พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

การสรรเสริญปัญญา  จึงตรัสเรื่องนี้  มีคำเริ่มต้นว่า  นายํ  ฆรานํ

กุสโล  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญพระปัญญาของพระทศพล

ในโรงธรรมสภาว่า  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  พระตถาคตมีพระปัญญามาก

มีพระปัญญาหนา  มีพระปัญญาร่าเริง  มีพระปัญญาไว  มีพระปัญญา

กล้าแข็ง  มีพระปัญญาชำแรกกิเลส  ก้าวล่วงโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก

ด้วยพระปัญญา  พระศาสดาเสร็จมาตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลายบัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  ?  เมื่อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น

แม้ในกาลก่อน  ตถาคตก็มีปัญญาเหมือนกัน  แล้วทรงนำเอาเรื่องใน

อดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  มีพระราชาพระนามว่า  ชนสันธะ  ครองราช-

สมบัติอยู่ในนครพาราณสี.  พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระราชานั้น.  หน้าของพระโพธิสัตว์นั้น  เกลี้ยง

เกลา  บริสุทธิ์ดุจพื้นแว่นทองคำ  ถึงความงามอันเลิศยิ่ง.  ด้วยเหตุนั้น

ในวันตั้งชื่อ  ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า  อาทาส-

มุขกุมาร.  ภายใน    ปีเท่านั้น  พระชนกให้กุมารนั้นศึกษาพระเวท

ทั้ง    และสิ่งทั้งปวงที่จะพึงทำในโลก  แล้วได้สวรรคตในเวลาที่พระ-

กุมารนั้นมีอายุ    ขวบ  อำมาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระศพ

ของพระราชาด้วยบริวารใหญ่โต  แล้วถวายทานเพื่อผู้ตาย  ในวันที่ 

ประชุมกันที่พระลานหลวงหารือกันว่า  พระกุมารยังเด็กเกินไป  ไม่

อาจอภิเษกให้ครองราชย์ได้  พวกเราจักทดลองพระกุมารนั้นแล้วจึง

ค่อยอภิเษก.  วันหนึ่งอำมาตย์เหล่านั้นให้ตกแต่งพระนคร  จัดแจง

สถานที่วินิจฉัย  ให้แต่งตั้งบัลลังก์แล้วไปเฝ้าพระกุมารทูลว่า  ขอเดชะ

ควรเสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัย  (  ตัดสินความ  ) .  พระกุมารรับคำแล้ว

เสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก  ประทับนั่งบนบัลลังก์.  ในเวลาที่พระ-

กุมารนั้นประทับนั่งแล้ว  อำมาตย์เหล่านั้นให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งเดิน 

เท้าได้  ให้แต่งเป็นเพศอาจารย์ผู้มีวิชาดูที่  แล้วนำไปยังสถานที่วินิจฉัย-

ความ  ทูลว่า  ขอเดชะ  บุรุษผู้นี้เป็นอาจารย์รู้วิชาดูที่  ในสมัยของ

พระชนกผู้มหาราช  ย่อมรู้คุณ-โทษในที่มีรัตนะ    ภายในพื้นดิน

ด้วยวิชาอันคล่องแคล่ว  สถานที่ตั้งวังของราชตระกูล  บุรุษผู้นี้แหละ

จัดการ  ขอพระองค์จงสงเคราะห์บุรุษผู้นี้  โปรดสถาปนาไว้ในฐานันดร

เถิด.  พระกุมารแลดูลิงนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนก็ทรงทราบว่า  ผู้นี้

ไม่ใช่มนุษย์  ผู้นี้เป็นลิง  แล้วทรงดำริว่า  ธรรมดาลิงย่อมรู้แต่จะ

ทำลายสิ่งที่เขาทำไว้  ย่อมไม่รู้จะทำหรือจัดสิ่งที่เขายังไม่ได้ทำ  จึงกล่าว

คาถาแรกแก่พวกอำมาตย์ว่า  :-

                           สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดที่จะทำเรือนมีปกติ

                     หลุกหลิก  หนังที่หน้าย่น  พึงประทุษร้ายของ

                     ที่เขาทำไว้แล้ว  ตระกูลสัตว์นี้  มีอย่างนี้เป็น

                     ธรรมดา.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  นายํ  ฆรานํ  กุสโล  ความว่า

สัตว์นี้ไม่ฉลาดเรื่องบ้านเรือน  คือไม่เฉลียวฉลาดเพื่อจะจัดหรือทำ

เรือน.  บทว่า  โลโล  แปลว่า  มีกำเนิดโลเล.  บทว่า  วลีมุโข

ความว่า  ชื่อว่ามีหน้าย่น  เพราะมีรอยย่นที่หน้า.  บทว่า  เอวํธมฺมมิทํ

กุลํ  ความว่า  ธรรมดาตระกูลลิงนี้  มีสภาวะอย่างนี้คือประทุษร้ายสิ่ง

ที่เขาทำไว้ให้พินาศ.

       อำมาตย์ทั้งหลาย  ทูลว่า  ขอเดชะ  จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น

แล้วนำลิงนั้นออกไป  พอล่วงไปวันสองวัน  ก็ประดับลิงตัวนั้นแหละ

อีกแล้วนำไปยังที่วินิจฉัยอรรถคดี  กราบทูลว่า  ขอเดชะ  ผู้นี้เป็น

อำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดี  เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช  กระบวนการ

วินิจฉัยของท่านผู้นี้เป็นไปเรียบร้อยดี  ควรที่พระองค์จะทรงอนุ-

เคราะห์ท่านผู้นี้  ให้ทำหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีต่อไป.  พระกุมารแลดู

แล้วรู้ว่าคนที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์  มีความคิดย่อมไม่มีขนเห็นปานนี้

แม้ผู้นี้คงเป็นลิงที่ไม่มีความคิด  จักไม่สามารถทำกิจในการวินิจฉัย

อรรถคดีได้  จึงตรัสคาถาที่    ว่า  :-

                           ขนอย่างนี้  ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มี

                     ความคิด  ลิงตัวนี้จะทำให้ผู้อื่นปลอดโปร่งใจ

                     ไม่ได้  พระราชบิดาของเราทรงพระนามว่า

                     ชนสันธะ  ได้ตรัสสอนไว้ว่า  ธรรมดาลิง

                     ย่อมไม่รู้จักเหตุอันใดอันหนึ่ง.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  นยิทํ  จิตฺตวโต  โลมํ  ความว่า

