พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระมหาวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

พระอุปนันทเถระ  จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า  โก  นฺวายํ  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  พระอุปนันทะนั้นบริโภคมาก  มีความทะเยอ-

ทะยานมาก  ใครๆ  ไม่อาจให้พระอุปนันทะนั้นอิ่มหนำแม้ด้วยปัจจัย

เต็มเล่มเกวียน.  ในวันใกล้เข้าพรรษา  พระอุปนันทะนั้นวางรองเท้าไว้

ในวิหารหนึ่ง  วางลักจั่นไว้ในวิหารหนึ่ง  วางไม้เท้าไว้ในวิหารหนึ่ง

ตนเองอยู่ในวิหารหนึ่ง  คราวหนึ่ง  ไปยังวิหารในชนบท  เห็นภิกษุ

ทั้งหลายมีบริขารประณีต  จึงกล่าวอริยวังสกถาพรรณนาถึงความเป็น

วงศ์ของอริยะ  ให้ภิกษุเหล่านั้นถือผ้าบังสุกุล  แล้วถือเอาจีวรของ

ภิกษุเหล่านั้น  ให้ภิกษุเหล่านั้นถือบาตรดินแล้ว  ตนเองเอาบาตร

ที่ชอบๆ  และภาชนะมีถาดเป็นต้น  บรรทุกเต็มยานน้อยแล้วมาสู่

พระเชตวันมหาวิหาร.  อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน

โรงธรรมสภาว่า  ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย  พระอุปนันทะ  ศากยบุตร

บริโภคมาก  มักมาก  แสดงข้อปฏิบัติแก่ภิกษุเหล่าอื่น  แล้วเอาสมณ-

บริขารบรรทุกเต็มยานน้อยมา.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า

ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ  เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย  อุปนันทะกล่าวอริยวังสกถาแก่ผู้อื่น  แล้วกระทำกรรมอัน

ไม่สมควร.  เพราะควรที่ตนจะต้องเป็นผู้มักน้อยก่อนแล้ว  จึงกล่าว

อริยวังสกถาแก่ผู้อื่นในภายหลัง  แล้วทรงแสดงคาถาในพระธรรมบท

ดังนี้ว่า  :-

              บุคคลควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควร

       ก่อนแล้วพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง  บัณฑิต

       จะไม่พึงเศร้าหมอง.

       ครั้นแล้วจึงทรงติเตียนพระอุปนันทะ  แล้วตรัสว่า  ดูก่อน

ภิกษุ  พระอุปนันทะเป็นผู้มักมากในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้  แม้ใน

กาลก่อนก็ยังสำคัญน้ำแม้ในมหาสมุทรว่า  ตนควรจะรักษา  แล้วทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดารักษาสมุทร.

ครั้งนั้นมีกาน้ำตัวหนึ่งบินเที่ยวอยู่    ส่วนเบื้องบนมหาสมุทร  เที่ยว

ห้ามฝูงปลาและฝูงนกว่า  ท่านทั้งหลายจงดื่มน้ำในมหาสมุทรแต่พอ

ประมาณ  จงช่วยกันรักษา  ดื่มเถิด..  สมุทรเทวดาเห็นดังนั้น  จึงกล่าว

คาถาที่    ว่า

              ใครนี่หนอ  มาเที่ยววนเวียนอยู่ในน้ำ

       ทะเลอันเค็ม  ย่อมห้ามปลาและมังกร

       ทั้งหลาย  และย่อมเดือดร้อนในกระแสน้ำ

       ที่มีคลื่น.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  โก  นฺวายํ  ตัดเป็น  โก  นุ  อยํ

แปลว่า  นี่ใครหนอ.

       กาน้ำได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า

              ข้าพเจ้าเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี  ปรากฎ

       ไปทั่วทิศว่า  เป็นผู้ไม่อิ่ม  เราปรารถนาจะดื่ม

       น้ำมหาสมุทรสาครเป็นใหญ่กว่าแม่น้ำทั้ง

       หลาย.

       เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า  เราปรารถนาจะดื่มน้ำในสาครอัน

หาที่สุดมิได้  ด้วยเหตุนั้น  เราจึงเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี.  อนึ่ง  เราอัน

บุคคลได้ยินได้ฟังปรากฎแล้วว่า  ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้จักอิ่ม  เพราะ

ประกอบด้วยความอยากอันไม่รู้จักเต็มมากมาย  เรานั้นปรารถนาจะดื่ม

น้ำมหาสุมทรนี้ทั้งสิ้น  ที่ชื่อว่าสาคร  เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ

อันงดงาม  และเพราะอันสาครขุดเซาะ  ชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าสระทั้งหลาย

เพราะเป็นเจ้าแห่งสระทั้งหลาย.

       สมุทรเทวดาได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ทะเลใหญ่นี้นั้น  ย่อมลดลงและกลับ

       เต็มอยู่ตามเดิม  บุคคลดื่มกินอยู่ก็หาทำให้

       น้ำทะเลนั้นพร่องลงไป  ได้ยินว่า  น้ำทะเล

       ใหญ่นั้น  ใครๆ  ไม่อาจดื่มกินให้หมดสิ้นไป.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  โสยํ  ตัดเป็น  โส  อยํ  แปลว่า

นี้นั้น.  บทว่า  หายตี  เจว  ความว่า  น้ำทะเลย่อมพร่องในเวลา

น้ำลง  และย่อมเต็มในเวลาน้ำไหลขึ้น.  บทว่า  นาสฺส  นายติ

ความว่า  ถ้าแม้ชาวโลกทั้งสิ้นจะดื่มน้ำมหาสมุทรนั้น  แม้ถึงเช่นนั้น

มหาสมุทรนั้นก็ไม่ปรากฎความพร่องแม้ว่าชาวโลกดื่มน้ำชื่อมีประมาณ

เท่านี้  จากน้ำนี้.  บทว่า  อเปยฺโย  กิร  ความว่า  ได้ยินว่าสาครนี้

ใครๆ  ไม่อาจดื่มให้น้ำหมด.

       ก็แหละรุกขเทวดาครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วแสดงรูปารมณ์อันน่า-

กลัวให้กาสมุทรนั้นหนีไป.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  กาสมุทรในครั้งนั้น  ได้เป็นพระอุปนันทะในบัดนี้

ส่วนรุกขเทวดา  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาสมุททชาดกที่