บารมี 30 ทัส
           
กล่าวถึงบารมี 10 ทัสก่อน มี ดังนี้
        1.
ทานบารมี                คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
        2.
ศีลบารมี                   คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
        3.
เนกขัมบารมี            คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อน ถือศีล 8 ขึ้นไป
        4.
ปัญญาบารมี            คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
        5.
วิริยะบารมี              คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
        6.
ขันติบารมี               คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย 
        7.
สัจจะบารมี            คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
        8.
อธิษฐานบารมี        คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
        9.
เมตตาบารมี           คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
      10.
อุเบกขาบารมี        คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น
   
บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
        1.
บารมี       ธรรมดาทั่วไป
        2.
อุปบารมี  บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
        3.
ปรมัตถบารมี    บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
   
เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส

            อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
   
พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
        1. 
เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
        2.
ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
        3.
ไม่เป็นคนบ้า
        4.
ไม่เป็นคนใบ้
        5.
ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
        6.
ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
        7.
ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
        8.
ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
        9.
ไม่เป็นสตรีเพศ
      10.
ไม่ทำอนันตริยกรรม
      11.
ไม่เป็นโรคเรื้อน
      12 
เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
      13.
ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
      14.
ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
      15.
ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
      16.
เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี)   และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
      17.
ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
      18.
ไม่เกิดในจักรวาลอื่น

        อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา  คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต  คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย  ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
 
                                                                                                     กลับหนัาแรก