พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง  จึงตรัสเรื่องนี้  มีคำเริ่มต้นว่า  กายํ  พลากา

สุจิรา  ดังนี้.  เรื่องทั้งสองเรื่องคือเริ่มเรื่องกับเรื่องในอดีต  เป็น

เหมือนกับเรื่องแรกนั่นแหละ.  แต่คาถาต่างกัน.  มีคาถาติดต่อเป็น

อันเดียวกันว่า :-

พระโพธิสัตว์ว่า  - อย่างไร  นกยางขาวน่ารักตัวนี้  จึงมา

                          อยู่ในรังกาเช่นนี้ และที่เป็นรังของ

                          กาผู้ดุร้ายสหายของเรา.

กากล่าวว่า-     ดูก่อนนกพิราบผู้สหาย  ท่านเป็นทิชา-

                        ชาติ  มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร  ย่อมรู้จัก

                        ข้าพเจ้ามิใช่หรือ  เราไม่ได้ทำตามคำ

                         ของท่าน  ท่านกลับมาแล้วจงมองดู

                         ข้าพเจ้าซึ่งมีตัวลุ่นๆ  เถิด.

พระโพธิสัตว์ว่า- ดูก่อนสหาย  ท่านจะได้รับทุกข์อีก

                     เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้นแท้

                     จริง  เครื่องบริโภคของมนุษย์ไม่ควร

                     ที่นกจะพึงบริโภค.

       ด้วยบทว่า  รุจิรา  นี้  ในคาถานั้น  พระโพธิสัตว์กล่าวหมาย

เอาความที่กามีสีขาว  เพราะมีร่างกายทาด้วยเปรียง.  บทว่า  รุจิรา

ได้แก่  ดูน่ารัก  อธิบายว่า  มีสีขาว.  บทว่า  กากนิณฺฑสฺมึ   แปลว่า

ในรังของกา.  บาลีว่า  กากนีฬสฺมึ  ดังนี้ก็มี.  กาเรียกนกพิราบว่า

ทิชา.  บทว่า  สามากโภชนา  ได้แก่  มีพืชหญ้าเป็นอาหาร.  จริงอยู่

ในที่นี้  ท่านถือเอาพืชหญ้าแม้ทั้งหมด  ด้วยศัพท์ว่า  สามากะ.

       แม้ในเรื่องนี้  พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า  บัดนี้  ตั้งแต่นี้ไป  เรา

ไม่อาจอยู่ในที่นี้  ดังนี้  แล้วบินไปอยู่ในที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก.  ในเวลาจบสัจจะ  ภิกษุผู้เหลาะแหละ

ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.  กาเหลาะแหละในครั้งนั้น.  ได้เป็นภิกษุผู้

เหลาะแหละในบัดนี้  ส่วนนกพิราบคือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ    อรรถกถารุจิรชาดกที่