พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะ  จึงตรัสเรื่องนี้  มีคำเริ่มต้นว่า  โกยํ

วินฺทุสฺสโร  วคฺคุ  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  ในครั้งนั้น  เมื่อพระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะ  พระ-

โกกาลิกะจึงเข้าไปยังตระกูลทั้งหลาย  กล่าวคุณของพระเทวทัตว่า

พระเถระผู้มีนามว่าเทวทัต  เกิดในราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช

โดยสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมตราช  เจริญในขัตติยวงศ์อัน

ไม่ปะปน  ทรงพระไตรปิฎก  ได้ฌาน  มีถ้อยคำไพเราะ  เป็นธรรม-

กถึก  ท่านทั้งหลายจงให้  จงกระทำ  แก่พระเถระเถิด.  ฝ่ายพระเทวทัต

ก็กล่าวคุณของพระโกกาลิกะว่า  พระโกกาลิกะออกบวชจากตระกูล

พราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง  เป็นพหูสูต  เป็นธรรมกถึก  ท่านทั้งหลายจงให้

จงกระทำ  แก่พระโกกาลิกะเถิด.  พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้น

ต่างกล่าวคุณของกันและกัน  เที่ยวฉันอยู่ในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลาย

ด้วยประการดังนี้.  อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง

ธรรมสภาว่า  ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย  พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะต่าง

กล่าวถ้อยคำพรรณนาคุณอันไม่มีจริงของกันและกัน  แล้วเที่ยวฉัน

อาหารอยู่  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ-

ทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มิใช่บัดนี้เท่านั้น

ที่พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นกล่าวคำพรรณนาคุณอันไม่เป็นจริง

แล้วบริโภคภัตตาหาร.  แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะก็

บริโภคแล้วเหมือนกัน  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่า

ชมพู่แห่งหนึ่ง.  ในป่าชมพู่นั้น  มีกาตัวหนึ่งจับอยู่ที่กิ่งชมพู่  กินผล

ชมพู่สุกๆ  ครั้งนั้น  มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินมา  แหงนดูเห็นกา

คิดว่า  ถ้ากระไร  เรากล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกานี้  จะได้กินชมพู่

สุก  จึงเมื่อจะกล่าวคุณของกานั้น  จึงกล่าวคาถานี้ว่า  :-

              ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้งอุดม

       กว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย  จับอยู่ที่กิ่ง

       ชมพู่  ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วินฺทุสฺสโร  ความว่า  ประกอบ

ด้วยเสียงหยดย้อย  คือ  ลมุนลมัย  กลมกล่อม.  บทว่า  วคฺคุ  ได้แก่

มีเสียงทั้งอ่อนทั้งเพราะ.  บทว่า  อจฺจุโต  ได้แก่  ไม่เคลื่อนที่  คือ

จับนิ่งอยู่.  ด้วยบทว่า  โมรจฺฉาโปว  กุชฺชติ  นี้  สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า

นั่นชื่ออะไร  ส่งเสียงร้องเป็นที่น่าเจริญใจ  ดุจนกยูงรุ่นหนุ่มฉะนั้น

       ลำดับนั้น  กาเมื่อจะสรรเสริญตอบสุนัขจิ้งจอกนั้น  จึงกล่าว

คาถาที่    ว่า  :-

              กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร  ดู-

       ก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายลูกเสือโคร่ง

       เชิญท่านบริโภคเถิด  เรายอมให้แก่ท่าน.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  พฺยคฺฆจฺฉาปสทิสวณฺณ  ความว่า

ท่านย่อมปรากฎแก่ข้าพเจ้า  เหมือนมีวรรณะเสมอกับลูกเสือโคร่ง

ดูก่อนท่านผู้มีวรรณะเช่นกับลูกเสือโคร่งผู้เจริญ  ด้วยเหตุนั้น  ข้าพเจ้า

จึงขอกล่าวกะท่าน.  บทว่า  ภุญฺช  สมฺม  ททามิ  เต  ความว่า

ดูก่อนสหาย  ท่านจงกินผลชมพู่สุกจนพอแก่ความต้องการเถิด  เรา

ยอมให้ท่าน.

       ก็แหละ  ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงเขย่ากิ่งชมพู่ให้ผลทั้งหลาย

หล่นลงไป.  ครั้งนั้น  เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นชมพู่  เห็นกากับสุนัขจิ้งจอก

ทั้งสองแม้นั้น  กล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกันและกันกินชมพู่สุกอยู่

จึงกล่าวคาถาที่ ๓  ว่า

              ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกัน

       เราได้เห็นคนพูดมุสา  คือกาผู้เคี้ยวกินของ

       ที่คนอื่นคายแล้ว  และสุนัขจิ้งจอกผู้กิน

       ซากศพ  มาประชุมกันนานมาแล้ว.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วนฺตาทํ  ได้แก่  กาผู้กินภัตที่

คนอื่นคายแล้ว.  บทว่า  กุณปาทญฺจ  ได้แก่  สุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ.

       ก็แหละ  เทวดานั้นครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว  จึงแสดงรูปารมณ์

อันน่ากลัวให้กาและสุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นให้หนีไปจากที่นั้น.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประชุม

ชาดกว่า  สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น  ได้เป็นพระเทวทัต  กาในกาลนั้น

ได้เป็นพระโกกาลิกะ  ส่วนรุกขเทวดาได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบอรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่