ขนหยาบในสรีระของสัตว์นี้  มิได้มีแก่ผู้มีความคิดอันประกอบด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา  ก็ธรรมดาสัตว์เดรัจฉาน  ชื่อว่าไม่มีความคิด

ด้วยความคิดตามปกติย่อมไม่มี.  บทว่า  นายํ  อสฺสาสิโก  ความว่า

สัตว์นี้ชื่อว่าทำผู้อื่นให้ปลอดโปร่งใจไม่ได้  เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่ง

อาศัยหรือทำการพร่ำสอนให้ผู้อื่นเบาใจได้.  บทว่า  มิโค  แปลว่า

ลิง.  ด้วยบทว่า  สตฺถํ  เม  ชนสนฺเธน  นี้  แสดงว่า  ข้อนี้  พระเจ้า

ชนสันธะ  ผู้พระชนกของเราสอนไว้  คือ  ตรัสไว้  ได้แก่  ประทาน

อนุศาสนีไว้อย่างนี้ว่า  ธรรมดาลิงย่อมไม่รู้เหตุและมิใช่เหตุ.  บทว่า

นายํ  กิญฺจิ  วิชานติ  ความว่า  เพราะฉะนั้น  ในข้อนี้  พึงตกลงได้ว่า

ธรรมดาว่าวานรนี้ย่อมไม่รู้เหตุการณ์อะไรๆ  แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า

นายํ  กิญฺจิ    ทูสเย  แปลว่า  ลิงนี้ไม่พึงประทุษร้ายอะไรๆ  หามิได้.

คำนั้นไม่มีในอรรถกถา.

       อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัส  แม้นี้แล้วกราบทูลว่า  ขอเดชะ

จักเป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า  แล้วนำลิงนั้นออกไป  วันหนึ่ง  ประดับ

ประดาลิงตัวนั้นแหละ  แล้วนำมายังสถานที่วินิจฉัยอรรถคดีอีก

กราบทูลว่า  ขอเดชะ  เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช  บุรุษผู้นี้ได้บำเพ็ญ

หน้าที่บำรุงบิดามารดา  เป็นผู้กระทำความอ่อนน้อมต่อผู้เจริญใน

ตระกูล  พระองค์สมควรอนุเคราะห์บุรุษผู้นี้.  พระกุมารมองดูลิง

ตัวนั้นอีกแล้วทรงดำริว่า  ธรรมดาลิงทั้งหลายมีจิตใจกลับกลอก  ไม่

สามารถทำการงานเห็นปานนี้ได้  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                           สัตว์เช่นนั้น  จะพึงเลี้ยงดู  บิดามารดา

                     หรือพี่ชายพี่สาวของตนไม่ได้  คำสอนนี้

                     พระเจ้าทศรถผู้ชนกของเราสั่งสอนไว้.

       บรรดาบทเหล่านี้  บทว่า  ภาตรํ  ภคินึ  สกํ  ได้แก่  พี่ชายหรือ

พี่สาวของตน.  แต่ในบาลีเขียนว่า  สขํ  ก็คำนั้น  ในอรรถกถาท่าน

วิจารณ์ไว้ว่า  เมื่อกล่าวว่า  สกํ  ย่อมกินความถึงพี่ชายและพี่สาวของตน

เมื่อกล่าวว่า  สขํ  ได้ความหมายเฉพาะสหาย.  บทว่า  ภเรยฺย  แปลว่า

พึงพอกเลี้ยง.  บทว่า  ตาทิโส  โปโส  ความว่า  สัตว์ชาติลิงที่เห็น

กันอยู่เช่นนั้น  พึงเลี้ยงดูไม่ได้  บทว่า  สิฏฺ€  ทสรเถน  เม  ความว่า

พระชนกของเราทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้.  จริงอยู่พระชนกของพระกุมาร

นั้น  เขาเรียกว่า  พระเจ้าชนสันธะ  เพราะทรงสงเคราะห์ชนด้วย

สังคหะวัตถุ    ประการ  เรียกว่า  พระเจ้าทศรถ  เพราะทรงกระทำกิจ

ที่จะพึงกระทำด้วยรถ  ๑๐  คัน  ด้วยรถของพระองค์เพียงคันเดียว

เท่านั้น.  เพราะได้สดับโอวาทเห็นปานนั้นจากสำนักของพระชนก

พระองค์นั้น  พระกุมารจึงตรัสอย่างนั้น.

       อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า  จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น

พระเจ้าข้า  แล้วนำลิงนั้นออกไป  ได้ตกลงกันว่า  พระกุมารเป็นบัณฑิต

จักสามารถครองราชสมบัติได้  จึงอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้ครองราช-

สมบัติ  แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องไปในพระนครว่า  เป็นอาณาจักร

ของพระเจ้าอาทาสมุขแล้ว.  จำเดิมแต่นั้นมา  พระโพธิสัตว์ทรงครอง

ราชสมบัติโดยธรรม  โดยสม่ำเสมอ  แม้ความที่พระเจ้าอาทาสมุขนั้น

เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดก็แพร่ไปตลอดทั่วชมพูทวีป.  ก็เพื่อจะแสดง

ความที่พระองค์เป็นบัณฑิต  ได้นำเอาเรื่อง  ๑๔  เรื่องนี้มากล่าวไว้  คือ  :-

                           เรื่องโค    เรื่องบุตร    เรื่องม้า 

                     เรื่องช่างสาน    เรื่องนายบ้านส่วย    เรื่อง-

                     หญิงแพศยา    เรื่องหญิงรุ่นสาว    เรื่องงู 

                     เรื่องเนื้อ    เรื่องนกกระทา    เรื่องรุกข-

                     เทวดา    เรื่องพระยานาค    เรื่องดาบส

                     มีตบะ    เรื่องพราหมณ์มาณพ 

       ในนิทาน  ๑๔  เรื่องนั้น  มีเรื่องราว  ตามลำดับดังต่อไปนี้

       เมื่อพระโพธิสัตว์อภิเษกอยู่ในราชสมบัตินั้น  บุรุษผู้หนึ่งชื่อ

คามณิจันท์  ผู้เคยเป็นบาทมูลิกาของพระเจ้าชนสันธะ  คิดอย่างนี้ว่า

ธรรมดาว่าความเป็นพระราชานี้  ย่อมจะงดงามกับคนผู้มีวัยเสมอกัน

ส่วนเราเป็นคนแก่จักไม่เหมาะที่จะบำรุงพระกุมารหนุ่ม  เราจักทำ

กสิกรรมเลี้ยงชีวิตอยู่ในชนบท.  เขาจึงออกจากพระนครไปยังที่ไกล

ประมาณ    โยชน์  สำเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง  แต่เขาไม่มีแม้แต่

