. จูฬเวทัลลสูตร
                   
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
      [
๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
 
เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                        
เรื่องสักกายทิฏฐิ
      [
๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระ-
 *
ผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
     
ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์
 
เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทาน
 
ขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.
     
วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้
 
แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกาย-
 *
สมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี
 
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระ-
 *
ภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
 
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
 
คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ-
 *
โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ
 
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ
 
ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
 
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
 
อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
 
เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.
      [
๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด
 
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
 
ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
 
ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น
 
สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
 
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
 
สักกายทิฏฐิจึงมีได้.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
 
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม
 
ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
 
ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
 
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
 
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
 
วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.
                    
เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓
      [
๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ
 
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑
 
ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
 
ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย
 
ขันธ์ ๓.
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์
 
ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ วาจาชอบ ๑ ทำการงาน
 
ชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑
 
ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
 
ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.
                      
เรื่องสมาธิและสังขาร
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
 
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน
 
เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
 
ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.
      [
๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร
 
จิตตสังขาร.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น
 
อย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร
 
เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร
 
วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย
 
เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึก
 
ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
 
เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.
                     
เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
      [
๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก
 
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
 
ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม คือ กายสังขาร วจี
 
สังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น
 
กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่าง-
 *
นี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติว่าเรา
 
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อัน
 
ท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสัง-
 *
ขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน.
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด
 
ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง)
 
ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง) ย่อม
 
ถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปใน
 
ธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน
 
วิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.
                         
เรื่องเวทนา
      [
๕๑๑] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑
 
อทุกขมสุขเวทนา ๑.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา
 
เป็นอย่างไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือ
 
เป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย
 
หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่
 
สำราญ (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็น
 
อทุกขมสุขเวทนา.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
 
ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ
 
เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอน
 
อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย ตามนอน
 
อยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอน
 
อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
 
ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน
 
อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ใน
 
ทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน
 
ทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา.
     
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึง
 
ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือ
 
หนอแล?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
 
ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขม-
 *
สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
 
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อม
 
ละราคาด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรม
 
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่
 
ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้
 
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น
 
ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน
 
อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
 
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุต
 
ฌานนั้น.
      [
๕๑๒] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคะเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา.
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา?
     
. ปฏิฆะเป็นส่วนแห่งเปรียบแห่งทุกขเวทนา.
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา?
     
. อวิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา.
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา?
     
. วิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา?
     
. วิมุติเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ?
     
. นิพพานเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ?
     
วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน?
     
. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ท่านล่วงเลยปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาส่วนสุดแห่งปัญหา
 
ได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เพราะพรหมจรรย์หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงใน
 
เบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านจำนงอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อ
 
ความนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงจำทรงพระพยากรณ์นั้นไว้
 
อย่างนั้นเถิด.
                
วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี
      [
๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณี
 
แล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
 
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบ
 
ทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ.
     
เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูกรวิสาขะ ธรรม
 
ทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึง
 
พยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น
 
เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ
 
พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.
                     
จบ จูฬเวทัทลสูตร ที่ ๔
                      -----------------
                    
. จูฬาธรรมสมาทานสูตร
                     
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
      [
๕๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี
 
เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
 
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๕๑๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง
 
๔ อย่างเป็นไฉน ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทาน
 
ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุข
 
เป็นวิบากต่อไปก็มี.
      [
๕๑๖ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษใน
 
กามทั้งหลายมิได้มี สมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย. ย่อมบำเรอ
 
กับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผมและกล่าวอย่างนี้ว่า ไฉนท่านพระสมณพราหมณ์พวกนั้น
 
เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย
 (
อันที่จริง) การสัมผัสที่แขนมีขนอ่อนนุ่มแห่งนางปริพาชิกานี้ นำให้เกิดสุข ดังนี้แล้ว ก็ถึง
 
ความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายว่า
 
แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. เสวยทุกขเวทนา
 
หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เห็นภัย
 
ในอนาคตในกามทั้งหลายนี่แหละ จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย
 
พวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะกามเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ-
 *
เหมือนลูกสุกแห่งเครือถามาลุว่า (ย่านซายหรือย่างซาย) พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน. พืชแห่ง
 
เครือเถามาลุวานั้น ตกลงที่โคนต้นสาละต้นใดต้นหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น กลัวหวาดเสียว
 
ถึงความสะดุ้ง. พวกอาราม วนเทวดา รุกขเทวดา และพวกเทวดา ที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้า
 
และต้นไม้เป็นเจ้าไพร ผู้เป็นมิตรสหาย ญาติสาโลหิต แห่งเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นต่างก็พา
 
กันมาปลอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวา
 
นั้น บางทีนกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำงานในป่าพึง
 
ถอนเสีย ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป. แต่พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น นกยูงก็ไม่
 
กลืนกิน เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน ไฟป่าก็ไม่ไหม้ พวกทำการงานในป่าก็ไม่ถอน ปลวกไม่กัด ยังคง
 
เป็นพืชต่อไป. ถูกเมฆฝนตกรดเข้าแล้วก็งอกขึ้นโดยดี.เป็นเครือเถามาลุวาเล็ก อ่อน มีย่านห้อยย้อย
 
เข้าไปอาศัยต้นสาละนั้น. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นจึงกล่าวว่า ไฉนพวกท่าน อารามเทวดา
 
วนเทวดา รุกขเทวดา และเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้าและต้นไม้เป็นเจ้าไพร ผู้เป็น
 
มิตรสหาย ญาติสาโลหิต จึงเห็นภัยในอนาคตในเพราะพืชแห่งเครือเถามาลุวา พากันมาปลอบ
 
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น บางที
 
นกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำการงานในป่าพึงถอนเสีย
 
ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป เครือเถามาลุวานี้ เล็กอ่อน มีย่านห้อมย้อยอยู่ มีสัมผัส
 
นำความสุขมาให้. เครือเถามาลุมานั้นเข้าพันต้นสาละนั้น. ครั้นเข้าพันแล้ว ทำให้เป็นดังร่มอยู่
 
ข้างบน ให้แตกเถาอยู่ข้างล่าง ทำลายลำต้นใหญ่ๆ ของต้นสาละนั้นเสีย. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้น
 
สาละนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา และพวกเทวดาที่สิงอยู่
 
ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้าและต้นไม้เป็นเจ้าไพร เป็นผู้มิตรสหาย ญาติสาโลหิต เห็นภัยในอนาคต
 
ในเพราะพืชแห่งเครือเถามาลุวานี้ จึงพากันมาปลอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้
 
เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น บางทีนกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย
 
ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำการงานในป่าพึงถอนเสีย ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป
 
เรานั้นเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะพืชแห่งเครือเถามาลุมาวาเป็นเหตุฉันใด. ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายมิได้มี
 
จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผม. และกล่าวอย่างนี้
 
ว่า ไฉนท่านสมณเหล่านั้น จึงเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย กล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติ
 
ความกำหนดรู้ในกามทั้งหลายว่า อันที่จริงการสัมผัสที่แขนมีขนอ่อนนุ่มแห่งนางปริพาชิกานี้
 
นำให้เกิดสุข จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในการกามทั้งหลาย. ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายแล้ว
 
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ย่อมเสวยทุกขเวทนา
 
หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น
 
เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายนี้ จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กาม
 
ทั้งหลายว่า พวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะกามเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น
 
เหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก
 
ต่อไป.
      [
๕๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
 
ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เปลือยกาย ปล่อยมารยาท
 
ดีเสีย [ยืนถ่ายอุจาระ ปัสสาวะ แล้วก็กิน] เช็ดอุจจาระที่ถ่ายด้วยมือ ไม่รับภิกษาตามที่เขา-
 *
เชิญให้รับ ไม่หยุดตามที่เขาเชิญให้หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาเจาะจงให้
 
ไม่ยินดีการนิมนต์ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากหม้อ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากกระเช้า ไม่รับ
 
ภิกษาในที่มีธรณี มีสาก หรือมีท่อนไม้คั่นในระหว่าง ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังกินอยู่
 
ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มนม ของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา
 
ที่เขานัดกันทำ ในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีหมู่แมลงวันตอม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ
 
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดองรับภิกษาที่เรือนแห่งเดียว เฉพาะคำเดียวบ้าง รับที่
 
เรือนสองหลัง เฉพาะสองคำบ้าง ฯลฯ รับที่เรือนเจ็ดหลัง เฉพาะเจ็ดคำบ้าง ให้อัตภาพเป็นไป
 
ด้วยภิกษาอย่างเดียวบ้าง สองอย่างบ้าง ฯลฯ เจ็ดอย่างบ้าง กลืนอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง
 
สองวันบ้าง ฯลฯ เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้หมั่นประกอบเนืองๆ ในการกินภัตที่เวียนมาตลอดกึ่งเดือน
 
แม้เช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ปริพาชกนั้น กินผักดองกินข้าวฟ่าง กินลูกเดือยกินกากข้าว
 
กินสาหร่าย กินรำ กินข้าวตัง กินข้าวไหม้ กินหญ้า กินโคมัย กินเหง้าไม้และผลไม้ในป่า
 
กินผลไม้ที่หล่นเอง เลี้ยงอัตภาพปริพาชกนั้น ครองผ้าปอ ครองผ้าที่มีวัตถุปนกัน ครองผ้าผี
 
ครองผ้าที่เขา ทิ้งครองผ้าเปลือกไม้ ครองหนังเสือ ครองหนังเสือที่มีเล็บ ครองผ้าคากรอง ครอง-
 *
แผ่นผ้าที่ครองด้วยเปลือกไม้ ครองผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ ครองผ้าที่กรองด้วยขนปีกนกเค้า
 
เป็นผู้ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบเนืองๆ ในการถอนผมและหนวด ยืนในที่สูง ห้าม
 
อาสนะเป็นผู้เดินกระโหย่ง ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง นอนบนขวาก นอนบนหนาม
 
หมั่นประกอบในการลงน้ำวันละ ๓ ครั้งตามประกอบความหมั่นอันทำร่างกาย ให้ลำบากเดือดร้อน
 
หลายอย่าง เห็นปานนี้เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
      [
๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวย-
 *
ทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิด
 
แต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ
 
บุคคลนั้นถูกทุกข์บ้าง โทมนัสบ้าง ถูกต้องแล้ว เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ แต่
 
ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
 
สวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบาก
 
ต่อไป.
      [
๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่
 
เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส
 
อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่
 
โมหะเนืองๆ บุคคลนั้นสงัดจากกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด
 
แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
 
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ... แล้วและอยู่
 
บรรลุจตุตถฌาน ... แล้วและอยู่เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
 
ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป:
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ
 
พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
                   
จบ จูฬธรรมสมาทานสูตร ที่ ๕
                    ---------------------
                    
. มหาธรรมสมาทานสูตร
                     
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
      [
๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
 *
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๕๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย มีความ
 
ปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
 
ไม่น่าชอบใจ พึงเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ พึงเจริญยิ่ง ดังนี้ ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ธรรมที่ไม่น่า
 
ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ
 
ย่อมเสื่อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น พวกเธอย่อมเข้าใจเหตุนั้นอย่างไร?
     
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
 
มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่
 
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี-
 *
พระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
     
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดี
 
เราจักกล่าว.
     
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๕๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
 
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัป-
 *
บุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ
 
ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควร
 
เสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็เสพธรรมที่ไม่
 
ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเสพธรรม
 
ที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบธรรมที่ไม่น่า
 
ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เสื่อม
 
ไป ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะปุถุชนมิได้รู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริย-
 *
สาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของ
 
พระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ รู้จักธรรม
 
ที่ควรเสพรู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อรู้จักธรรมที่ควร-
 *
เสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ
 
เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ
 
เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
 
ไม่น่าชอบใจก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง นั่นเป็นเพราะ
 
เหตุไร? เป็นเพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง.
      [
๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน? ธรรมสมา-
 *
ทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์
 
เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทาน
 
ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี.
      [
๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทาน
 
ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชาย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
 
ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น
 
ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทาน
 
นั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
 
ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็น
 
เพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุข
 
ในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
 
ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปเมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไป
 
แล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
 
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
 
ชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็นเพราะเหตุ
 
อะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์
 
ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
 
ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น
 
ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทาน
 
นั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
 
ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็น
 
เพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุข
 
ในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความจริงว่า ธรรม-
 *
สมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้ว
 
ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
 
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
 
ชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป. นั่นเป็นเพราะเหตุ
 
อะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.
      [
๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มี
 
ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
 
ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น
 
ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
 
เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
 
ชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะ
 
เหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขใน
 
ปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน
 
นี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
 
รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรม-
 *
สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อม
 
เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็น
 
เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ใน
 
ปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน
 
นี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
 
รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อไม่เสพธรรม-
 *
สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อม
 
เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็น
 
เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขใน
 
ปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน
 
นี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
 
รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรม-
 *
สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
 
ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
 
เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.
      [
๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
 
ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง
 
พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. เป็นคนถือเอาทรัพย์
 
ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอทินนา
 
ทานเป็นปัจจัย เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย
 
ทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย
 
โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วย
 
ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคน
 
มีวาจาหยาบ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะผรุส-
 *
วาจาเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกข-
 *
โทมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย
 
โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย เป็นคนมีจิตพยาบาทพร้อมด้วย
 
ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมี
 
ความเห็นผิด พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิ
 
เป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกร-
 *
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
      [
๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยสุขบ้าง
 
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. เป็นคนถือเอาทรัพย์
 
ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอทินนาทาน-
 *
เป็นปัจจัย. เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข
 
โสมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย. เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัส
 
บ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วยสุขบ้าง
 
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาหยาบ
 
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็น
 
คนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมผัป-
 *
ปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวย-
 *
สุขโสมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตพยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัส
 
บ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมีความเห็นผิด พร้อมด้วยสุขบ้าง
 
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
 
กายแตกเขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินินาต นรก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานนี้เรากล่าวว่า
 
มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
      [
๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อม
 
ด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส  เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็น
 
ปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย
 
ทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
 
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากกาเม-
 *
สุมิจฉาจารเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
 
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา
 
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา
 
เป็นปัจจัย เป็นคนเว้นจากผรุสวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย-
 *
ทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อม
 
ด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
 
ปัจจัย. เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
 
เพราะอนภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
 
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการไม่พยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยทุกข์
 
บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่
 
ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าว
 
ว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.
      [
๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
 
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อม
 
ด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็น
 
ปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข
 
โสมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
 
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉา-
 *
จารเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข
 
โสมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา พร้อมด้วยสุขบ้าง
 
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นปัจจัย. เป็นคน
 
เว้นขาดจากผรุสวาจา พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะ
 
การเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วย
 
โสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนไม่มี
 
อภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่มี
 
อภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อม
 
เสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยสุขบ้าง
 
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
 
กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า
 
มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.
                         
อุปมา ๕ ข้อ
      [
๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต
 
ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญ น้ำเต้าขมนี้
 
ระคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี
 
ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย. บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำ-
 *
เต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง. ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย
 
หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
 
และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
      [
๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี
 
กลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า.
 
