พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันวิหาร  ทรงปรารภ

การได้พร    ประการของท่านพระอานันทเถระ  จึงตรัสเรื่องนี้  มีคำ

เริ่มต้นว่า  นานาฉนฺทา  มหาราช  ดังนี้.  เรื่องนี้จักมีแจ้งในชุณห-

ชาดก  เอกาทสนิบาต.

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ

พระเจ้าพรหมทัตนั้น  พอเจริญวัย  เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมือง

ตักกศิลา  เมื่อพระราชบิดาสวรรคต  ก็ได้ครองราชสมบัติ.  พระโพธิ-

สัตว์นั้น  มีปุโรหิตของพระราชบิดาถูกถอดจากตำแหน่ง.  ปุโรหิตนั้น

เป็นคนเข็ญใจ  อาศัยอยู่ในเรือนคนชราแห่งหนึ่ง.  ครั้นวันหนึ่ง

พระโพธิสัตว์ปลอมเพศโดยใครๆ  ไม่รู้จัก  เสด็จเที่ยวตรวจตราพระ-

นครในตอนกลางคืน.  พวกโจรที่กระทำโจรกรรมแล้ว  พากันดื่มสุรา

ในโรงสุราแห่งหนึ่ง  เอาหม้อใส่สุราไว้ต่างหากหม้อหนึ่ง  ถือไปบ้าน

ของตนๆ  ในระหว่างทาง  ได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้นเข้าจึงกล่าวว่า  เฮ้ย

เจ้าเป็นใคร  ?  แล้วตีชิงเอาผ้าห่ม  ให้ยกหม้อสุรานั้นขู่ให้เดินไป.

ฝ่ายพราหมณ์นั้น  ขณะนั้น  ออกไปยืนอยู่ในระหว่างถนน  ตรวจดู

ดาวนักษัตรรู้ว่าพระราชาตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกศัตรู  จึงเรียกนาง

พราหมณี.  นางพราหมณีนั้นกล่าวว่า  อะไรกันค่ะท่าน  แล้วรีบมายัง

สำนักของพราหมณ์นั้น.  ลำดับนั้น  พราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณี

นั้นว่า  นางผู้เจริญ  พระราชาของเราตกอยู่ในอำนาจของศัตรู.  พราหมณี

กล่าวว่า  ก็ธุระอะไรของท่านเล่า  พวกพราหมณ์ผู้มียศในราชสำนัก

จักรู้เอง.  พระราชาทรงสดับเสียงของพราหมณ์ได้เสด็จไปหน่อยจึง

ตรัสกะพวกนักเลงว่า  นาย  ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน  ท่านเอาผ้าห่ม

ไปแล้ว  จงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.  พระราชาทรงตรัสอยู่บ่อย ๆ  พวกนักเลง

เหล่านั้นจึงปล่อยไป  ด้วยความกรุณา.  พระราชาทรงกำหนดเรือนที่

อยู่ของนักเลงเหล่านั้นแล้วเสด็จกลับ.  ลำดับนั้น  แม้ปุโรหิตคนเก่า

ก็กล่าวว่า  นางผู้เจริญ  พระราชาของเราพ้นจากเงื้อมมือของศัตรูแล้ว.

พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น  แล้วทรงกำหนดเรือนของปุโรหิตนั้น

ไว้  เสด็จขึ้นสู่ปราสาท.  เมื่อราตรีสว่างแล้ว  พระราชารับสั่งให้เรียก

พราหมณ์ทั้งหลายมา  แล้วตรัสถามว่า  ท่านอาจารย์  ในตอนกลางคืน

ท่านทั้งหลายได้ตรวจดาวนักษัตรบ้างหรือเปล่า  ?  พราหมณ์ทั้งหลาย

กราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ  ได้ตรวจดูแล้ว  พระเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามว่า  นักขัตตฤกษ์งามไหม   ?  พราหมณ์.  งามพระ-

เจ้าข้า.  พระราชาตรัสถามว่า  ไม่เคราะห์อะไร    หรือ  ?  พราหมณ์.  ไม่มี

พระเจ้าข้า.  พระราชารับสั่งให้เรียกปุโรหิตคนเก่ามา  โดยรับสั่งว่า  ท่าน

จงไปเรียกพราหมณ์จากบ้านโน้นมา  แล้วตรัสถามว่า  อาจารย์ตอน

กลางคืน  ท่านเห็นดาวนักษัตรบ้างไหม  ? ปุโรหิตกราบทูลว่า  ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ  เห็นพระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสถามว่า  เคราะห์

อะไร ๆ  มีไหม  ?  พราหมณ์.  กราบทูลว่า  ข้าแต่มหาราช  พระเจ้าข้า

วันนี้  เวลากลางคืน  พระองค์ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู  แต่เพียงครู่

เดียว  ก็หลุดพ้นได้.  พระราชาตรัสว่า  ธรรมดาผู้รู้ดวงดาวนักขัตตฤกษ์

ต้องเป็นคนเห็นปานนี้  ครั้นตรัสแล้วให้ถอดพวกพราหมณ์ที่เหลือ

นอกนั้นเสียแล้วตรัสว่า  พราหมณ์  เราเลื่อมใสท่าน  ท่านจงรับเอาพร.

