พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันวิการ  ทรง

ปรารภคนทั้งสอง  คือพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นนั่นแหละ  จึง

ตรัสเรื่องนี้  มีคำเริ่มต้นว่า  อุสภสฺเสว  เต  ขนฺโธ  ดังนี้.  เรื่องอันเป็น

ปัจจุบันเหมือนกับเรื่องแรกนั่นเอง  ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นละหุ่ง  ในบริเวณ

บ้านแห่งหนึ่ง.  ในกาลนั้น  ชาวบ้านลากโคแก่ซึ่งตายในบ้านนั้น  ไป

ทิ้งที่ป่าละหุ่งใกล้ประตูบ้าน.  มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมากินเนื้อของโค

แก่ตัวนั้น.  มีกาตัวหนึ่งบินมาจับอยู่ที่ต้นละหุ่งเห็นดังนั้นจึงคิดว่า  ถ้า

กระไรเรากล่าวคุณกถาอันไม่มีจริงของสุนัขจิ้งจอกตัวนี้แล้วจะได้กิน

เนื้อ  จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า  :-

              ข้าแต่พระยาเนื้อ  ร่างกายของท่านเหมือน

       ร่างกายโคอุสุภราช  ความองอาจของท่าน

       เหมือนดังราชสีห์  ข้าพเจ้าขอนอบน้อม

       แก่ท่าน  ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสัก

       หน่อย.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  นโม  ตฺยตฺถุ  อันเป็น  นโม  เต  อตฺถุ

แปลว่า  ขอนอบน้อมแด่ท่าน.

       สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่สองว่า  :-

              กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร  ดูก่อน

       กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง  เชิญท่านลงจาก

       ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.

       บรรดาบทเหล่านั้น  ด้วยบทว่า  อิโต  ปริยาท  นี้  สุนัขจิ้งจอก

กล่าวว่า  ท่านลงจากต้นละหุ่ง  คือมาจากต้นละหุ่งนี้จนถึงเรา  แล้วจง

กินเนื้อ

       รุกขเทวดาเห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นจึงกล่าวคาถาที่สามว่า  :-

              บรรดามฤคชาติทั้งหลาย  สุนัขจิ้งจอก

       เป็นเลวที่สุด  บรรดาปักษีทั้งหลาย  กาเป็น

       เลวที่สุด  บรรดารุกขชาติทั้งหลาย  ต้นละหุ่ง

       เป็นเลวที่สุด  ที่สุดทั้ง    ประเภทมาสมาคม

       กันแล้ว.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อนฺโต  แปลว่า  เลว  คือ  ลามก.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น  ได้เป็นพระเทวทัต  กาใน

กาลนั้น  ได้เป็นพระโกกาลิกะ  ส่วนรุกขเทวดา  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาอันตชาดกที่