อรรถกถาโรมชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

ความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัส

เรื่องนี้  มีคำเริ่มต้นว่า  วสฺสานิ  ปญฺาส  สมาธิกานิ  ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น  ส่วนเรื่องอดีตมีดังต่อไปนี้

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบ  อันนกพิราบเป็นอัน

มากห้อมล้อมสำเร็จการอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาในป่า.  มีดาบสรูปหนึ่งเป็น

ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระมรรยาท  เข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่ง

สร้างอาศรมบทอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของนกพิราบเหล่านั้น  สำเร็จ

การอยู่ในบรรพตคูหา.  พระโพธิสัตว์มายังสำนักของดาบสในระหว่างๆ 

ไม่ขาด  ฟังสิ่งที่ควรฟัง.  พระดาบสอยู่ในที่นั้นช้านานแล้วหลีกจากไป.

ครั้งนั้น  ชฎิลโกงคนหนึ่งได้มาสำเร็จการอยู่ในบรรพตคูหานั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันนกพิราบทั้งหลายแวดล้อม  เข้าไปหาชฎิลโกงนั้น

ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร  เที่ยวไปในอาศรมบทหาเหยื่ออยู่ในที่ใกล้

ซอกเขา  ในเวลาเย็นจึงบินไปยังที่อยู่ของตน.  ดาบสโกงอยู่ในที่นั้น

ได้  ๕๐  กว่าปี.  ครั้นวันหนึ่ง  ชาวบ้านปัจจันตคามได้ปรุงเนื้อ

นกพิราบถวายดาบสโกงนั้น.  ดาบสโกงนั้นติดใจด้วยตัณหาความอยาก

ในรสแห่งเนื้อของนกพิราบนั้น  จึงถามว่า  นี่ชื่อว่าเนื้ออะไร  ได้ฟังว่า

เนื้อนกพิราบ  จึงคิดว่านกพิราบจำนวนมากมายังอาศรมบทของเรา

เราฆ่านกพิราบเหล่านั้นกินเนื้อจึงจะควร.  ชฎิลโกงนั้นจึงนำเอา

ข้าวสาร  เนยใส  นมส้ม  นมสด  และพริกเป็นต้นมาเก็บไว้ส่วน

ข้างหนึ่ง  เอาชายจีวรคลุมฆ้อนนั่งคอยดูพวกนกพิราบจะมาอยู่ที่ประตู

บรรณศาลา.  พระโพธิสัตว์ห้อมล้อมด้วยนกพิราบบินมา  เห็นกิริยา

ชั่วร้ายของชฎิลโกงนั้น  จึงคิดว่า  ดาบสชั่วร้ายนี้นั่งด้วยอาการ

อย่างหนึ่งผิดสังเกต  ชรอยจะได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา

บ้างแล้วกระมัง  เราจักกำหนดจับดาบสโกงนั้น  จึงยืนอยู่ในที่ใต้ลม

สูดดมกลิ่นตัวของดาบสนั้น  รู้ได้ว่า  ดาบสนี้ประสงค์จะฆ่าพวกเรา

กินเนื้อ  ไม่ควรไปยังสำนักของดาบสนั้น  แล้วพานกพิราบทั้งหลาย

ถอยกลับออกมา.  ดาบสเห็นนกพิราบนั้นไม่มาจึงคิดว่า  เราควรกล่าว

มธุรกถาถ้อยคำอันไพเราะกับนกพิราบเหล่านั้นแล้วฆ่านกพิราบที่เข้า

ไปใกล้ด้วยความคุ้นเคยแล้วกินเนื้อ  จึงได้กล่าวคาถา    คาถา 

เบื้องต้นว่า  :-

              ดูก่อนปักษีผู้มีขนปีก  เราอยู่ในถ้ำแห่ง

       ภูเขาศิลามากว่า  ๕๐  ปี  นกพิราบทั้งหลาย

       ก็มิได้รังเกียจ  มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง  ย่อม

       พากันมาสู่บ่วงมือของเราในกาลก่อน.  ดูก่อน

       ท่านผู้มีอวัยวะคด  บัดนี้  นกพิราบเหล่านั้น

       คงจะเห็นเหตุอะไรกระมัง  จึงเป็นผู้ขวน

       ขวายพากันไปเสพอาศัยซอกเขาอื่น  ย่อม

       ไม่สำคัญเราเหมือนเมื่อก่อนหนอ  หรือว่า

       นกเหล่านี้พลัดพรากไปนานจึงจำเราไม่ได้

       หรือนกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้จึงไม่เข้าใกล้

       เรา.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สมาธิกานิ  ตัดบทเป็น  สม

อธิกานิ  แปลว่า  เกินจำนวน  ๕๐  ปี.  บทว่า  โรมก

แปลว่า  ผู้มีขนงอกขึ้น.  ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า  ปาราวตะ

เพราะมีเท้าแดง  มีวรรณะเสมอด้วยแก้วประพาฬอันเจียรไนดีแล้ว.

บทว่า  อสงฺกมานา  ความว่า  เมื่อเราอยู่ในบรรพตคูหานี้เกิน  ๕๐  ปี

อย่างนี้  นกเหล่านี้ไม่ได้กระทำความรังเกียจเราแม้แต่วันเดียว  เป็น

ผู้มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง  เมื่อก่อนย่อมมาสู่บ่วงมือของเราอันโอกาส

ช่องว่างที่เหยียดมือออก.  บทว่า  เตทานิ  ตัดบทออกเป็น  เต  อิทานิ

แปลว่า  บัดนี้  นกเหล่านั้น.  ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า  วงฺกงฺค

ผู้มีอวัยวะคด  ก็นกแม้ทุกชนิด  เรียกได้ว่า  วังกังคะ  ผู้มีอวัยวะคด

เพราะในเวลาบินทำคอเอี้ยวบินไป.  บทว่า  กิมตฺถํ  ความว่า  เห็น

เหตุอะไร.  บทว่า  อุสฺสุกฺกา  ได้แก่  เป็นผู้ระอาใจ.  บทว่า 

คิริกนฺทรํ  ได้แก่  ซอกเขาอื่นจากภูเขา.  บทว่า  ยถา  ปุเร  ความว่า

เมื่อก่อนนกเหล่านี้ย่อมสำคัญเราว่าเป็นที่เคารพ  เป็นที่รัก  ฉันใด

บัดนี้ย่อมไม่สำคัญ  ฉันนั้นหนอ  ท่านแสดงความหมายว่า  นกเหล่านี้

เห็นจะสำคัญเราอย่างนี้ว่า  แม้ดาบสที่เคยอยู่ในที่นี้มาก่อน  เป็นคน

หนึ่ง  ดาบสนี้ก็เป็นอีกคนหนึ่ง  คือคนละคนกัน.  ด้วยบทว่า

จิรมฺปวุฏฺ€  อถวา    เต  อิเม  นี้  ดาบสโกงถามว่า  นกเหล่านี้

พลัดพรากไปนานเพราะระยะกาลนานล่วงไปจึงได้มา  จึงจำเราไม่ได้ว่า

ดาบสนี้  ก็คือดาบสรูปนั้นแหละ  หรือว่านกเหล่าใดมีจิตสนิทในเรา

นกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้  คือเป็นนกพวกอื่นจรมา.  ด้วยเหตุนั้น

นกเหล่านี้จึงไม่เข้ามาใกล้เรา.

       พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงหันกลับมายืนกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล  รู้อยู่ว่าท่าน

       ก็คือท่านนั่นแหละ  พวกเรานั้นก็ไม่ใช่นก

       พวกอื่น  ก็แต่ว่าจิตของท่านคิดประทุษร้าย

       ในชนนี้  ดูก่อนอาชีวก  เพราะเหตุนั้น

       พวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า    มยํ  สมฺมุฬฺหา  พวกเรา

เป็นผู้หลงใหล  คือประมาทมัวเมาก็หามิได้  บทว่า  จิตฺตญฺจ  เต

อสฺมิ  ชเน  ปทุฏฺ€  ความว่า  ท่านก็คือท่าน  แม้เราก็คือนกเหล่านั้น

ยังจำท่านได้  ก็อนึ่งแล  จิตของท่านประทุษร้ายในชน  คือเกิดจิต

เพื่อจะฆ่าพวกเรา.  บทว่า  อาชีวก  ได้แก่  ดูก่อนดาบสชั่ว  ผู้บวช

เพราะเหตุต้องการเลี้ยงชีพ.  บทว่า  เตน  ตํ  อุตฺตสาม  ความว่า

เพราะเหตุนั้น  เราจึงสดุ้งกลัวท่านไม่เข้าใกล้.

       ดาบสโกงคิดว่า  นกเหล่านี้รู้จักเราแล้วจึงขว้างฆ้อนไป  แต่ผิด

จึงกล่าวว่า  จงไปเถิด  นกผู้เจริญ  เราเป็นผู้ผิดเสียแล้ว.  ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะดาบสโกงนั้นว่า  เบื้องต้น  ท่านผิดเราก่อน

แต่ท่านจะไม่ผิดพลาดอบายทั้ง    ถ้าท่านจักอยู่ในที่นี้ต่อไป  เราจัก

บอกชาวบ้านว่า  ดาบสนี้เป็นโจร  แล้วให้มาจับท่านไป  ท่านจงรีบหนี

ไปเสีย  ครั้นคุกคามดาบสนั้นแล้วก็หลีกไป.  ฝ่ายชฏิลโกงไม่อาจอยู่

ในที่นั้น  ได้  ไปที่อื่น.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประกาศ

สัจจะ    แล้วทรงประชุมชาดกว่า  ดาบสโกงในครั้งนั้น  ได้เป็น

เทวทัตในบัดนี้  ดาบสผู้มีศีลรูปก่อนในครั้งนั้น  ได้เป็นพระสารีบุตร

ในบัดนี้  ส่วนหัวหน้านกพิราบในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาโรมชาดกที่