พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันมหาวิหาร  ทรง

ปรารภพระเจ้าโกศล  ตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

กาเล  นิกฺขมนา  สาธุ  ดังนี้.

          พระเจ้าโกศลเสด็จออกในเวลาไม่สมควร   เพื่อปราบปราม

ชายแดน.  เรื่องนี้มีนัยดังที่กล่าวแล้วในหนหลังทั้งนั้น.  ส่วน

พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า.

          ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพาราณสีเสด็จกรีฑาทัพออกใน

เวลาไม่สมควร  ทรงยับยั้งกองทัพอยู่ที่อุทยาน.  ในกาลนั้นมี

นกเค้าตัวหนึ่งเข้าไปซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ไผ่.  ฝูงกาต่างมาล้อมไว้

ด้วยคิดว่า  จักจับนกเค้าตอนออก.  นกเค้าไม่คอยรอจนถึงพระ-

อาทิตย์ตก  จึงออกในกาลไม่สมควร  พอขยับจะบินหนี.  ทีนั้น

กาทั้งหลายจึงรุมกันจิกตีจนล่วงลง.  พระราชาตรัสเรียกพระ-

โพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า  ดูก่อนท่านบัณฑิต  พวกกาเหล่านี้จิกตี

นกเค้าตกลงด้วยเหตุใดหนอ.  พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า  ข้าแต่

มหาราชเจ้า  นกเค้าออกจากที่อยู่ของตนในกาลไม่สมควร  จึง

ได้รับความทุกข์เห็นปานนี้  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรออกจากที่อยู่

ของตนในกาลไม่สมควร.  เมื่อจะประกาศข้อความนี้  จึงกล่าว

คาถาทั้งสองนี้ว่า  :-

                             การออกไปในเวลาอันสมควรเป็นความ

                   ดี  การออกไปในเวลาอันไม่สมควรไม่ดี  เพราะ

                   ว่าผู้ออกไปในเวลาไม่สมควร  ย่อมไม่ยังประ-

                   โยชน์อะไรให้เกิดได้  คนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก

                   ย่อมทำอันตรายคนผู้ออกไปแต่ผู้เดียว  ในเวลา

                   อันไม่สมควรได้เหมือนฝูงการุมจิกนกเค้าฉะนั้น.

                             นักปราชญ์รู้จักวิธีการต่าง     เข้าใจช่อง

                   ทางของคนเหล่าอื่น  ทำพวกศัตรูทั้งมวลให้อยู่ใน

                   อำนาจได้แล้ว  พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้าผู้ฉลาด

                   ฉะนั้น.

          ในบทเหล่านั้น  บทว่า  กาเล  นิกฺขมนา  สาธุ  ความว่า  การ

ออกไปก็ดี  การก้าวไปก็ดี  ชื่อว่าการออกไป  การออกไปในกาล

อันสมควรเป็นการดี  การออกไปในกาลอันไม่สมควร  ไม่ดี

เพราะฉะนั้น  การออกไปก็ดี  การก้าวไปก็ดี  เพื่อจะไปในที่อื่น

จากที่อยู่ของตน  ไม่ดี.  ในบทสี่บทมีอาทิว่า  อกาเลหิ  พึงประกอบ

บทที่สามด้วยบทที่หนึ่ง  บทที่สี่ด้วยบทที่สอง  แล้วพึงทราบความ

อย่างนี้.  ที่นั้นแลชนเป็นอันมาก  คือคนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก

ล้อมคน    เดียวผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควร   ยัง

คน    เดียวให้ถึงความพินาศ.  เปรียบเหมือนฝูงกาจิกนกเค้า

ผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควรให้ถึงมหาพินาศ  ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น  ให้ดูสัตว์เดียรฉานเป็นต้น  ใคร    ไม่ควรออกไป

ไม่ควรก้าวไปจากที่อยู่ของตนในเวลาอันไม่สมควร.  บทว่า

ธีโร  ในคาถาที่สองได้แก่  บัณฑิต.  บทว่า  วิธิ  ได้แก่ประเพณีที่

บัณฑิตแต่ก่อนได้วางไว้.  บทว่า  วิธานํ  ได้แก่  ส่วนหรือการจัด.

บทว่า  วิวรานุคู  ได้แก่  เดินตาม  คือรู้.  บทว่า  สพฺพามิตฺเต  ได้แก่

ศัตรูทั้งหมด.  บทว่า  วสีกตฺวา  ได้แก่  ทำไว้ในอำนาจของตน.

บทว่า  โกสิโยว  คือ  เหมือนนกเค้าผู้ฉลาดอื่นจากนกเค้าโง่นี้.

ท่านอธิบายไว้ว่า  ก็ผู้ใดแลเป็นบัณฑิตย่อมรู้วิธีการอันเป็นส่วน

ของวิธี  กล่าวคือประเพณีที่โบราณกบัณฑิตวางไว้ว่า  ในกาลนี้

ควรออกไป  ควรก้าวไป  ในกาลนี้  ไม่ควรออกไป  ไม่ควรก้าวไป

หรือ  การจัดแจงวิธีนั้น.  ผู้นั้นชื่อว่า  รู้จักวิธีการต่าง     รู้ช่อง

ทางของคนอื่น  คือ  ศัตรูของตน  เหมือนนกเค้าผู้ฉลาด  ออกและ

ก้าวไปโดยกาลอันสมควรของตน  คือตอนกลางคืน  จิกหัวกาซึ่ง

นอนอยู่    ที่นั้น    ทำกาเหล่านั้นทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจของตน

พึงอยู่เป็นสุข  ฉันใด  แม้บัณฑิตออกไป  ก้าวไป  ในกาลอันสมควร

ก็ฉันนั้น  กระทำศัตรูของตนให้อยู่ในอำนาจ  พึงมีความสุข  ไม่มี

ทุกข์  ฉะนั้น.

          พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับ

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประชุมชาดก.

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้  ส่วนอำมาตย์บัณฑิต

คือ  เราตถาคตนี้แล.

                             จบ  อรรถกถาโกสิยชาดกที่