ประชุมชนก็บอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส
 
แต่ละคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ภาชนะน้ำหวานนั้น จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม
 
ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย บุรุษนั้นไม่พิจารณา
 
ภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย
 
หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน
 
แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
      [
๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ. บุรุษที่เป็น
 
โรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ
 
นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่
 
ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น
 
ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์
 
ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
      [
๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย เขา
 
ระคนเข้าด้วยกัน. บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ นมส้ม
 
น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจ
 
แก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณายานั้น
 
แล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกร-
 *
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมา
 
ฉันนั้น.
      [
๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน ในอากาศอันโปร่ง
 
ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า กำจัดมืออันมีในอากาศทั้งสิ้นย่อมส่องสว่าง แผดแสง
 
ไพโรจน์ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
 
ต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน คือ สมณะ และพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น ย่อม
 
สว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
 
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
                   
จบ มหาธรรมสมาทานสูตรที่ ๖
                         ------------
                        
. วีมังสกสูตร
                     
ว่าด้วยการตรวจดูธรรม
      [
๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
 
เขตพระนครสาวัตถี.
     
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น
 
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๕๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เมื่อ
 
ไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงทำการตรวจดูในตถาคตเพื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัม
 
พุทธเจ้าหรือไม่.
     
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
 
มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่
 
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี
 
พระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
     
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงจำไว้ในใจให้ดี
 
เราจักกล่าว.
     
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๕๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา เมื่อไม่
 
รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงตรวจดูในธรรม ๒ ประการ คือ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตว่า
 
ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น
 
ก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดู
 
ตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี แต่นั้น
 
ก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน [ดำบ้าง ขาวบ้าง
 
คือเป็นอกุศลบ้าง กุศลบ้าง] ของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า ธรรม
 
ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า
 
ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไป
 
ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่ เมื่อตรวจดูตถาคต
 
นั้นก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เมื่อใด ตรวจดูตถาคต
 
นั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคตมีอยู่ แต่นั้น ก็ตรวจดู
 
ตถาคตนั้นต่อไปว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้ สิ้นกาลนาน หรือว่าพระศาสดา
 
ผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อม
 
กุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อใด ตรวจ
 
ดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดา
 
ผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ
 
ถึงความมียศแล้ว โทษบางชนิดในโลกนี้ของภิกษุนั้นมีอยู่บ้างหรือไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
 
ยังไม่มีโทษบางชนิดในโลกนี้ ชั่วเวลาที่ตนไม่ถึงความปรากฏ ถึงความมียศ แต่เมื่อใด ภิกษุ
 
ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว เมื่อนั้น จึงมีโทษบางชนิดในโลกนี้. ภิกษุผู้พิจารณาเมื่อตรวจ
 
ดูตถาคตนั้นก็รู้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้
 
เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มี
 
โทษบางชนิดในโลกนี้ แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มี
 
อายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ
 
เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ประกอบด้วยความไม่มีภัย หาเป็นผู้ประกอบ
 
ด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
หากชนเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุ
 
ให้ท่านกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มีอายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะ
 
มีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ
 
พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ก็จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางที
 
ก็อยู่ผู้เดียวในหมู่นั้น พวกที่ดำเนินดีก็มี พวกที่สั่งสอนคณะก็มี พวกที่ดำเนินชั่วก็มี บาง
 
พวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้ก็มี บางพวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้ก็มี ท่านผู้มีอายุ
 
นี้ หาดูหมิ่นบุคคลนั้นด้วยเหตุนั้นไม่. เราได้สดับรับข้อนี้มาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
 
ว่า เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยภัย เราหาเป็นผู้ประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่
 
เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ.
                         
การสอบถาม
      [
๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบ
 
ถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและ
 
โสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี.
     
. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่.
     
. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี.
     
. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
     
. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่
 
ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา.
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดง
 
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วย
 
ประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจใน
 
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
 
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนพวกอื่น
 
พึงถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้
 
ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส
 
ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ภิกษุนั้นเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
 
ดูกรท่านผู้มีอายุ  เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดง
 
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มี
 
พระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วย
 
ประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรม
 
ทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
 
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
      [
๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
 
ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ
 
เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็น
 
มูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้.
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา
 
ตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็น
 
อย่างนี้.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของ
 
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
                       
จบ วีมังสกสูตรที่ ๗
                        -------------
                             จบตอนที่ 5 กลับหน้าแรก 100