โคสำหรับจะทำกสิกรรม.  เมื่อฝนตกเขาจึงขอยืมโค    ตัว  กับสหาย

คนหนึ่งไถนาอยู่  ตลอดทั้งวันแล้วให้โคกินหญ้าแล้วได้ไปยังเรือนเพื่อ

จะมอบโคทั้ง    ตัวให้กับเจ้าของ.  ขณะนั้น  เจ้าของโคกำลังนั่งบริโภค

อาหารอยู่กลางบ้านพร้อมกับภรรยา.  ฝ่ายโคทั้งสองตัวก็เข้าไปยังบ้าน

ด้วยความคุ้นเคย.  เมื่อโคเหล่านั้นเข้าไป  สามียกถาด  ภรรยาเอาถาด

ออกไป.  นายคามณิจันท์มองดูด้วยคิดว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้จะเชื้อเชิญ

เรารับประทานข้าว  จึงยังไม่มอบโคให้รีบกลับไปเสีย.  ในเวลา

กลางคืน  พวกโจรตัดคอกลักโคเหล่านั้นแหละไปเสีย.  เจ้าของโคเข้าไป

ยังคอกโคแต่เช้าตรู่  ไม่เห็นโคเหล่านั้น  แม้จะรู้อยู่ว่าถูกพวกโจรลักไป

ก็เข้าไปหานายคามณิจันท์นั้นด้วยตั้งใจว่า  จักปรับเอาสินไหมแก่นาย

คามณิจันท์จึงกล่าวว่า  ผู้เจริญ  ท่านจงมอบโคทั้งสองให้เรา.  นาย

คามณิจันท์ว่า  โคเข้าบ้านไปแล้วมิใช่หรือ.  เจ้าของโคว่า  ท่านมอบโค

เหล่านั้นแก่เราแล้วหรือ.  นายคามณิจันท์ว่า  ยังไม่ได้มอบ.  เจ้าของโค

กล่าวว่า  ถ้าอย่างนั้นเรื่องนี้เป็นความอาญาสำหรับท่านๆจงมา  จริงอยู่

ในชนบทเหล่านั้น  เมื่อใครๆ  ยกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นจะเป็นก้อนกรวด

หรือชิ้นกระเบื้องก็ตาม  แล้วกล่าวว่า  นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน

ท่านจงมา  ดังนี้  ผู้ใดไม่ไปก็ย่อมลงอาญาแก่ผู้นั้น  เพราะฉะนั้นนาย

คามณิจันท์นั้น  พอได้ฟังว่าเป็นความอาญา  ก็ออกไปทันที.  เขาไปยัง

ราชสกุลกับเจ้าของโคนั้น  ไปถึงบ้านอันเป็นที่อยู่ของสหาย  เข้าบ้าน

หนึ่ง  จึงกล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าหิวจัด  ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ

จนกว่าจะเข้าไปยังบ้าน  รับประทานอาหารแล้วกลับมา  ว่าแล้วก็ได้

ไปยังบ้านของสหาย.  ส่วนสหายของเขาไม่อยู่บ้าน  หญิงสหายเห็นเข้า

ก็กล่าวว่า  นายอาหารที่หุงต้มสุกไม่มี  ท่านจงรอสักครู่ดิฉันจักหุงให้

ท่านเดี๋ยวนี้แหละ  แล้วรีบขึ้นฉางข้าวสารทางพะอง  จึงพลัดตกไปที่

พื้นดิน.  ครรภ์ของนางพอดีได้    เดือนก็ตกไปในขณะนั้นนั่นเอง

ขณะนั้น  สามีของนางกลับมาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า  ท่านประหาร

ภรรยาของเราทำให้ครรภ์ตก  นี้เป็นความอาญาของท่าน  นางจงมา

แล้วพานายคามณิจันท์นั้นออกไป.  จำเดิมแต่นั้น  คนทั้งสองเดินไป

ให้นายคามณิจันท์อยู่กลาง.  ครั้งนั้น  ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่ง  คนเลี้ยงม้า

ผู้หนึ่งไม่สามารถต้อนม้าให้กลับบ้าน.  ฝ่ายม้าก็เดินไปในสำนักของคน

เหล่านั้น  คนเลี้ยงม้าเห็นนายคามณิจันท์จึงกล่าวว่า  ลุงคามณิจันท์

ช่วยเอาอะไรๆ  ปาม้าตัวนี้ให้กลับทีเถิด.  นายคามณิจันท์จึงเอาหิน

ก้อนหนึ่งขว้างไป  ก้อนหินนั้นกระทบขาม้าหักเหมือนท่อนไม้ละหุ่ง

ฉะนั้น.  ลำดับนั้น  คนเลี้ยงม้าได้กล่าวกะนายคามณิจันท์ว่า  ท่านทำ

ขาม้าของเราหัก  นี้เป็นความอาญาสำหรับท่านแล้วจับตัวไป.  ฝ่ายนาย

คามณิจันท์นั้น  เมื่อถูกคนทั้ง    นำไป  จึงคิดว่า  คนเหล่านี้จักแสดง

เราแก่พระราชา  แม้มูลค่าราคาโค  เราก็ไม่อาจให้ได้  จะป่วยกล่าวใย

ถึงอาญาที่ทำให้ครรภ์ตก  ก็เราจักได้มูลค่าม้ามาแต่ไหน  เราตายเสีย

ประเสริฐกว่า.  เขาเดินไปได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งซึ่งมีหน้าผาชันข้างหนึ่ง

