อรรถกถาปทุมชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

ภิกษุทั้งหลายผู้กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์  จึงตรัส

เรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า  ยถา  เกสา    มสฺสุ    ดังนี้  เรื่องนี้จักมี

แจ้งในกาลิงคโพธิชาดก.

       ก็ต้นโพธิ์นั้น  ชื่อว่าอานันทโพธิ์  เพราะเป็นต้นโพธิ์ที่พระ-

อานันทเถระปลูกไว้.  จริงอยู่ความที่พระเถระปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่ซุ้ม

ประตูพระเชตวันวิหาร  ได้แพร่สพัดไปตลอดทั่วชมพูทวีป.  ครั้งนั้น

ภิกษุชาวชนบทบางพวกพากันคิดว่า  จักกระทำการบูชาด้วยระเบียบ

ดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์  จึงไปยังพระเชตวันวิหารถวายบังคมพระ-

ศาสดา  วันรุ่งขึ้น  เข้าไปในเมืองสาวัตถี  ไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย

ไม่ได้ดอกไม้  จึงมาบอกแก่พระอานันทเถระว่า  ท่านผู้มีอายุ  พวก

กระผมคิดกันว่า  จักกระทำบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นโพธิ์  จึงไปยังถนนที่มี

ดอกอุบลขาย  ก็ไม่ได้แม้แต่ดอกเดียว.  พระเถระกล่าวว่า  ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย  ผมจักนำมาถวายท่าน  แล้วเดินไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย

ให้เขายกกำดอกอุบลเขียวเป็นจำนวนมาก  แล้วส่งไปถวายภิกษุ

เหล่านั้น.  ภิกษุเหล่านั้นถือดอกอุบลเขียวเหล่านั้นไปบูชาที่ต้นโพธิ์.

ภิกษุทั้งหลายรู้เรื่องราวอันนั้น  จึงนั่งสนทนาถึงคุณของพระเถระใน

โรงธรรมสภาว่า  ผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุชาวชนบทมีบุญน้อย  ไปยัง

ถนนที่มีดอกอุบลขายก็ไม่ได้ดอกไม้  ส่วนพระเถระไปประเดี๋ยวก็ได้

มาแล้ว.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้

พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  ?  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ผู้ฉลาดในการกล่าว  ผู้ฉลาด

ในถ้อยคำ  ย่อมได้ดอกไม้ในบัดนี้เท่านั้น  ก็หามิได้  แม้ในกาลก่อน

ผู้ฉลาดก็ได้แล้วเหมือนกัน  จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นบุตรเศรษฐี.  ก็ในภายใน

พระนคร  ในสระแห่งหนึ่งปทุมกำลังออกดอก.  บุรุษจมูกแหว่งคนหนึ่ง

รักษาสระนั้น.  ครั้นวันหนึ่ง  เมื่อเขาป่าวร้องการแสดงมหรสพใน

พระนครพาราณสี  บุตรของเศรษฐี    คน  มีความประสงค์จะประดับ

ดอกไม้เล่นมหรสพ  จึงคิดกันว่า  จักพรรณนาคุณของชายจมูกแหว่ง

โดยไม่เป็นจริงแล้วจักได้ดอกไม้  ครั้นคิดกันแล้วในเวลาที่ชายจมูก

แหว่งนั้นเด็ดดอกปทุม  จึงเข้าไปใกล้สระได้ยืนอยู่    ส่วนข้างหนึ่ง.

บรรดาเศรษฐีบุตรทั้ง    คนนั้น  คนหนึ่งเรียกชายจมูกแหว่งนั้น

มาแล้วกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ผมและหนวดที่ตัดแล้วๆ  ย่อมงอก

       ขึ้นได้  ฉันใด  จมูกของท่านจงงอกขึ้น

              ฉันนั้น  ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว  ขอจงให้

              ดอกปทุม

       ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรนั้น  จึงไม่ให้ดอกปทุม.

ลำดับนั้น  เศรษฐีบุตรที่    ได้กล่าวคาถาที่    ต่อเขาว่า  :-

              พืชที่เขาเก็บไว้ในสารทกาล  คือฤดู

       ใบไม้ร่วงหว่านลงในนาย่อมงอกขึ้น  ฉันใด

       จมูกของท่านจงงอกขึ้น  ฉันนั้น  ท่านอัน

       ข้าพเจ้าขอแล้ว  ขอจงให้ดอกปทุม.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สารทิกํ  ได้แก่  พืชที่สมบูรณ์

ด้วยเนื้อแท้  อันบุคคลถือเอาในสารทกาลแล้วเก็บไว้.

       ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรคนนั้นก็ไม่ให้ดอกปทุม.

ลำดับนั้น  เศรษฐีบุตรคนที่    กล่าวคาถาที่    ต่อเขาว่า  :-

              คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเพ้อไปด้วย

       คิดว่า  ท่านจักให้ดอกปทุมบ้าง  คนทั้งสองนั้น

       จะพูดหรือไม่พูดก็ตาม  จมูกของท่านย่อม

       ไม่งอกขึ้น  ดูก่อนสหาย  ท่านจงให้ดอกปทุม

       ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่

       ข้าพเจ้าเถิด.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อุโภปิ  วิลปนฺเต  เต  ความว่า

คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเท็จ.  บทว่า  อปิ  ปทุมานิ  ความว่า  คนทั้งสอง

นั้นคิดว่า  ชายจมูกแหว่งจักให้ดอกปทุมแก่พวกเราบ้าง  จึงกล่าว

อย่างนั้น.  บทว่า  วชฺชุํ  วา  เต    วา  วชฺชุํ  ความว่า  คนเหล่านี้

จะพึงกล่าวหรือจะไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่าจมูกของท่านจงงอกขึ้น  ชื่อว่า

คำของคนเหล่านั้น  ไม่เป็นประมาณ  จมูกย่อมไม่มีการงอกขึ้น

แม้โดยประการทั้งปวง  ส่วนเราจะไม่กล่าวพาดพิงถึงจมูกของท่าน

จะขออย่างเดียว  ดูก่อนสหาย  ท่านอันเราขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่

เรานั้น.

       ชายผู้เฝ้าสระปทุมได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า  คนทั้งสองนี้กระทำ

มุสาวาท  ส่วนท่านกล่าวตามสภาพ  ดอกปทุมทั้งหลายสมควรแก่ท่าน

แล้วถือเอาดอกปทุมกำใหญ่มาให้แก่เศรษฐีบุตรคนที่    นั้น.  แล้ว

กลับไปยังสระปทุมของตนตามเดิม.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดกว่า  เศรษฐีบุตรคนที่ได้ดอกปทุมในกาลนั้น  ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาปทุมชาดกที่