อนุรุทธะ๑, เอตทัคคมหาสาวกผู้เลิศทางทิพยจักษุ(๑๕,๓)

       พระโอรสของพระเจ้าศากยะพระนามว่า อมิโตทนะ ใน

กรุงกบิลพัสดุ์  ผู้เป็นอนุชาของพระเจ้า สุทโธทนะ ซึ่งเป็น

พระพุทธบิดา ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์   เป็นพระอนุชาของ

พระเจ้ามหานาม และเป็นพระญาติผู้น้องของพระพุทธเจ้า

มีปราสาท ๓ หลัง เมื่อศากยกุมารอื่น ๆ ได้ออกทรงผนวช

ตามพระพุทธเจ้ากันเป็นจำนวนมาก พระเจ้ามหานามผู้พระเชษฐา

ทรงดำริว่า ไม่มีใครเลยที่ออกบวชจากตระกูลของเรา  จึงทรง

ปรึกษากับท่านว่าบรรดาเราทั้งสองคนควรบวชสักคนหนึ่ง

ครั้งแรกท่านปฏิเสธโดยอ้างเหตุผลว่า เป็นสุขุมาลชาติ แต่เมื่อ

ทรงฟังเรื่องการครองเรือน  ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดจากพระเชษฐา

ท่านจึงตกลงที่จะทรงผนวช จึงได้ไปขออนุญาตจากพระมารดา

ทรงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาต แต่พระแม่นางได้

แนะนำให้ไปชวนพระเจ้าภัททิยะผู้เป็นสหาย  หากพระเจ้าภัททิยะ

ออกทรงผนวช  พระแม่นางก็จะทรงอนุญาต   ท่านจึงไปหา

พระเจ้าภัททิยะ ชวนให้ทรงผนวชด้วยกัน เมื่อพระเจ้าภัททิยะ

ตกลงออกทรงผนวช  พระมารดาของท่านจำต้องอนุญาต

ท่านได้ทรงออกผนวชพร้อมด้วยพระเจ้าภัททิยะ เจ้าชายอานนท์

เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายเทวทัตต์ และช่างกัลบกชื่อ

อุบาลี ได้พร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน และได้รับ

การอุปสมบท ณ ที่นั้น ท่านได้บรรลุพระอรหันต์ภายในพรรษานั้น

(พรรษาที่ ๒ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า)   ต่อมาได้รับเอตทัคคะ

ทางทิพยจักษุ(๑)

       ท่านได้เรียนพระกรรมฐานจากพระธรรมเสนาบดีแล้วไป

บำเพ็ญสมณธรรมที่ปาจีนวังสทายวัน เจติยรัฐ (แคว้นเจตี) เมื่อ

พิจารณามหาปุริสวิตกอยู่ เกิดความอึดอัดใจในมหาปุริสวิตกที่ ๘

พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงได้เสด็จไปแนะนำจนเข้าใจ  แล้วตรัส

มหาอริยวังสปฏิปทา พอพระพุทธองค์เสด็จกลับท่านก็บรรลุ

พระอรหันต์ ได้เปล่งอุทานสรรเสริญพระพุทธคุณ และปรารภ

การบรรลุพระอรหันต์ของท่านด้วย(๒)

       ได้ยินว่า  พระอนุรุทธเถระ ไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอด

๕๕ ปี  จนปรินิพพาน.

       เมื่อคราวที่ภิกษุชาวเมือง โกสัมพี ทะเลาะวิวาทบาดหมางแตก

ความสามัคคีกัน พระพุทธองค์เสด็จออกไปอยู่ป่าแต่พระองค์เดียวใน

       ครั้งนั้นได้เสด็จผ่าน ปาจีนวังสทายวัน ซึ่งท่านพระอนุรุทธะ

พระนันทิยะ และพระกิมพิละ อาศัยอยู่ ท่านได้กราบทูลให้ทรงทราบ

ถึงการอยู่กันด้วยความสามัคคีระหว่างท่านทั้งสามรูป แต่ยังไม่สามารถ

รักษาโอกาส และการเห็นรูปด้วยทิพยจักษุให้ตั้งอยู่ได้นาน ทั้งไม่ทราบ

เหตุ พระองค์ได้ทรงแสดงเหตุ ๑๑ อย่าง ซึ่งเรียกว่า อุปกิเลส ในตอนจบ

แห่งสูตรนี้ ระบุเฉพาะท่านพระอนุรุทธะองค์เดียวว่า พอใจพระพุทธ

ภาษิตนั้น(๓)

       ในนฬกปานสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องสมาชิก

และการพยากรณ์ผู้ที่ไปเกินในภพนั้น ๆ ในที่นั้นท่านพระอนุรุทธะได้

ร่วมอยู่ด้วย พร้อมด้วยพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงมากรูป แต่ในพระสูตรนี้

ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงระบุชื่อท่าน และท่านเป็นผู้ตอบปัญหาที่

ตรัสถาม ในตอนท้ายแห่งสูตรก็ระบุเฉพาะท่านพระอนุรุทธะเท่านั้นว่า

พอใจพระพุทธภาษิต(๔)

       ครั้งหนึ่งช่างไม้ ชื่อ ปัญจกังคะ ได้อาราธนาให้ท่านไปฉันที่บ้าน

ของตน หลังจากท่านฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ช่างไม้ได้ถามปัญหาเรื่อง

เจโตวิมุติที่เป็นอัปปมาณ และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ท่านได้ย้อน

ถามช่างไม้ว่า เข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร ช่างไม้ตอบว่าเขาเข้าใจว่า

ธรรมะ ๒ ประการนี้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่

พยัญชนะเท่านั้น ท่านได้อธิบายให้เขาเข้าใจโดยถูกต้องว่า ความจริง

ธรรมะ ๒ ประการนี้ ต่างกันทั้งความหมายและพยัญชนะในการ

สนทนาธรรมครั้งนี้ ท่านกล่าวถึงเหตุ ๔ อย่าง แห่งการเกิดในหมู่

เทวดา พระอภิยะ และ กัจจานะ ซึ่งไปฉันกับท่านได้ซักถามในปัญหา

เรื่องนี้ ท่านได้อธิบายว่า คุณธรรมนี้เป็นเหตุให้เทวดามีรัศมีต่างกัน

ท่านได้ยืนยันว่าที่ท่านทราบโดยละเอียดอย่างนี้ เพราะท่านเคยอยู่ร่วม

เคยเจรจาร่วม เคยสนทนาร่วมกับเทวดาเหล่านั้นมาแล้ว(๕)

       ในอรรถกถาเล่าไว้ว่า ท่านเคยเกิดในพรหมโลกถึง ๓๐๐ ชาติ(๖)

       หลังจากที่ท่านได้บรรลุพระอรหันต์ และได้ทิพยจักษุแล้วได้

ตรวจดูถึงอดีตชาติได้ทราบว่าสุมนเศรษฐีได้มีอุปการคุณแก่ท่านใน

กาลก่อนและทราบว่า สุมนเศรษฐี ไปเกิดเป็นบุตรของ มหามุณฑ

อุบาสก ชื่อว่า จูฬสุมน ที่นิคมแห่งหนึ่งชื่อ มุณฑะ ท่านจึงได้ไปหา

มหามุณฑอุบาสก ซึ่งเป็นผู้คุ้นเคยกันมาก่อน ถึงที่นั่นแล้วได้ขอให้

จูฬสุมน บวช  เมื่ออุบาสกอนุญาตท่านจึงบวชให้ และสามเณรนั้น

ได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะปลงผม(๗)

       เมื่อพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ เพื่อทรง

แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ท่านพระอนุรุทธะ ได้รับ

มอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้แจ้งข่าวพุทธกิจบนสวรรค์ให้ประชาชน

ทราบ(๘)

       ท่านมีพระกนิษฐภคินีคนหนึ่ง พระนามว่า โรหิณี  พระนางเป็น

โรคผิวหนัง  เมื่อขณะท่านไปเยี่ยมพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์

บรรดาพระญาติได้ไปหาท่าน แต่พระนางโรหิณี ไม่ได้ไป ท่านให้เชิญ

พระนางมาจนได้และได้แนะนำให้พระนางขายเครื่องทรง สร้างอาสน

ศาลาถวายภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ท่านได้มอบให้พระ

ญาติที่อยู่ในที่นั้นรับเป็นภาระ แม้ท่านเองก็ได้อยู่ช่วยจัดแจงด้วย เมื่อ

สร้างเสร็จพระนางได้ไปปัดกวาดเป็นประจำต่อมาโรคผิวหนังของ

พระนางก็หาย พระนางฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาค ที่

อาสนศาลาได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้ไปเกิดเป็นพระชายาของ

ท้าวสักกะ (๙)

       ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์ของนางจูฬสุภัททา ลูกสาว

ของท่านอนาถบิณฑิกะ ให้เสด็จไปรับอาหารบินฑบาตที่เมืองอุคคะ

เมื่อเสด็จกลับรับสั่งให้ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่นั้นไปก่อน ตั้งแต่นั้นมา

ชาวเมืองนั้นต่างมีความเลื่อมใสศรัทธา(๑๐)

       ท่านได้รับความเคารพ นับถือ บูชา จากประชาชนชาววัชชีมาก

ดังที่ยักษ์ชื่อฑีฆปรชนะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าเป็นลาภอย่าง

ประเสริฐของชาววัชชีนี้ที่ได้อยู่ใกล้ท่านพระอนุรุทธะ แม้ทวยเทพจน

ถึงชั้นพรหมก็ได้กล่าวอย่างเดียวกันนี้(๑๑)

       ท่านได้ทูลถามปัญหาเกี่ยวกับมาตุคามที่จะไปเกิดในอบายทุคติ

วินิบาตนรก และที่จะไปเกิดในสวรรค์ ว่าจะต้องประกอบด้วยธรรม

อะไร(๑๒)

       ครั้งหนึ่งเทวดาพวกมหาปกายิกา ระลึกถึงอุปการะของท่านเป็น

เหตุให้พวกตนไปเกิดในสวรรค์ จึงลงมาเฝ้าท่านด้วยคิดจะตอบแทน

โดยให้ท่านไปครองสมบัติในสวรรค์ชั้นนั้น และได้แสดงการเปลี่ยน

ผิวให้ท่านพระอนุรุทธะเห็น ในเมื่อท่านต้องการจะเห็นได้ในขณะนั้น

ท่านได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยที่จะให้สตรีไปเกิดในหมู่เทพ

เหล่านั้น(๑๓)

       ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะเกี่ยวกับ

การเจริญสติปัฏฐาน ท่านได้ชี้แจงให้เห็นความสำคัญของการเจริญสติ

ปัฏฐาน ท่านได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องสติปัฏฐานมากแห่งด้วยกัน(๑๔)

ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะ เกี่ยวกับธรรมของพระ

เสขะและพระอเสขะ และอภิญญา(๑๕) ภิกษุเป็นอันมากก็เคยถามท่าน

เกี่ยวกับเรื่องอภิญญา ครั้งหนึ่งเมื่อท่านอยู่ที่อัมพปาลิวัน กับท่านพระ

สารีบุตร ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะ ว่าอยู่ด้วยธรรม

เป็นเครื่องอยู่อะไร อินทรีย์จึงจะวิสุทธิผ่องใส(๑๖) ท่านได้แนะนำ

ตักเตือนให้ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน(๑๗)

       ครั้งหนึ่งท่านอาพาธอยู่ที่อันธวัน ในพระนคร สาวัตถี ท่านได้

บอกกับภิกษุทั้งหลายว่า ความเจ็บปวดไม่ครอบงำจิตใจของท่านเลย

เพราะจิตของท่านตั้งมั่นในสติปัฏฐาน (๑๘)

       ท่านได้บอกกับภิกษุทั้งหลายว่า เพราะท่านเจริญสติปัฏฐาน จึง

มีความชำนาญในอภิญญา เช่นระลึกได้ถึงหนึ่งพันกัปเป็นต้น(๑๙) ใน

อรรถกถากล่าวว่า พระเถระตื่นนอนแต่เช้าตู่ หลังจากชำระร่างกายแล้ว

ท่านนั่งพิจารณาระลึกถึงกัปหนึ่งพันกัปทั้งในอดีต และอนาคต หมื่น

จักรวาลจะมาปรากฏในขณะเดียวกัน(๒๐)