  ที่ใกล้ทางในดง  ระหว่างทาง.  ช่างสาน    คนพ่อลูกสานเสื่อ

ลำแพนอยู่ในร่มเงาของภูเขานั้น.  นายคามณิจันท์กล่าวว่า  ข้าพเจ้าจะ

ถ่ายอุจจาระ  ท่านทั้งหลายจงรออยู่ที่นี้แหละสักครู่จนกว่าข้าพเจ้าจะมา

แล้วขึ้นไปยังภูเขานั้น  กระโดดลงไปทางด้านหน้าผา  ตกลงไปบนหลัง

ช่างสานผู้เป็นพ่อ  ช่างสานผู้เป็นพ่อนั้นถึงแก่ความตายทันที  นายคามณิ-

จันท์ไม่ตาย  ลุกขึ้นได้ก็ไปเสีย.  ช่างสานผู้บุตรกล่าวว่า  ท่านเป็น

โจรฆ่าพ่อฉัน  นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน  แล้วจับมือนายคามณิ-

จันท์ลากออกจากพุ่มไม้  เมื่อนายคามณิจันท์พูดว่า  นี่อะไรกัน  จึง

กล่าวว่า  เจ้าเป็นโจรฆ่าพ่อของข้า.  ตั้งแต่นั้นมา  ชนทั้ง    คน  ให้

นายคามณิจันท์อยู่กลางพากันห้อมล้อมไป.

       ครั้นไปถึงประตูบ้านอีกแห่งหนึ่ง  นายบ้านส่วยคนหนึ่งเห็น

นายคามณิจันท์  จึงกล่าวว่า  ลุงคามณิจันท์  ท่านจะไปไหน?  เมื่อนาย

คามณิจันท์กล่าวว่า  จะไปเฝ้าพระราชา  จึงกล่าวว่า  ท่านจักไปเฝ้าพระ-

ราชาจริงแล้ว  ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายสาสน์แด่พระราชา  ท่านจักนำไป

ได้ไหม.  นายคามณิจันท์ว่า  ได้ฉันจักนำไปให้.  นายบ้านส่วยกล่าวว่า

เมื่อก่อนตามปกติ  ข้าพเจ้ามีรูปงาม  มีทรัพย์  สมบูรณ์ด้วยยศศักดิ์

ไม่มีโรค  มาบัดนี้  ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ  เกิดโรคผอมเหลือง  ท่าน

จงทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนั้นเป็นเพราะเหตุไร?  ได้ยินว่าพระราชา

เป็นผู้ฉลาด  พระองค์จักตรัสบอกแก่ท่าน  ท่านจงบอกพระดำรัสของ

พระองค์แก่ข้าพเจ้าด้วย.  นายคามณิจันท์รับว่าได้.  ลำดับนั้น หญิง

คณิกาคนหนึ่ง  อยู่ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า  เห็นนายคามณิจันท์

นั้น  จึงกล่าวว่า  ลุงคามณิจันท์  ท่านจะไปไหน?  เมื่อนายคามณิจันท์

บอกว่าจะไปเฝ้าพระราชา  จึงกล่าวว่า  เขาลือว่า  พระราชาเป็นบัณฑิต

ผู้ฉลาด  ท่านจงนำข่าวสาสน์ของเราไปด้วย  แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า  เมื่อ

ก่อน  ข้าพเจ้าได้ค่าจ้างมาก  มาบัดนี้  ไม่ได้แม้แต่หมากพลู  ใครๆ

ผู้จะมายังสำนักของเรา  ไม่มีเลย  ท่านจงทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่อง

นั้นเป็นเพราะเหตุไร?  แล้วพึงกลับมาบอกแก่ข้าพเจ้า.  ลำดับนั้น  หญิง

สาวคนหนึ่งที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า  เห็นนายคามณิจันท์นั้น

แล้วได้ถามเหมือนอย่างนั้น  แล้วกล่าวว่า  ข้าพเจ้าไม่อาจอยู่ในเรือน

ของสามี  ทั้งไม่อาจอยู่ในเรือนของตระกูล  ท่านจงทูลถามพระราชาว่า

ในเรื่องนั้น  เป็นเพราะเหตุอะไร?  แล้วพึงบอกแก่ข้าพเจ้า.  ครั้นใน

กาลต่อมาจากนั้น  มีงูอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง  ใกล้ทางใหญ่  เห็น

นายคามณิจันท์นั้นจึงถามว่า  ท่านคามณิจันท์  จะไปไหน?  เมื่อเขา

บอกว่า  จะไปเฝ้าพระราชา  จึงกล่าวว่า  ข่าวว่า  พระราชาเป็นบัณฑิต

ท่านจงนำข่าวสาสน์ของข้าพเจ้าไปด้วย  แล้วกล่าวว่า  ในเวลาไปหากิน

ข้าพเจ้าถูกความหิวแผดเผา  มีร่างกายเหี่ยวแห้ง  เมื่อจะออกจากจอม

ปลวก  ร่างกายเต็มคับปล่อง  เคลื่อนตัวออกด้วยความยากลำบาก  แต่

ครั้นเที่ยวหากินแล้วกลับมา  เป็นผู้อิ่มหนำ  มีร่างกายอ้วนพี  เมื่อจะ

เข้าไป  ไม่กระทบกระทั่งข้างปล่องเลย  เข้าไปอย่างง่ายดาย  ท่านจง

ทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนั้น  เป็นเพราะเหตุไร?  แล้วพึงบอกแก่

ข้าพเจ้า.  ลำดับนั้น  เนื้อตัวหนึ่งข้างหน้าเห็นนายคามณิจันท์นั้นจึงถาม

เหมือนอย่างนั้นแล้วกล่าวว่า  ข้าพเจ้าไม่อาจไปกินหญ้าในที่อื่นได้

สามารถกินอยู่ในที่โคนต้นไม้แห่งเดียวเท่านั้น  ท่านพึงทูลถามพระ-

ราชาว่า  ในเรื่องนั้น  เป็นเพราะเหตุไร?  ครั้นต่อมา  มีนกกระทา

ตัวหนึ่งข้างหน้า  เห็นนายคามณิจันท์นั้นแล้ว  จึงกล่าวว่า  ข้าพเจ้า

จับอยู่ที่จอมปลวกแห่งเดียวเท่านั้น  สามารถอยู่ได้อย่างสบายใจ  จับอยู่

ที่อื่น  ไม่สามารถจะอยู่ได้  ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนั้น

