อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันวิหาร  ทรง

ปรารภหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  จึงตรัสเรื่องนี้  มีคำเริ่มต้น

ว่า  สพฺพกามททํ  กุมฺภํ  ดังนี้

       ได้ยินว่า  หลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น  ผลาญเงิน

๔๐  โกฏิอันเป็นของบิดามารดา  ให้ฉิบหายไปด้วยการดื่มสุรา  แล้วจึง

ได้ไปยังสำนักของท่านเศรษฐี.  แม้ท่านเศรษฐีก็ได้ให้ทรัพย์แก่เขา

พันหนึ่ง  โดยสั่งว่า  จงทำการค้าขาย.  เขาก็ทำทรัพย์ทั้งพันให้ฉิบหาย

แล้วได้มาอีก.  ท่านเศรษฐีก็ให้ทรัพย์เขาอีก  ๕๐๐  เขาทำทรัพย์  ๕๐๐

นั้น  ให้ฉิบหายแล้วกลับมาขออีก  ท่านเศรษฐีจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบไป

  ผืน.  เขาทำผ้าสาฎกแม้ทั้งสองผืนนั้นให้ฉิบหายแล้วมาหาอีก  ท่าน

เศรษฐีจึงให้คนใช้จับคอลากออกไป.  เขากลายเป็นคนอนาถาอาศัยฝา

เรือนคนอื่นตายไป.  ชนทั้งหลายจึงลากเขาไปทิ้งเสียภายนอกบ้าน.

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปยังพระวิหาร  กราบทูลความเป็นไปของ

หลานชายนั้นทั้งหมด  ให้พระตถาคตเจ้าทรงทราบ.  พระศาสดาตรัสว่า

เมื่อก่อน  เราแม้ให้หม้อสารพัดนึก  ก็ยังไม่สามารถทำบุคคลใดให้อิ่ม

หนำได้  ท่านจะทำบุคคลนั้นให้อิ่มหนำอย่างไร  อันท่านอนาถบิณ-

ฑิกเศรษฐีนั้น  ทูลอาราธนาแล้ว  จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี  เมื่อบิดาล่วงลับ

ไปแล้วก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี.  ในเรือนของท่านเศรษฐี  ได้มีทรัพย์ฝัง

ดินไว้ประมาณ  ๔๐  โกฏิ.  อนึ่ง  พระโพธิสัตว์นั้น  มีบุตรคนเดียว

เท่านั้น.  พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น  กระทำกาลกิริยาแล้ว

บังเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช.  ครั้งนั้น  บุตรของท่านเศรษฐีนั้นไม่

จัดแจงทานวัตรอะไรๆ  ได้แต่ให้สร้างมณฑป  อันมหาชนแวดล้อมนั่ง

อยู่  ปรารภจะดื่มสุรา.  เขาให้ทรัพย์ทีละพันแก่คนผู้กระทำการเต้นรำ

เล่นระบำ  รำฟ้อน  และขับร้องเป็นต้น  ถึงความเป็นนักเลงหญิง  นักเลง

สุรา  และนักเลงกินเนื้อเป็นต้น.  เป็นผู้ต้องการแต่มหรสพเท่านั้นว่า

ท่านจงขับร้อง  ท่านจงฟ้อนรำ  ท่านจงประโคม  เป็นผู้ประมาทมัวเมา

เที่ยวไปไม่นานนัก  ได้ผลาญทรัพย์  ๔๐  โกฏิ  และอุปกรณ์เครื่อง

อุปโภค  บริโภค  ให้ฉิบหาย  กลายเป็นคนเข็ญใจ  กำพร้า  นุ่งผ้าเก่า

เที่ยวไป.  ท้าวสักกะทรงรำพึงถึง  ทรงทราบว่า  บุตรตกระกำลำบาก

จึงมาเพราะความรักบุตร  ได้ให้หม้อสารพัดนึกแล้ว  โอวาทสั่ง

สอนว่า  ดูก่อนพ่อ  เจ้าจงรักษาหม้อนี้ไว้อย่าให้แตกทำลายไป  ก็เมื่อเจ้า

ยังมีหม้อใบนี้อยู่  ในชื่อว่าความสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์จักไม่มีเลย  ดังนี้

แล้วก็กลับไปเทวโลก.  จำเดิมแต่นั้น  เขาก็เที่ยวดื่มสุรา.  อยู่มาวันหนึ่ง

เขาเมามาก  โยนหม้อนั้นขึ้นไปในอากาศแล้วรับ  ครั้งหนึ่ง  พลาดไป.

หม้อตกบนพื้นดินแตกไป.  ตั้งแต่นั้นมา  ก็กลับเป็นคนจน  นุ่งผ้า

ท่อนเก่า  มือถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอาศัยฝาเรือนคนอื่นอยู่จน

ตายไป.  พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงตรัส

อภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ว่า  :-

              นักเลงได้หม้อ  อันเป็นหม้อสารพัดนึก

       ใบหนึ่ง  ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้ตราบใดเขาก็

       จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.

              เมื่อใด  เขาประมาทและเย่อหยิ่ง  ได้

       ทำลายหม้อให้แตก  เพราะความประมาท  เมื่อ

       นั้น  ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่า  เป็นคน

       โง่เขลา  ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

              คนผู้ประมาทโง่เขลา  ได้ทรัพย์มาแล้ว

       ใช้สอยไปอย่างนี้  จะต้องเดือดร้อนในภาย

       หลังเหมือนนักเลงทุบหม้อสารพัดนึกฉะนั้น.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สพฺพกามททํ  ได้แก่  หม้อที่สามารถ

ให้วัตถุอันน่าใคร่ทั้งปวง.  บทว่า  กูฏํ  เป็นไวพจน์ของ  กุมภะหม้อ.

บทว่า  ยาว  แปลว่า  ตลอดกาลเพียงใด.  บทว่า  อนุปาเลติ  ความว่า

คนใดคนหนึ่ง  ได้หม้อเห็นปานนี้  ยังรักษาไว้ตราบใด  เขาย่อมได้

ความสุขอยู่ตราบนั้น.  บทว่า  มตฺโต    ทิตฺโต    ความว่า  ชื่อว่า

มัตตะ  เพราะเมาเหล้า  ชื่อว่า  ทิตตะ  เพราะเย่อหยิ่ง  บทว่า  ปมาทา

กุมฺภมพฺภิทา  แปลว่า  ทำลายหม้อเสีย  เพราะความประมาท.  บทว่า

นคฺโค    โปตฺโถ    ความว่า  บางคราว  เป็นคนเปลือย  บางคราว

เป็นคนนุ่งผ้าเก่า  เพราะเป็นคนนุ่งผ้าท่อนเก่า.  บทว่า  เอวเมว  ก็คือ

เอวเมว  แปลว่า  อย่างนั้นนั่นแหละ.  บทว่า  ปมตฺโต  ได้แก่  ด้วย

ความประมาท.  บทว่า  ตปฺปติ  ได้แก่  ย่อมเศร้าโศก.

       พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาดังนี้แล้ว  ทรงประชุมชาดกว่า

นักเลงผู้ทำลายหม้อความเจริญในครั้งนั้นได้เป็นหลานเศรษฐีในบัดนี้

ส่วนท้าวสักกะ  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่