พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันมหาวิหาร  ทรง

ปรารภภิกษุกระสันเพราะเบื่อหน่าย  รูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า  หิรญฺญํ  เม  สุวณฺณํ  เม  ดังนี้.

      เรื่องย่อมีว่า  ภิกษุนั้นไม่มีอารมณ์ยึดแน่วแน่เลย.  ภิกษุ

ทั้งหลายนำภิกษุผู้เบื่อหน่ายนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา.  พระ-

ศาสดาตรัสถามว่า  ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ  กราบทูลว่า

จริงพระเจ้าข้า  ตรัสถามว่า  เพราะเหตุไร   กราบทูลว่า  เพราะ

อำนาจกิเลสพระเจ้าข้า.  ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสว่า  ดูก่อน

ภิกษุ  ธรรมดากิเลสแม้สัตว์เดียรฉานทั้งหลายในกาลก่อนก็

ติเตียน  เธอบวชแล้วในพระศาสนาเช่นนี้  เหตุไฉนจึงกระสันด้วย

อำนาจกิเลสที่แม้สัตว์เดียรฉานก็ติเตียน  ทรงนำอดีตมาตรัสเล่า.

      ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี  พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร  ในหิมวันต-

ประเทศ.  ชาวป่าผู้หนึ่งจับวานรนั้นมาถวายพระราชา.  วานร

นั้นเมื่อได้อยู่ในพระราชวังเป็นเวลานาน  ได้กลายเป็นสัตว์

เรียบร้อย.  รู้กิริยาที่ประพฤติกันในหมู่มนุษย์เป็นอันมาก.

พระราชาทรงเลื่อมใสในจริยาวัตรของวานรนั้น    รับสั่ง

หาพรานป่ามาตรัสว่า  จงปล่อยวานรเสียในที่ที่จับได้.  พราน

ได้ทำตามรับสั่ง.  ฝูงวานรรู้ว่าพระโพธิสัตว์มา  เมื่อเห็นพระ-

โพธิสัตว์นั้นจึงประชุมกันที่หลังแผ่นหินใหญ่ก้อนหนึ่ง  ต่างชื่นชม

กับพระโพธิสัตว์แล้วถามว่า  สหายท่านอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน.

ตอบว่า  เราอยู่ในพระราชนิเวศน์ในกรุงพาราณสี.

      ถามว่า  ถ้าเช่นนั้น  ท่านพ้นมาได้อย่างไร.   พระราชา

ทำเราให้เป็นลิงสำหรับล้อเล่น  แล้วทรงเลื่อมใสในวัตรของเรา

จึงทรงปล่อยเรา.  ลำดับนั้น  วานรทั้งหลายพูดกะพระโพธิสัตว์ว่า

ท่านรู้กิริยาที่ประพฤติกับมนุษยโลก  ขอท่านจงบอกแก่พวกเรา

ก่อน  พวกเราประสงค์จะฟัง.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  เธออย่าถาม

กิริยาของมนุษย์กะเราเลย.  พวกวานรกล่าวว่า  บอกเถิดท่าน

พวกเราอยากฟัง.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เป็น

กษัตริย์ก็ตาม  เป็นพราหมณ์ก็ตาม  ล้วนกล่าวว่าของเรา  ของเรา

ย่อมไม่รู้ถึงความไม่เที่ยง  ความไม่มีอยู่  บัดนี้พวกเธอจงฟัง

การกระทำของคนอันธพาลเหล่านั้น.  แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า  :-

                  คนทั้งหลายผู้มีปัญญาเขลา  ไม่เห็นอริย-

            ธรรม  พูดกันแต่ว่า  เงินของเรา  ทองของเรา  ดังนี้

            ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

                  ในเรือนหลังหนึ่ง  มีเจ้าเรือนอยู่สองคน

            ในสองคนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด  แต่มีนมห้อย

            ยาน  เกล้าผมมวย  และเจาะหูเขาซื้อมาด้วยทรัพย์

            มาก  เจ้าของเรือนผู้นั้นย่อมกล่าวเสียดแทงคน

            ในเรือนนั้น  ตั้งแต่แรกมาอยู่.

      ในบทเหล่านั้น  บทว่า  หิรญฺญํ  เม  สุวณฺณํ  เม  นี้เป็นเพียง

หัวข้อเทศนา.  ด้วยบททั้งสองนี้กินความรวมรัตนะทั้งสิบประการ

บุพพัณณชาติ  อปรัณณชาติ  ไร่นา  เรือกสวนและสัตว์    เท้า

  เท้า  ทุกอย่าง  แล้วกล่าวว่านี่ของเรา  นี้ของเรา.  บทว่า

เอสา  รตฺติทิวา  กตา  ความว่า  พวกมนุษย์พูดกันเป็นนิจทั้งกลางวัน

และกลางคืน  มิได้รู้อย่างอื่นว่า  เบญจขันธ์ไม่เที่ยงหรือเป็น

แล้วหาเป็นไม่  เที่ยวเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้แล.  บทว่า  ทุมฺเมธานํ

คือ  มีปัญญาทราม.  บทว่า  อริยธมฺมํ  อปสฺสตํ  ความว่า  ไม่เห็น

ธรรมของพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  หรือโลกุตตรธรรม

  อันประเสริฐไม่มีโทษ  เขาไม่มีการพูดอย่างอื่นว่า   ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์.  บทว่า คหปตโย  ได้แก่  ผู้เป็นใหญ่ในเรือน.  บทว่า

เอโก  ตตฺถ  ได้แก่  ในเจ้าของเรือนสองคนนั้น  ท่านกล่าวหมาย

ถึง  มาตุคามคนเดียว.  บทว่า เวณิกโต  คือ  เกล้ามวยผม  อธิบาย

ว่า  มีทรงผมต่าง  ๆ.  บทว่า  อโถ  องฺกิตกณฺณโก  ได้แก่  เจาะหู

คือหูมีรูเจาะ  ท่านกล่าวหมายถึงมีหูห้อย.  บทว่า  กีโต  ธเนน

พหุนา  ความว่า  คนที่ไม่มีหนวดมีนมยาน  เกล้ามวยผม  เจาะหู

เขาให้ทรัพย์มากแก่มารดาบิดา  แล้วไถ่มาประดับตกแต่งยก

ขึ้นสู่ยานพาไปเรือนพร้อมด้วยบริวารใหญ่.  บทว่า  โส  ตํ  วิตุทเต

ชนํ  ความว่า  เจ้าบ้านคนนั้น  ตั้งแต่มาก็ใช้หอก  คือปากทิ่มแทง

คนในเรือนมีทาสและกรรมกรเป็นต้น  ที่เรือนนั้นว่า  เจ้าทาส

ใจร้าย  แม่ทาสีใจร้าย  เจ้าทำสิ่งนี้ไม่ทำสิ่งนี้  เจ้าตรวจตราผู้คน

ทำเหมือนอย่างนาย.  วานรพระโพธิสัตว์ติเตียนชาวมนุษย์ว่า

ชาวมนุษย์ไม่สมควรอย่างยิ่งด้วยประการฉะนี้.

      วานรทั้งหมดได้ฟังดังนั้น  เอามือทั้งสองปิดหูจนแน่น

กล่าวว่า  ท่านอย่าพูดเลย  พวกเราฟังสิ่งไม่ควรฟัง.  ติเตียนที่

นั้นว่า  พวกเราฟังสิ่งที่ไม่ควรฟังในที่นี้แล้วพากันไปในที่อื่น.

นัยว่าหินดาดนั้น  ได้ชื่อว่า  ครหิตปิฏฐิปาสาณะ  (หินดาดที่ถูก

ติเตียน)

      พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประกาศ

สัจธรรม  ทรงประชุมชาดก.  เมื่อจบสัจธรรม  ภิกษุนั้นตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล.  ฝูงวานรในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้

ส่วนพญาวานร  คือเราตถาคตนี้แล.

                  จบ  อรรถกถาครหิตชาดกที่