เป็นเพราะเหตุไร?  ลำดับนั้น  รุกขเทวดาตนหนึ่งข้างหน้า  เห็นนาย

คามณิจันท์นั้น  จึงถามว่า  ดูก่อนคามณิจันท์  ท่านจะไปไหน?  เมื่อ

เขาบอกว่า  จะไปเฝ้าพระราชา  จึงกล่าวว่า  เขาเล่าลือกันว่า  พระราชา

เป็นผู้ฉลาด  เมื่อก่อนเราได้สักการะ  มาบัดนี้  แม้มาตรว่าใบไม้อ่อนสัก

กำมือก็ยังไม่ได้  ท่านช่วยทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนั้น  เป็นเพราะ

เหตุไร?  ในกาลต่อจากนั้น  พระยานาคตัวหนึ่งเห็นนายคามณิจันท์

จึงถามเหมือนอย่างนั้น  แล้วกล่าวว่า  ได้ยินว่าพระราชาเป็นบัณฑิต

เมื่อก่อนน้ำในสระนี้ใส  มีสีเหมือนแก้วมณี  บัดนี้  ขุ่นมัว  มีแหน

ปกคลุม  ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนั้น  เป็นเพราะเหตุไร?

ที่นั้น  ดาบสทั้งหลายผู้อยู่ในอารามแห่งหนึ่ง  ในที่ใกล้พระนคร  เห็น

นายคามณิจันท์นั้น  จึงถามเหมือนอย่างนั้นแล้วกล่าวว่า  เขาว่าพระ-

ราชาเป็นบัณฑิต  เมื่อก่อนผลาผลทั้งหลายในอารามนี้  อร่อย  บัดนี้

เฝือนฝาด  ไม่อร่อย  ไม่เป็นรส  ท่านช่วยทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนี้

เป็นเพราะเหตุไร?  ข้างหน้าแต่นั้นไป  มีพราหมณ์มาณพอยู่ในศาลา

แห่งหนึ่ง  ในที่ใกล้ประตูพระนคร  เห็นนายคามณิจันท์นั้น  จึงกล่าวว่า

คามณิจันท์ผู้เจริญ  ท่านจะไปไหน  เมื่อเขากล่าวว่า  จะไปเฝ้าพระราชา

จึงพากันกล่าวว่า  ถ้าอย่างนั้น  ท่านช่วยถือเอาข่าวสาสน์ของพวกเรา

ไปด้วย  เพราะว่า  เมื่อก่อน  ที่ที่พวกเราร่ำเรียนเอาแล้ว  ย่อมปรากฎ

แต่มาบัดนี้  ไม่ทรงจำอยู่  เหมือนน้ำในหม้อทะลุ  ย่อมปรากฎเป็น

เหมือนความมืดมนอนธการ  ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า  ในเรื่องนี้

เป็นเพราะเหตุไร?  นายคามณิจันท์รับเอาข่าวสาสน์ทั้ง  ๑๐  ข้อนี้แล้ว

ได้ไปเฝ้าพระราชา.  พระราชาได้เสด็จประทับนั่ง    สถานที่ที่วินิจฉัย

อรรถคดี.

       เจ้าของโคได้พานายคามณิจันท์เข้าเฝ้าพระราชา.  พระราชา

พอทรงเห็นนายคามณิจันท์ก็จำได้  ทรงพระดำริว่า  นายคามณิจันท์

เป็นอุปัฏฐากแห่งพระชนกของเรา  พอยกเราขึ้นแล้วก็หลีกเลี่ยงไป

ตลอดเวลาประมาณเท่านี้  เขาอยู่ที่ไหนหนอ  จึงตรัสถาม  ท่านคามณิ-

จันท์ผู้เจริญ  ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้  ท่านอยู่ที่ไหน?  เป็นเวลา

นานแล้ว  ไม่ปรากฎ  ท่านมาด้วยต้องการอะไร.  นายคามณิจันท์

กราบทูลว่า  ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า  จำเดิมแต่พระชนกของพระ-

องค์เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว  ข้าพระองค์ไปอยู่ชนบทกระทำกสิกรรม

เลี้ยงชีพ  แต่นั้น  บุรุษผู้นี้ได้แสดงความอาญาเพราะเหตุเกี่ยวกับคดี

เรื่องโค  จึงคร่าตัวข้าพระองค์มาเฝ้าพระองค์พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัส

ว่า  ท่านไม่ถูกคร่าตัวมาก็คงไม่มา  เพราะเหตุนั้น  ความที่ท่านถูกคร่าตัว

มานั่นแหละเป็นความดีงาม  บัดนี้  เราจะเห็นบุรุษผู้นั้น  บุรุษผู้นั้น

อยู่ที่ไหน.  นายคามณิจันท์กราบทูลว่า  คนนี้พระเจ้าข้า.  พระราชา

ตรัสถามว่า  ผู้เจริญได้ยินว่า  ท่านฟ้องความอาญาแก่นายคามณิจันท์

ของเราจริงหรือ.  เจ้าของโคทูลว่า  จริงพระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสถาม

ว่าเพราะเหตุไร.  เจ้าของโคทูลว่า  เพราะนายคามณิจันท์นี้  ไม่คืน

โค    ตัวให้แก่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสว่า  เขาว่า

จริงหรือ  จันทะ?  นายคามณิจันท์ทูลว่า  ขอเดชะ  ถ้าอย่างนั้น

ขอพระองค์โปรดทรงสดับต่อข้าพระองค์เถิด  แล้วกราบทูลเรื่องราว

ทั้งปวงให้ทรงทราบ.  พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น  จึงตรัสถามเจ้าของ

โคว่า  ผู้เจริญเมื่อโคเข้าบ้านของท่าน  ท่านเห็นหรือเปล่า?  เจ้าของโค

ทูลว่า  ไม่เห็น  พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสว่า  ท่านไม่เคยได้ยินคน

เขาพูดถึงเราว่า  พระราชาพระนามว่าอาทาสมุข  บ้างหรือ  ท่านอย่า

หวาดระแวงเลย  จงบอกมาเถิด.  เจ้าของโคทูลว่า  ได้เห็นพระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า  คามณิจันท์ผู้เจริญ  เพราะท่านไม่มอบโคให้เจ้าของ

