พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันมหาวิหาร  ทรง

 ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง  ตรัสธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

 ภทฺทโก  วตายํ  ปกฺขี  ดังนี้.

          ความย่อมีอยู่ว่า  พระศาสดาทรงเห็นภิกษุโกหกรูปหนึ่ง

ซึ่งถูกนำตัวมาเฝ้า  ตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุรูปนี้มิใช่

โกหกในบัดนี้เท่านั้น  แม้เมื่อก่อนก็โกหก  แล้วทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

          ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี  พระโพธิสัตว์เป็นปลามีบริวารมากอาศัยอยู่ใน

สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ.  ครั้งนั้นมีนกยางตัวหนึ่ง  คิดว่า

จักกินปลา  จึงยืนก้มหัวกางปีกทำเซื่อง    มองดูปลาในที่ใกล้

สระ  คอยดูปลาเหล่านั้นเผลอ.  ขณะนั้นพระโพธิสัตว์แวดล้อม

ด้วยฝูงปลาเที่ยวหาเหยื่อกินไปถึงที่นั้น.  ฝูงปลาเห็นนกยางนั้น

จึงกล่าวคาถาแรกว่า  :-

                             นกมีปีกตัวนี้ดีจริงหุบปีกทั้งสองไว้  ง่วง

                   เหงาซบเซาอยู่.

          ในบทเหล่านั้น  บทว่า  มนฺทมนฺโท    ฌายติ  ได้แก่  นกยาง

ซบเซาอยู่ตัวเดียว  เหมือนจะหมดแรง  ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไร

ทั้งนั้น. 

          ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้น  กล่าวคาถาที่    ว่า :-

                             เจ้าทั้งหลาย  ไม่รู้จักกิริยาของมัน  พวกเจ้า

                   ไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ  นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง

                   รักษาพวกเราดอก  เพราะเหตุนั้นนกตัวนี้จึงไม่

                   เคลื่อนไหวเลย.

          ในบทเหล่านั้น  บทว่า  อนญฺญาย  แปลว่าไม่รู้.  บทว่า

อเมฺห  ทิโช    ปาเลติ  ความว่า  นกนี้ไม่รักษา  ไม่คุ้มครองพวก

เรา  ครุ่นคิดอยู่แต่ว่าในปลาเหล่านี้  เราจะจิกตัวไหนกิน.  บทว่า

เตน  ปกฺขี    ผนฺทติ  ด้วยเหตุนั้น  นกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.

          เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้  ฝูงปลาก็พ่นน้ำให้นกยาง

หนีไป.

          พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประชุม

ชาดก.  นกยางในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุโกหกในครั้งนี้  ส่วนพญาปลา

คือ  เราตถาคตนี้แล.

                             จบ  อรรถกถาพกชาดกที่