       ครั้งหนึ่งท่านได้ติดตามพระพุทธเจ้าไปพรหมโลก เพื่อทำลาย

พิธีของพราหมณ์ผู้คิดว่า ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ใดที่สามารถขึ้นไป

ถึงพรหมโลกได้(๒๑)

       ครั้งหนึ่งนางยักษิณีผู้มารดาของปิยังกร ยักษ์ กำลังเที่ยวแสวงหา

อาหาร ได้ยินท่านกล่าวธรรมบทเวลาจวนจะรุ่งอรุณ เสียงของท่าน

ไพเราะจับจิตของนางยักษิณี จนลืมที่จะไปหาอาหาร ได้ยืนฟังอย่าง

สนใจยิ่ง(๒๒)

       อินทก เทพบุตรไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และรุ่งเรืองกว่า

อังกุร เทพบุตรโดยฐานะ ๑๐ ประการ ก็เพราะถวายทานแก่

พระอนุรุทธะเพียงข้าวทัพพีเดียว(๒๓)

       ในเถรคาถากล่าวว่า ท่านถือไม่นอนเป็นเวลา ๕๕ ปี และใน

๒๕ ปี ตอนต้น ท่านมิได้หลับเลย(๒๔)

       ในสมัยที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ ท่านไม่เคยขาดตกบกพร่องในสิ่งที่

ท่านปรารถนา เนื่องจากผลแห่งการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า อุปริฏฐะ(๒๕) ดังมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านเล่นขลุบ

(คลี) กับท่านพระสหาย ๖ ท่านด้วยกัน โดยพนันด้วยขนม ท่านเป็น

ฝ่ายแพ้มากครั้งต้องเสียขนมจำนวนมาก พระมารดาของท่านได้ส่ง

ขนมไปให้ถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๔ รับสั่งกับคนรับใช้ไปว่า ขนมไม่มี แต่

ท่านไม่เข้าใจว่าไม่มี จึงขอให้พระมารดาส่งขนมไม่มีมาให้ พระมารดา

ทรงประสงค์จะให้ท่านรู้ความหมายของคำว่าไม่มี จึงได้ทรงส่งถาด

ทองคำเปล่าไปให้ แต่เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในพระนครนั้น ได้บรรจุถาด

ทองคำนั้นให้เต็มไปด้วยขนมทิพย์ เพราะอำนนาจปณิธานในชาติก่อน

ต่อมาเมื่อท่านต้องการขนม พระมารดาก็ทรงส่งถาดเปล่าไปให้ทุกครั้ง

และเทวดาก็ได้ใส่ขนมทิพย์ส่งไปทุกครั้งตลอดเวลาที่ท่านดำรงเพศ

คฤหัสถ์(๒๖)

       ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดเป็น

กุฏุมพีไม่ปรากฏชื่อ ได้ฟังธรรมและเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรง

ตั้งภิกษุผู้มีทิพยจักษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้ง

หลายผู้มีทิพยจักษุท่านปรารถนาที่จะได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ เช่นนั้น

ในอนาคต จึงได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์หนึ่งแสนรูป มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขถึง ๗ วัน และได้ถวายผ้าเนื้อดีในคราวนั้นด้วย แล้วได้ตั้งความ

ปรารถนาให้ได้ตำแหน่งเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ ต่อมาเมื่อพระพุทธ

เจ้าพระองค์นั้นเสด็จปรินิพพาน ท่านได้ตามดวงประทีปด้ามจำนวน

นับไม่ถ้วนบูชา ณ สถานที่เสด็จปรินิพาน(๒๗)

       สมัยต่อมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ

ท่านได้เกิดในเมืองพาราณสี ท่านได้วางถาดเนยใส จุดเป็นดวงประทีป

ไว้รอบ ๆ สถานที่ที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และ

ได้ทูนถาดดวงประทีปเดินเวียนไปรอบ ๆ พระเจดีย์หนึ่งโยชน์ตลอด

คืน(๒๘)