ค่าโคปรับเป็นสินไหมสำหรับท่าน  แต่บุรุษนี้ทั้งที่เห็น  พูดมุสาวาท

ทั้งรู้  ว่าไม่เห็น  เพราะฉะนั้น  ท่านนั่นแหละเป็นผู้ประกอบการควัก

นัยน์ตาทั้งสองข้างของบุรุษผู้นี้  และภรรยาของบุรุษผู้นี้ด้วย  ส่วน

ตนเองให้กหาปณะ  ๒๔  กหาปณะเป็นมูลค่าราคาโค.  เมื่อตรัสอย่างนี้

แล้ว  นักการก็พาตัวเจ้าของโคออกไปข้างนอก.  เจ้าของโคนั้นคิดว่า

เมื่อเขาควักลูกตาเสียแล้ว  เราจักเอากหาปณะไปทำอะไร  จึงหมอบ

ลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์แล้วกล่าวว่า  ท่านคามณิจันท์ผู้เป็น

นาย  กหาปณะที่เป็นมูลค่าค่าโคจงเป็นของท่านเถิด  และจงถือ

เอากหาปณะเหล่านี้ด้วย  แล้วให้กหาปณะทั้งหลาย  แม้อื่นๆ  แล้ว

หนีไป.

       ลำดับนั้น  บุรุษคนที่    ทูลว่า  ขอเดชะ  นายคามณิจันท์นี้

ประหารภรรยาของข้าพระองค์  ทำให้ครรภ์ตกไป.  พระราชาตรัส

ถามว่า  จริงหรือ  จันทะ?  นายคามณิจันท์ทูลว่า  ข้าแต่มหาราช

ขอพระองค์โปรดทรงสดับ  แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบโดย

พิสดาร.  ลำดับนั้น  พระราชาตรัสถามนายคามณิจันท์นั้นว่า  ก็ท่าน

ประหารภรรยาของบุรุษผู้นี้  ทำให้ครรภ์ตกไปหรือ?  นายคามณิจันท์

ทูลว่า  ขอเดชะ  ข้าพระองค์มิได้ทำให้ตกไปพระเจ้าข้า.  พระราชา

ตรัสถามบุรุษนั้นว่า  ผู้เจริญ  ความที่นายคามณิจันท์นี้ประหารแล้ว

ทำครรภ์ให้ตกไป  ท่านอาจให้เกิดมีขึ้นได้หรือไม่?  บุรุษนั้นทูลว่า

ไม่อาจ  พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสถามเขาว่า  บัดนี้  ท่านจะกระทำ

อย่างไร?  บุรุษนั้นทูลว่า  ข้าพระองค์ต้องการบุตรคืนมาพระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า  จันทะผู้เจริญ  ถ้าอย่างนั้น  ท่านเอาภรรยาของบุรุษ

ผู้นี้ไปไว้ในเรือนของท่าน  ในคราวที่นางคลอดบุตร  จงนำบุตรนั้น

มาให้บุรุษผู้นี้.  ฝ่ายบุรุษผู้นั้นจึงหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์

แล้วกล่าวว่า  นายท่านอย่าทำลายเรือนของเราเลย  ได้ให้กหาปณะ

แล้วหลีกหนีไป.

       ลำดับนั้น  บุรุษคนที่    มากราบทูลว่า  ขอเดชะ  นายคามณิ-

จันท์นี้ประหารทำเท้าม้าของข้าพระองค์หัก  พระเจ้าข้า.  พระราชา

ตรัสถามว่า  เขาว่า  จริงหรือ  จันทะ?  นายคามณิจันท์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชขอได้โปรดสดับ  แล้วกราบทูลประพฤติเหตุนั้นโดย

พิสดาร.  พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสถามคนเลี้ยงม้าว่า  เขาว่า

ท่านพูดว่า  จงขว้างม้าให้กลับ  จริงหรือ?  คนเลี้ยงม้านั้นทูลว่า  ขอ

เดชะ  ข้าพระองค์ไม่ได้พูด  พระเจ้าข้า. เขาถูกตรัสถามซ้ำจึงกราบทูล

ว่า  ข้าพระองค์พูดพระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสเรียกนายคามณิจันท์

มาตรัสว่า  จันทะผู้เจริญ  บุรุษผู้นี้  พูดแล้ว  กลับกล่าวมุสาวาทว่า

ไม่ได้พูด  ท่านจงตัดลิ้นของเขาแล้วเอาของที่มีของเราเป็นมูลค่าม้า

ให้ไปพันหนึ่ง.  คนเลี้ยงม้ากลับให้กหาปณะ  แม้อื่นอีกแล้วหลบหนีไป.

       ลำดับนั้น  บุตรช่างสานกราบทูลว่า  ขอเดชะ  นายคามณิ-

จันท์นี้  เป็นโจรฆ่าบิดาของข้าพระองค์  พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัส-

ถามว่า  เขาว่า  จริงหรือ  จันทะ?  นายคามณิจันท์กราบทูลว่า  ขอเดชะ

พระองค์โปรดทรงสดับ  แล้วกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบโดยพิสดาร.

พระราชารับสั่งให้เรียกช่างสานมาแล้วตรัสถามว่า  บัดนี้  ท่านจะกระทำ

อย่างไร?  ช่างสานทูลว่า  ขอเดชะ  ข้าพระองค์ขอบิดาของข้าพระองค์

คืนมา  พระเจ้าข้า.  พระราชาตรัสว่า  จันทะผู้เจริญ  การได้บิดาของ

ช่างสานนี้คืนมาจึงจะควร  ก็คนตายแล้วไม่อาจนำมาอีกได้  ท่านจง

นำมารดาของช่างสานคนนี้มาไว้ในเรือนท่านแล้ว  เป็นบิดาของช่าง-

สานนี้.  บุตรช่างสานกล่าวว่า  นาย  ท่านอย่าทำลายเรือนแห่งบิดา

ผู้ตายแล้วของข้าพเจ้าเลย  ได้ให้กหาปนะแก่นายคามณิจันท์แล้ว

หลบหนีไป

       นายคามณิจันท์ได้ประสบชัยชนะเฉพาะวันนี้  มีจิตยินดีกราบ

ทูลพระราชาว่า  ขอเดชะ  มีคนบางคนส่งสาสน์มาแก่พระองค์  ข้า

พระองค์ขอกราบทูลสาสน์นั้นแก่พระองค์.  พระราชาตรัสว่า  จงบอก

มาเถิด  จันทะ.  นายคามณิจันท์จึงกราบทูลทีละเรื่องๆ  โดยย้อนลำดับ

เริ่มสาสน์ของพวกพราหมณ์มาณพเป็นเรื่องต้น.  พระราชาได้ทรง

วิสัชนาไปโดยลำดับ.  ทรงวิสัชนาอย่างไร?  คือก่อนอื่น  ทรงสดับ

สาสน์ที่    ได้ตรัสว่า  เมื่อก่อน  ได้มีไก่ซึ่งขันเป็นเวลาอยู่ในที่เป็นที่

อยู่พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้น  เมื่อพราหมณ์มาณพเหล่านั้นลุกขึ้น

