมกันไม่ได้  บทว่า

อจฺเจนฺติ  นิมฺพสูลสฺมึ  ความว่า  เวลานี้ราชบุรุษทั้งหลายจะร้อย

โจรไว้บนหลาวไม้สะเดา.  บทว่า  ตสฺมึ  เม  สงฺกเต  มโน  ความว่า

จิตของเรารังเกียจในเหตุนั้นว่า  ก็ถ้าพวกราชบุรุษจักร้อยโจรนี้ที่

หลาวไซร้  วิมานของเราจักฉิบหาย  ถ้าไม่ทำอย่างนั้น  จักแขวนโจร

ไว้ที่กิ่งไม้สะเดา  วิมานของเราจักมีกลิ่นซากศพ  ด้วยเหตุนั้น  เรา

จึงให้โจรนั้นหนีไปเสีย.

       เมื่อเทวดาเหล่านั้น  เจรจาปราศัยกันและกันอยู่อย่างนี้แหละ

พวกเจ้าของทรัพย์  ถือคบเพลิงมาตามรอยเท้าเห็นที่ที่โจรนอน  จึง

กล่าวว่า  ท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ก็บัดนี้  โจรลุกหนีไปแล้วพวกเรา

ไม่ได้ตัวโจร  ถ้าพวกเราจักได้ตัวโจรไซร้  จักเสียบร้อยโจรนั้นไว้

บนหลาวไม้สะเดานี้  หรือแขวนไว้ที่กิ่งสะเดาแล้วจักไป  แล้วแล่นไป

ค้นหาทางโน้นทางนี้  ไม่พบโจรจึงพากันกลับไป.  อัสสัตถเทวดาได้

ฟังคำของคนเหล่านั้นจึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              บัณฑิตพึงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ  พึง

       ป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึงตัว  พิจารณาดูโลก

       ทั้งสองเพราะภัยในอนาคต.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  รกฺเขยฺยานาคตํ  ภยํ  ความว่า

อนาคตภัยมี    อย่าง  คือ  ภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรมอย่างหนึ่ง

ภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพอย่างหนึ่ง  ในอนาคตภัย    อย่างนั้น

บัณฑิตเมื่อเว้นบาปมิตรเสีย  ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรม

เมื่อเว้นทุจริต    เสีย  ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพ.

บทว่า  อนาคตภยา  ความว่า  เมื่อรังเกียจภัยนั้น  เหตุอนาคตภัย.

บทว่า  ธีโร  ความว่า  บุรุษผู้เป็นบัณฑิตย่อมไม่กระทำการเกี่ยวข้อง

กับปาปมิตร  ย่อมไม่ประพฤติทุจริตโดยทวารทั้ง  ๓.  บทว่า  อุโภ

โลเก  ความว่า  เพราะบัณฑิตนี้เมื่อกลัวอยู่อย่างนี้  ย่อมพิจารณาเห็น

คือ  ย่อมแลเห็นโลกทั้งสอง  กล่าวคือโลกนี้และโลกหน้า  เมื่อ

รังเกียจอยู่  ย่อมละเว้นปาปมิตร  เพราะกลัวภัยในโลกนี้  ย่อมไม่ทำ

บาปกรรม  เพราะกลัวภัยในโลกหน้า.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  เทวดาผู้บังเกิด    ต้นอัสสัตถพฤกษ์ในครั้งนั้น

ได้เป็นพระสารีบุตร  ส่วนเทวดาผู้บังเกิด    ต้นสะเดาในครั้งนั้น

ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาปุจิมันทชาดกที่