อรรถกถาสัพพทาฐชาดกที่ 

          พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเวฬุวันมหาวิหาร  ทรง

ปรารภพระเทวทัต  ตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

สิคาโล  มานถทฺโธ จ ดังนี้.

          พระเทวทัตยังพระเจ้าอชาตศัตรูให้เลื่อมใสแล้ว  ก็ไม่

สามารถจะทำลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ได้นาน.  ลาภ

สักการะของพระเทวทัตได้หมดสิ้นไปตั้งแต่ครั้งที่ได้เห็นปาฏิหาริย์

กันในการปล่อยช้างนาฬาคิรีแล้ว.  อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลาย

ประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า  อาวุโสทั้งหลาย  พระเทวทัต

ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว   ก็มิได้อาจจะให้ดำรงอยู่ได้นาน.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้พวก

เธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เทวทัตมิใช่ทำลาภ

สักการะที่เกิดแก่ตนให้หมดสิ้นไปในบัดนี้เท่านั้น  แม้ในกาลก่อน

ก็ได้หมดสิ้นไปแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

          ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระองค์  เป็นผู้

จบไตรเพทและศิลปศาสตร์  ๑๘  ประการ.  รอบรู้ปฐวีวิชัยมนต์.

ที่เรียกว่า  ปฐวีวิชัยมนต์นั้น  คือมนต์กลับใจให้หลง. อยู่มาวันหนึ่ง

พระโพธิสัตว์คิดว่าจักสาธยายมนต์นั้น  จึงนั่งทำการสาธยาย

มนต์บนหินดาดที่เนินผาแห่งหนึ่ง.  นัยว่ามนต์นั้นผู้มีใจวอกแวก

ความทรงจำไม่ดี  ไม่สามารถจะให้สำเร็จได้.  เพราะฉะนั้นปุโรหิต

นั้นจึงสาธยายในที่เช่นนั้น.  ในเวลาที่ท่านปุโรหิตทำการสาธยาย

มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงแห่งหนึ่ง  ได้ยินมนต์นั้น

เหมือนกัน  ได้ท่องจำจนแคล่วคล่อง.  นัยว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนั้น

ในอัตภาพอดีตถัดไป  ได้เป็นพราหมณ์ผู้หนึ่ง  ซึ่งแสดงแคล่วคล่อง

ปฐวีวิชัยมนต์.  พระโพธิสัตว์ทำการสาธยายแล้วลุกไป  กล่าวว่า

มนต์ของเรานี้แคล่วคล่องหนอ.  สุนัขจิ้งจอกออกจากโพรงกล่าว

ว่า  ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ  มนต์นี้แคล่วคล่องแก่ข้าพเจ้ายิ่งกว่า

ท่านเสียอีก  แล้ววิ่งหนีไป.  พระโพธิสัตว์คิดว่า  สุนัขจิ้งจอกนี้

จักทำอกุศลใหญ่หลวง  จึงติดตามไปได้หน่อยหนึ่ง.  สุนัขจิ้งจอก

ได้หนีเข้าป่าไป.  สุนัขจิ้งจอกไปงับนางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง  เมื่อ

นางสุนัขจิ้งจอกถามว่า  อะไรกันนี่  กล่าวว่า  เจ้ารู้จักเราหรือไม่

รู้จัก.    นางสุนัขจิ้งจอกตอบว่า    รู้จักซิ.    สุนัขจิ้งจอกนั้นร่าย

ปฐวีวิชัยมนต์บังคับสุนัขจิ้งจอกเป็นร้อย    ไว้ในอำนาจ  กระทำ

สัตว์    เท้า  มีช้าง  ม้า  สิงห์  เสือ  กระต่าย  สุกรและเนื้อ

เป็นต้น  ทั้งหมดไว้ในสำนักของตนและแล้วได้เป็นพญาสัตว์  ชื่อว่า

สัพพทาฐะ.  นางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเป็นอัครมเหสี.  ราชสีห์

ยืนอยู่บนหลังช้างสองเชือก.  พญาสุนัขจิ้งจอกนั่งบนหลังราชสีห์

กับนางสุนัขจิ้งจอกผู้เป็นอัครมเหสี  นับเป็นยศอันยิ่งใหญ่.

พญาสุนัขจิ้งจอกเมาด้วยยศมหันต์  เกิดความมานะคิดชิงราช-

สมบัติกรุงพาราณสี  แวดล้อมด้วยสัตว์จตุบาททั้งปวง  บรรลุ

ถึงที่ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี.  มีบริษัทบริวารได้  ๑๒  โยชน์.

พญาสุนัขจิ้งจอกตั้งอยู่ไม่ไกลนัก  ส่งสาสน์ไปถึงพระราชาว่า

จงมอบราชสมบัติให้หรือจงรบ.  ชาวกรุงพาราณสีต่างพากัน

สะดุ้งหวาดกลัว  ปิดประตูพระนครตั้งมั่นอยู่.  พระโพธิสัตว์

เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า  ข้าแต่มหาราช  ขอพระองค์อย่า

กลัวเลย  การต่อสู้ด้วยการรบกับสุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะ  เป็น

ภาระของข้าพระองค์เอง  เว้นข้าพระองค์เสีย  ไม่มีผู้อื่นสามารถ

รบกับมันได้  ปลอบใจพระราชากับประชาชนแล้ว  คิดว่า  สัพพ-

ทาฐะจะทำอย่างไรจึงจะยึดราชสมบัติ  เราจักถามมันดูก่อน

จึงขึ้นป้อมที่ประตูเมืองถามว่า  ดูก่อนสัพพทาฐะผู้สหาย  ท่าน

จักทำประการใดจึงจะชิงเอาราชสมบัตินี้ได้.  สัพพทาฐะตอบว่า

เราจะให้ราชสีห์เปล่งสีหนาททำให้มหาชนสะดุ้งตกใจกลัวเสียง

แล้วจักยึดเอาราชสมบัติ.  พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่า  มีอุบายแก้  จึงลง

จากป้อมให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า  ชาวกรุงพาราณสีทั้งหมด

๑๒  โยชน์  จงเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูเสีย.  มหาชนฟังเสียง

ป่าวร้องพากันเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูของตน  และของสัตว์

  เท้าทั้งหมด  จนกระทั่งแมวไม่ให้ได้ยินเสียงของผู้อื่น.  ครั้งนั้น

พระโพธิสัตว์ขึ้นสู่ป้อมร้องเรียกอีกว่า  ดูก่อนสัพพทาฐะ  พญา-

สุนัขจิ้งจอกถามว่า  อะไรเล่าพราหมณ์.  กล่าวว่า ท่านจักทำ

อย่างไรอีกจึงจะชิงเอาราชสมบัตินี้ได้.  ตอบว่าข้าพเจ้าจะให้

ราชสีห์เปล่งสีหนาทให้พวกมนุษย์ตกใจกลัว  ให้ถึงแก่ความตาย

แล้วจึงจะยึดเอาราชสมบัติ.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  ท่านไม่อาจ

ให้ราชสีห์เปล่งสีหนาทได้  เพราะพญาไกรสรสีหราชมีเท้าหน้า

เท้าหลังแดงงาม  สมบูรณ์ด้วยชาติ  จักไม่ทำตามคำสั่งของ

สุนัขจิ้งจอกแก่เช่นท่าน.  สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ดื้อด้านอวดดี

กล่าวว่า  ราชสีห์ทั้งหลาย  ตัวอื่นจงยืนเฉย  เรานั่งอยู่บนหลัง

ตัวใด  จักให้ตัวนั้นแหละแผดเสียง.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  ถ้า

เช่นนั้น  จงให้แผดเสียงเถิด  ถ้าท่านสามารถ.  พญาสุนัขจิ้งจอก

จึงให้สัญญาณด้วยเท้าแก่ราชสีห์ตัวที่ตนนั่งอยู่บนหลังว่า  จง

แผดเสียง.  ราชสีห์นั้นจึงเม้มปากเปล่งสีหนาทบนกะพองเศียร

ช้าง    ครั้ง  อย่างไม่เคยเปล่งมาเลย.  ช้างทั้งหลายต่างสะดุ้ง

ตกใจ  สลัดสุนัขจิ้งจอกให้ตกไปที่โคนเท้า  เอาเท้าเหยียบหัว

สุนัขจิ้งจอกนั้นแหลกละเอียดไป.  สุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะถึงแก่

ความตาย    ที่นั้นเอง.  ช้างเหล่านั้นได้ยินเสียงราชสีห์แล้ว  ก็

กลัวภัย  คือความตายต่างก็สับสนชุลมุนวุ่นวายแทงกันตาย    ที่นั้นเอง.

สัตว์    เท้าทั้งหมด  แม้ที่เหลือมีเนื้อและสุกรเป็นต้น  มีกระต่าย

และแมวเป็นที่สุด  ยกเว้นราชสีห์ทั้งหลายเสีย  ได้ถึงแก่ความตาย

  ที่นั้นเอง.  ราชสีห์ทั้งหลายก็หนีเข้าป่าไป.  กองเนื้อสัตว์

เกลื่อนไปทั้ง  ๑๒  โยชน์.  พระโพธิสัตว์ลงจากป้อมแล้ว  ให้เปิด

ประตูพระนคร  ให้ตีกลองเที่ยวประกาศไปในพระนครว่า  ชาว

เมืองทั้งหมดจงเอาแป้งที่หูของตนออก  มีความต้องการเนื้อก็จง

ไปเก็บเอามา.  มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคเนื้อสด  ที่เหลือก็ตาก

แห้งทำเป็นเนื้อแผ่นไว้.  กล่าวกันว่า  นัยว่าการทำเนื้อแผ่นตากแห้ง

เกิดขึ้นในครั้งนั้นเอง.

          พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ตรัสอภิ-

สัมพุทธคาถาเหล่านี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า  :-

                             สุนัขจิ้งจอกกระด้างด้วยมานะ  มีความ

                   ต้องการด้วยบริวาร  ได้บรรลุถึงสมบัติใหญ่  ได้

                   เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งปวง  ฉันใด  ใน

                   หมู่มนุษย์ผู้ใดมีบริวารมาก  ผู้นั้นชื่อว่าเป็นใหญ่

                   ในบริวารเหล่านั้น   ดุจสุนัขจิ้งจอกได้เป็นใหญ่

                   กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาฉะนั้น.

          ในบทเหล่านั้น  บทว่า  มานถทฺโธ  ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก

กระด้างด้วยมานะเกิดขึ้นเพราะอาศัยบริวาร.  บทว่า ปริวาเรน

ิอตฺถิโก  คือ  มีความต้องการด้วยบริวารให้ยิ่งขึ้นไป.  บทว่า

มหตึ  ภูมึ  ได้แก่  สมบัติใหญ่.  บทว่า  ราชาสิ  สพฺพทาฐินํ  คือ

ได้เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งหมด.  บทว่า  โส  ฯเปฯ  โหติ

ความว่า  บุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยบริวารนั้น  ชื่อว่าเป็นใหญ่ใน

บริวารเหล่านั้น.  บทว่า  สิคาโล  วิย  ทาฐินํ  ได้แก่  ได้เป็นใหญ่

เหมือนสุนัขจิ้งจอกได้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาฉะนั้น.  ทีนั้น

เขาถึงความประมาท  ก็ย่อมถึงความพินาศ  เพราะอาศัยบริวาร

นั้น  ดุจสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น.

          สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้  พระราชา

ได้เป็นสาริบุตร  ส่วนปุโรหิต  คือเราตถาคตนี้แล.

                             จบ  อรรถกถาสัพพทาฐชาดกที่