ตามเสียงไก่นั้น  แล้วเรียนมนต์ทำการสังวัธยายอยู่  จนอรุณขึ้นด้วย

เหตุนั้น  มนต์ที่พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้นเล่าเรียนมาเอาไว้ก็ไม่

เสื่อม  มาบัดนี้  มีไก่ซึ่งขันไม่เป็นเวลาอยู่ในที่อยู่ของพราหมณ์มาณพ

เหล่านั้น  ไก่ตัวนั้น  ขันดึกเกินไปบ้าง  จวนสว่างบ้าง  พวกพราหมณ์-

มาณพลุกขึ้นตามเสียงของไก่นั้นซึ่งขันดึกเกินไป  เล่าเรียนมนต์ก็ง่วง

นอน  กำลังทำการสังวัธยายก็หลับไปอีก  ครั้นลุกขึ้นตามเสียงของไก่

ซึ่งขันในเวลาจวนจะสว่าง  ก็สังวัธยายไม่ได้  ด้วยเหตุนั้น  มนต์ที่

พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้นเล่าเรียนไว้  จึงไม่ปรากฎ.

       แม้เรื่องที่    ครั้นได้ทรงสดับแล้ว  จึงตรัสว่า  เมื่อก่อน

ดาบสเหล่านั้นพากันกระทำสมณธรรม  ได้เป็นผู้ขวนขวายประกอบ

การบริกรรมกสิณ  มาบัดนี้  พากันละทิ้งสมณธรรมเสีย  ขวนขวาย

ประกอบในกิจที่ไม่ควรกระทำ  ให้ผลาผลที่เกิดขึ้นในอารามแก่พวก

อุปัฏฐาก  สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ  ด้วยการรับก้อนข้าวและ

ให้ก้อนข้าวตอบแทน  ด้วยเหตุนั้น  ผลาผลทั้งหลายของดาบสเหล่านั้น

จึงไม่อร่อย  ก็ถ้าดาบสเหล่านั้น  จักเป็นผู้ขวนขวายประกอบสมณ-

ธรรมอีก  เหมือนในกาลก่อน  ผลาผลทั้งหลายของดาบสเหล่านั้น  จัก

กลับมีรสอร่อยอีก  ดาบสเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่าราชตระกูลเป็นบัณฑิต

ท่านจงบอกให้ดาบสเหล่านั้นกระทำสมณธรรม.

       ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  พระยานาคเหล่านั้นกระทำ

การทะเลาะกันแลกันด้วยเหตุนั้น  น้ำนั้นจึงขุ่นมัว  ถ้าพระยานาค

เหล่านั้นจักสมัครสมานกันเหมือนเมื่อก่อน  จักกลับเป็นน้ำใสอีก.

       ครั้นทรงสดับเรื่องที่  ๔ จึงตรัสว่า  เมื่อก่อน  รุกขเทวดานั้น

รักษาพวกมนุษย์ผู้เดินทางไปในดง  เพราะฉะนั้น  จึงได้พลีกรรมมี

ประการต่างๆ  มาบัดนี้  ไม่กระทำการอารักขา  เพราะฉะนั้น  จึงไม่

ได้พลีกรรม  ถ้าจักกระทำการอารักขา  เหมือนในกาลก่อน  ก็จักเป็น

ผู้ได้ลาภอันเลิศอีก  เทวดานั้นไม่รู้ว่าพระราชาเป็นบัณฑิต  เพราะ

ฉะนั้น  ท่านจงบอกให้เทวดานั้นอารักขาพวกมนุษย์ผู้ขึ้นดงเถิด.

       ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  นกกระทานั้น  จับที่เชิงจอม-

ปลวกนั้น  จึงขันอย่างอิ่มเอิบใจ  ภายใต้จอมปลวกนั้น  มีหม้อขุมทรัพย์

ใหญ่  ท่านจงขุดจอมปลวกเอาขุมทรัพย์นั้นเถิด.

       ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  เนื้อตัวนั้นสามารถกิน

หญ้าที่โคนต้นไม้ใด  เบื้องบนต้นไม้นั้น  มีรวงผึ้งใหญ่  เนื้อตัวนั้นติด

หญ้าที่เปื้อนน้ำผึ้ง  จึงไม่อาจเคี้ยวกินหญ้าอื่น  ท่านจงนำรวงผึ้งนั้นไป

แล้วส่งรสหวานชั้นเลิศมาให้เรา  ที่เหลือจากนั้น  เอาไว้บริโภคใช้สอย

สำหรับตน.

       ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  ภายใต้จอมปลวกที่งูอยู่นั้น

มีขุมทรัพย์หม้อใหญ่  งูตัวนั้นรักษาขุมทรัพย์นั้นอยู่  ในเวลาจะออก

เพราะความโลภในทรัพย์  จึงทำสรีระให้หย่อน  ติดนั่นติดนี่ออกไป

ครั้นได้เหยื่อแล้ว  ไม่ติดขัดเลย  รีบเข้าไปโดยเร็ว  เพราะความเสน่หา

ในทรัพย์  ท่านจงขุดเอาขุมทรัพย์นั้นเถิด.

         ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  ในระหว่างบ้านเป็นที่

อยู่ของสามีและบิดามารดา  ของหญิงรุ่นสาวนั้น  มีชายชู้อยู่ในบ้าน

แห่งหนึ่ง  นางระลึกถึงชายชู้นั้น  เพราะความเสน่หาในชายชู้นั้น

จึงไม่อาจอยู่ในเรือนสามี  พูดว่า  ฉันจักไปเยี่ยมบิดามารดา  แล้วก็ไป

อยู่ในเรือนชายชู้  ๒-๓  วันแล้วจึงไปเรือนบิดามารดา  อยู่ที่เรือน

บิดามารดานั้น  ๒-๓  วันหวนระลึกถึงชายชู้ขึ้นมา  จึงพูดว่า  ฉันจักไป

เรือนสามี  ก็หวนไปเรือนของชายชู้นั่นแหละ  ท่านจงบอกหญิงคนนั้น

ว่า  พระราชกำหนดกฏหมายมีอยู่  แล้วจงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า  นัยว่า

นางจงอยู่เฉพาะในเรือนของสามีเท่านั้น  ถ้าพระราชารับสั่งให้จับท่าน

ชีวิตของท่านก็จะไม่มีอยู่  ควรกระทำความไม่ประมาท.

        ครั้นทรงสดับเรื่องที่    จึงตรัสว่า  เมื่อก่อน  หญิงคณิกาคนนั้น

รับเอาค่าจ้างจากมือของชายคนหนึ่งแล้ว  ก็อยู่ประจำกะชายคนนั้น

ไม่รับเอาจากมือของคนอื่นอีก  ด้วยเหตุนั้น  ในครั้งก่อน  ค่าจ้างจึง

เกิดขึ้นแก่หญิงคณิกาคนนั้นอย่างมากมาย  มาบัดนี้  หญิงคณิกา  นั้น

ละทิ้งธรรมดาของตนเสีย  ไม่ชำระค่าจ้างที่ตนรับจากมือของชายคน

หนึ่งให้เสร็จก่อน  ไปรับจากมือของชายอื่น  ไม่ให้โอกาสแก่ชายคน

แรก  กลับให้โอกาสแก่ชายคนหลัง  ด้วยเหตุนั้น  ค่าจ้างจึงไม่เกิดขึ้น

แก่หญิงคณิกานั้น  ใครๆ  จึงไม่ไปหาหญิงคณิกานั้น  ถ้าหากจักตั้ง

อยู่ในธรรมดาของตน  ค่าจ้างจักมีเช่นกับเมื่อก่อนทีเดียว  ท่านจงบอก

หญิงคณิกานั้นให้ตั้งอยู่ในธรรมของตน.

        ครั้นทรงสดับเรื่องที่  ๑๐  จึงตรัสว่า  นายบ้านส่วยคนนั้น

เมื่อก่อน  วินิจฉัยอรรถคดี  โดยธรรม   โดยสม่ำเสมอ  ด้วยเหตุนั้น

จึงเป็นที่รัก  เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย  และพวกคนที่รักใคร่ก็นำ

บรรณาการเป็นอันมากมาให้แก่เขา  ด้วยเหตุนั้น  เขาจึงเป็นผู้มีรูปงาม

มีทรัพย์มาก  สมบูรณ์ด้วยยศ  มาบัดนี้  เป็นผู้เห็นแก่สินบนวินิจฉัย

อรรถคดีโดยไม่เป็นธรรม  ด้วยเหตุนั้น  จึงเป็นคนกำพร้า  เข็ญใจ

ถูกโรคผอมเหลืองครอบงำ  ถ้าเขาจักวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรมเหมือน

เมื่อก่อน  เขาจักกลับเป็นเหมือนเมื่อก่อนอีก  เขาไม่รู้ว่ามีพระราชา

อยู่  ท่านจงบอกเขาให้วินิจฉัยอรรถคดี  โดยธรรมเถิด.  นายคามณิ-

จันท์ได้กราบทูลสาสน์มีประมาณเท่านี้ให้พระราชาทรงทราบด้วยประ-

การฉะนี้.  พระราชาก็ได้ทรงพยากรณ์ปัญหานั้นทั้งหมดด้วยปัญญาของ

พระองค์  ประดุจพระสัพพัญญูพุทธเจ้า  ให้พระราชทรัพย์มากมายแก่

นายคามณิจันท์  ทรงกระทำบ้านที่อยู่ของเขาให้เป็นพรหมไทย  พระ-

ราชทานเฉพาะเขาเท่านั้นแล้วส่งกลับไป.

       นายคามณิจันท์นั้นออกจากพระนคร  แล้วบอกข่าวสาสน์สิ้น

ที่พระโพธิสัตว์ประทานมา  แก่พราหมณ์มาณพ  ดาบส  พระยานาค

และรุกขเทวดา  เสร็จแล้วถือเอาขุมทรัพย์จากสถานที่พักนกกระทาจับ

แล้วไปเอารวงผึ้งจากต้นไม้ในสถานที่เนื้อกินหญ้า  ส่งน้ำผึ้งไปถวาย

พระราชาแล้วไปขุดจอมปลวกในสถานที่อยู่ของงู  เอาขุมทรัพย์มาแล้ว

บอกข่าวสาสน์ตามทำนองที่พระราชาตรัสนั่นแหละ  แก่หญิงสาวรุ่น

หญิงคณิกาและนายบ้าน  เสร็จแล้วไปยังบ้านของตนด้วยยศอันยิ่งใหญ่

ดำรงอยู่ชั่วอายุก็ได้ไปตามยถากรรม.  ฝ่ายพระเจ้าอาทาสมุขทรง

บำเพ็ญบุญทั้งหลาย  มีทานเป็นต้น  ในเวลาสิ้นพระชนมายุ  ทรง

บำเพ็ญทางสวรรค์ให้เต็ม  แล้วเสด็จไป.

       พระศาสดาตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตมีปัญญามาก  ใน

บัดนี้เท่านั้นก็หามิได้  แม้ในกาลก่อนก็มีปัญญามากเหมือนกัน  ครั้น

ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประกาศสัจจะประชุมชาดก.

ในเวลาจบสัจจะ  ชนเป็นอันมาก  ได้เป็นพระโสดาบัน  พระสกทาคามี

พระอนาคามี  และพระอรหันต์.  นายคามณิจันท์ในกาลนั้นได้เป็น

พระอานนท์  ในบัดนี้  ส่วนพระเจ้าอาทาสมุขในกาลนั้น  คือเรา

ตถาคต  ฉะนี้แล.

                     จบ    อรรถกถาคามณิจันทชาดกที่