พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันมหาวิหาร  ทรง

ปรารภกุฎุมพีคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

อิงฺฆ  เอกํ  ปทํ  ตาต  ดังนี้.

          ได้ยินว่า  กุฎุมพีผู้หนึ่งชาวกรุงสาวัตถี.  อยู่มาวันหนึ่ง

บุตรของเขานั่งอยู่บนตัก  ได้ถามปัญหาชื่อว่า  อัตถทวาร  คือ

ปัญหากล่าวถึงประตูไปสู่ประโยชน์.  เขาคิดว่าปัญหานี้เป็น

ุพุทธวิสัย  คนอื่นจักไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้  จึงพาบุตรไปสู่

เชตวันมหาวิหาร  ถวายบังคมพระศาสดา  กราบทูลว่า  ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ   ทารกนี้นั่งอยู่บนตักของข้าพระองค์  ได้ถาม

ปัญหาชื่อ  อัตถทวาร  ข้าพระองค์ไม่ทราบปัญหานั้นจึงมา    ที่นี้

ข้าแต่พระองค์ขอพระองค์ตรัสบอกปัญหานี้เถิด.  พระศาสดา

ตรัสว่า  ดูก่อนอุบาสก  ทารกนี้เป็นผู้แสวงประโยชน์ในบัดนี้

เท่านั้นก็หามิได้  แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้แสวงหาประโยชน์  ได้ถาม

ปัญหานี้กะบัณฑิต.  แม้โบราณกบัณฑิตก็ได้บอกแก่ทารกนั้น

แล้ว  แต่เขากำหนดไว้ไม่ได้   เพราะไปสู่ภพขีดขั้นไว้  ทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

          ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี  พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี.  ครั้งนั้น

กุมารน้อยผู้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์ถามขึ้นว่า  ข้าแต่พ่อ

ขอพ่อจงบอกบทบทหนึ่งอันเป็นทางให้ถึงประโยชน์ไม่ใช่น้อย

เพียงเหตุเดียวเท่านั้นแก่ลูก  ได้กล่าวคาถาแรกว่า  :-

                             คุณพ่อครับ  เหตุอย่างเดียวทำให้ได้

                   ประโยชน์หลายอย่างมีอยู่หรือไม่  ลูกจะพึงทำ

                   ประโยชน์ให้สำเร็จด้วยเหตุใด  ขอคุณพ่อจงบอก

                   เหตุนั้น  ซึ่งรวมประโยชน์ได้หลายอย่างแก่ผม

                   เถิด.

          ลำดับนั้น  บิดาเมื่อจะบอกแก่กุมารน้อยนั้นได้กล่าว

คาถาที่    ว่า  :-

                             ลูกเอ๋ย  เหตุอย่างหนึ่งคือความขยันหมั่น

                   เพียร  ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง  เพราะความ

                   ขยันหมั่นเพียรนั้น  ประกอบด้วยศีล  ประกอบ

                   ด้วยขันติ  อาจทำมิตรทั้งหลายให้ถึงความสุข

                   หรืออาจทำศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้.

          อธิบายความ  บทบทหนึ่ง  คือความขยันได้แก่  ความเพียร

อันประกอบด้วยญาณบุคคลผู้เฉลียวฉลาด  ผู้ยังลาภให้เกิด

ประกอบด้วยบทมีประโยชน์มิใช่น้อย  มีศีลเป็นต้น.  ก็ความ

เพียรนี้นั้นประกอบด้วยอาจาระและศีล  พรั่งพร้อมด้วยอธิวาสน-

ขันติ  อาจสามารถจะยังมิตรทั้งหลายให้เป็นสุขได้  ให้เกิดความ

ทุกข์แก่อมิตรทั้งหลายได้.  ก็ใครเล่าผู้ประกอบด้วยกุศล  วิริยะ

พรั่งพร้อมด้วยญาณอันจะยังลาภให้บังเกิด  ถึงพร้อมด้วยอาจาร-

ขันติ  จะไม่สามารถยังมิตรให้เป็นสุข  หรือยังอมิตรให้เป็นทุกข์

ได้.

          พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาแก่บุตรฉะนี้.  บุตรนั้นได้ยัง

ประโยชน์ของตนให้สำเร็จตามนัยที่บิดาบอก  ดำรงชีพไปตาม

ยถากรรมแล้ว.

          พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประกาศ

สัจจธรรม  ทรงประชุมชาดก.  ครั้นจบสัจจธรรม  บิดาและบุตร

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล  บุตรในครั้งนั้นได้มาเป็นบุตรคนนี้

นี่แหละ  ส่วนเศรษฐีกรุงพาราณสี  คือเราตถาคตนี้แล.

                             จบ อรรถกถาเอกปทชาดกที่