       สมัยต่อมา ท่านได้เกิดในตระกูลคนเข็ญใจ ในเมืองพาราณสี มี

ชื่อว่า อันนภาระ เป็นคนหาบหญ้า อยู่ในบ้านของท่านสุมน เศรษฐี วัน

หนึ่งได้ถวายอาหารบิณฑบาต แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

อุปริฏฐะ ท่านเศรษฐีได้ทราบเรื่องทำบุญของอันนภาระ ก็ได้

อนุโมทนาให้รางวัล ไม่ให้ทำงานเหมือนอย่างเดิม และให้สร้างเรือน

ขึ้นหลังหนึ่งสำหรับเขา ต่อมาพระราชาทราบเรื่องนั้น ทรงพอพระทัย

พระราชทานที่ให้เขาสร้างบ้าน เมื่อปรับพื้นที่ขุดลงไปก็พบขุมทรัพย์

มหาศาลฝังอยู่ เพราะเหตุแห่งขุมทรัพย์อันมหึมานี้เอง เขาจึงได้รับพระ

ราชทานแต่งตั้งในตำแหน่งเศรษฐีชื่อธนเศรษฐี(๒๙)

       ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ท่านเห็นพระพุทธ

เจ้าพระองค์นั้น นั่งเข้าฌานอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวที่ใต้ต้นไม้ต้น

หนึ่ง ได้เข้าไปเฝ้าและได้ตามประทีปน้อยไว้รอบ ๆ พระองค์ ประทีป

นั้นลุกโพลงอยู่ตลอด ๗ วัน ด้วยวิบากนี้ ได้เกิดเป็นจอมเทพ เสวยราช

สมบัติในเทวโลกอยู่ ๓๐ กัป และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ครั้ง

สามารถมองเห็นได้ระยะไกลหนึ่งโยชน์ทั้งกลางวันและกลางคืน และ

ด้วยวิบากนี้ด้วยท่านจึงได้ทิพยจักษุ(๓๐)

       ในชาดกกล่าวว่า ในอดีตชาติท่านพระอนุรุทธะเคยเกิดเป็นท้าว

สักกะ (๓๑)

       ในที่อื่น ๆ ก็ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท่านอีกมากแห่ง ดังกล่าว

ไว้ว่าในอดีตชาติท่านเคยเป็นอันเตวาสิกของพระพุทธเจ้าเมื่อทรงเป็น

พระโพธิสัตว์ชื่อปัพพตะ(๓๒) และเคยเกิดเป็นน้องของพระพุทธเจ้า

เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์ในตระกูลพราหมณมหาศาล(๓๓) เคยเกิด

เป็นนกพิราบ(๓๔) เคยเกิดเป็นบุตรปุโรหิต ชื่อ อชปาละ(๓๕) เคยเกิด

เป็นปุโรหิตชื่อ สุจริตะ ของพระเจ้า ธนัญชัยโกรัพยะ(๓๖) เคยเกิดเป็น

คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ(๓๗) และเคยเกิดเป็นนายสารถี(๓๘)

       เมื่อพระพุทธองเสด็จปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา ท่านพระ

อนุรุทธะก็ได้อยู่ในที่นั้นด้วย และได้บอกเวลาอันแท้จริงแห่งการเสด็จ

ปรินิพพานของพระพุทธองค์ แก่ที่ประชุมนั้น ธรรมกถาที่ท่านได้

แสดงในโอกาสนั้น มีสาระควรใส่ใจมาก(๓๙) ทั้งท่านได้ปลอบโยน

ภิกษุสงฆ์ และตักเตือนเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาของสังขาร ท่านได้มีเถร

บัญชาให้ท่านพระอานนท์ไปแจ้งแก่พวกมัลละ(๔๐) ท่านได้เป็นที่

ปรึกษาของพวกเจ้า มัลละ แห่งเมืองกุสินารา เรื่องถวายพระเพลิง

พระพุทธสรีระ(๔๑)

       ต่อมาในการทำปฐมสังคายนา ท่านได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญ

และได้รับมอบภาระให้เป็นผู้สอนอังคุตตรนิกาย(๔๒)

       ท่านปริพพานที่เวฬุวคาม แคว้นวัชชี ภายใต้ร่มเงากอไม้ไผ่แห่ง

หนึ่ง(๔๓)

๑. วินย. ๘/๑๕๕–๑๖๑; อง.อ. ๑/๒๐๙–๒๐๘   ๒. อง. ๒๓/๒๓๒–

๒๓๔, ; อง.อ. ๑/๑๐๗–๑๐๘ ;   ม.อ. ๓/๖๐๙, ๖๑๔   ๔.ม.ม.

๑๓/๒๐๔–๒๑๓ ๕.ม. อุป. ๑๕/๒๘๕–๒๙๔   ๖.ม.อ. ๓/๖๐๘   ๗.

ธ.อ. ๘/๘๓–๘๔  ๙.  ธ.อ. ๖/๑๔๘–๑๕๑   ๑๐. ธ.อ. ๗/๑๐๓–๑๐๕ 

๑๑.ม. มู. ๑๒/๓๙๓–๙๔ ๑๒. สํ. สฬา. ๑๘/๒๙๘–๓๐๓    ๑๓. อง.

๒๓/๒๖๙–๒๗๓;  อง.อ. ๓/๒๙๓   ๑๔. สํ. มหา. ๑๙/๓๗๖  ๑๕.  สํ.

มหา. ๑๙/๓๘๒–๓๘๓  ๑๖. สํ.มหา. ๑๙/๓๘๕  ๑๗. สํ. มหา.

๑๙/๓๘๔   ๑๘. สํ. มหา. ๑๙/๓๘๖   ๑๙. สํ. มหา. ๑๙/๓๘๘–๓๙๐  

๒๐. สํ.อ. ๓/๓๗๐  ๒๑. สํ. สคาถ. ๑๕/๓๐๘   ๒๒.  สํ. สคาถ.

๑๕/๓๐๘  สํ.อ. ๑/๒๔๘  ๒๓. ขุ. เปต. ๒๖/๑๙๕;

ธ.อ. ๖/๘๑   ๒๔. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๒  ๒๕. อํ.อ. ๑/๒๐๐–๒๐๔; 

ธ.อ. ๘/๗๘  ๒๖.  ธ.อ. ๑/๑๑๙–๑๒๑;  ธ.อ. ๘/๘๐–๘๑

๒๗. อง.อ. ๑/๑๙๘–๒๐๐;  ธ.อ. ๘/๗๖–๗๗   ๒๘. อง.อ. ๑/๒๐๐

๒๙.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๓ ;  อง.  อ.  ๑/๒๐๐–๒๐๕;  ธ.  อ.  ๘/๗๗–๘๐ ;

ปฐมแปล -/๓๐๒ ;  ๓๐. ขุ. อปทาน,  ๓๒/๕๑–๕๒  

๓๑.  ชา, , ๓/๑๖๕ ; ๓/๓๔๒ ; ๔/๔๑๒ ; ๕/๔๓๘ ; ๖/๒๐๓ ;

๖/๒๖๕ ; ๖/๓๖๒ ; ๖/๔๘๓ ; ๙/๑๕๙ ; ๙/๒๒๑ ;  ๑๐/๓๙๕ 

๓๒.  ชา, อ. ๕/๓๒๒ ;   ๗/๓๙๕    ๓๓.  ชา.อ. ๖/๓๐๐ 

๓๔.  ชา.อ. ๖/๓๒๔   ๓๕.  ชา.อ. ๗/๑๗๓

๓๖.  ชา.อ. ๗/๒๗๑   ๓๗.  ชา.อ. ๔/๔๓๒  ๓๘.  ชา.อ. ๔/๑๓๒

๓๙. ที. มหา. ๑๐/๑๘๐–๑๘๒   ๔๐. ที. มหา. ๑๐/๑๘๒–๑๘๓

๔๑. ที. มหา. ๑๐/๑๘๕  ๔๒. ที.อ. ๑/๒๙   ๔๓. เถร.อ. ๒/๓/๔/๑๖