พราหมณ์กราบทูลว่า  ข้าแต่มหาราช  ข้าพระพุทธเจ้าปรึกษากับบุตร

และภรรยา  แล้วจักรับเอา  พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสว่า  ไปเถอะท่าน

ปรึกษากันแล้วจึงค่อยมา.  พราหมณ์นั้นไปแล้วเรียกพราหมณี  บุตร

ชาย  บุตรสะใภ้  และหญิงทาสี  มาแล้วถามว่า  พระราชาพระราชทาน

พรแก่เรา  เราจะรับเอาอะไร  ?  พราหมณีกล่าวว่า  ท่านจงนำโคนมมา

ให้ดิฉัน  ๑๐๐  ตัว.  บุตรชาย  ชื่อว่าฉัตตมาณพกล่าวว่า  ท่านจงนำรถ

เทียมม้าอันเทียมด้วยม้าสินธพ    ตัว  มีสีเหมือนดอกโกมุทมาให้ฉัน.

บุตรสะใภ้กล่าวว่า  ท่านจงนำเอาเครื่องประดับมีต่างหูแก้วมณีเป็นต้น

มาให้ดิฉัน.  ทาสีชื่อว่าปุณณากล่าวว่า  ท่านจงเอาครกและสากมาให้

ดิฉัน.  ส่วนพราหมณ์ต้องการรับเอาบ้านส่วย  จึงไปยังราชสำนัก

อันพระราชาตรัสถามว่า  ท่านถามบุตรและภรรยาดูแล้วหรือ  จึงกราบ

ทูลว่า  พระเจ้าข้า  ข้าแต่มหาราช  ข้าพระพุทธเจ้าถามแล้ว  แต่มี

ความพอใจไม่เป็นอย่างเดียวกัน  แล้วกล่าว    คาถาแรกว่า  :-

              ข้าแต่มหาราช  ข้าพระบาททั้งหลายอยู่

       ในเรือนหลังเดียวกัน  แต่มีฉันทะความพอใจ

       ต่างกัน  ข้าพระบาทอยากได้บ้านส่วย  นาง

       พราหมณีอยากได้โคนมสักร้อยหนึ่ง.  ลูกชาย

       อยากได้รถเทียมอาชาไนย  ลูกสะใภ้อยากได้

       ต่างหูแก้วมณี  ฝ่ายนางปุณณทาสีผู้ชั่วช้า

       จำนงหวังจะใคร่ได้ครก  สาก  และกระด้ง.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อิจฺเฉ  แปลว่า  ย่อมปรารถนา.

บทว่า  ควํ  สตํ  ได้แก่  โคชนิดแม่โคนมร้อยตัว.  บทว่า  กญฺ  หมายถึง

ลูกสะใภ้.  บทว่า  ยา  เจสา  ความว่า  ทาสีชื่อว่าปุณณาในเรือนของ

ข้าพระบาทนั้น  นางเป็นคนเลวทราม  จำนงหวัง   คือต้องการครก

พร้อมทั้งกระด้งและสาก.

       พระราชาทรงสั่งว่า  พวกท่านจงให้สิ่งที่ต้องการแล้วๆ  แก่

ทุกๆ  คน  ได้ตรัสเป็นคาถาว่า  :-

              ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์

       จงให้โคนมร้อยตัวแก่พราหมณี  จงให้รถ

       เทียมม้าอาชาไนยแก่บุตรชาย  จงให้ต่างหู

       แก้วมณีแก่บุตรสะใภ้  และจงให้ครกแก่นาง

       ปุณณทาสีผู้ชั่วช้า.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยญฺเจตํ  ความว่า  ท่านทั้งหลาย

จงยังทาสีที่เรียกว่า  ปุณณกา  ผู้ชั่วช้านั้นให้ได้  คือให้รับเอาครก.

       พระราชาได้พระราชทานสิ่งที่พราหมณ์ปรารถนา.  และยศ

ใหญ่โตอย่างอื่น  ด้วยประการดังนี้  แล้วตรัสว่า  จำเดิมแต่นี้ไป  ท่าน

จงขวนขวายในกิจที่จะพึงกระทำแก่เรา  แล้วทรงตั้งพราหมณ์ไว้ใน

สำนักของพระองค์.

       พระศาสดาครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  พราหมณ์ในครั้งนั้น  ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้

ส่วนพระราชา  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถานานาฉันทชาดกที่