ผล(อานิสงส์)ของสมาธิ
                                               
คำนำ
   
เรื่องผล(อานิสงส์)ของสมาธิ เป็นเรื่องที่เขียนมาจากความเข้าใจและความจำล้วนไม่ได้อิงหนังสือเล่นใด ดังนั้นอาจยังมีข้อผิดพลาดจึงขออภัย . ที่นี้ด้วย
    
มากล่าวถึงเรื่องสมาธิ ซึ่งมันต้องละเอียดขึ้นเป็นวิชาการทางพุทธศาสนามากขึ้น แต่ยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ชัดเจน
       
การแบ่งระดับสมาธิมีดังนี้
   
1.ขณิกะสมาธิเป็นสมาธิอ่อนๆ ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสมาธิระดับนี้ได้ สมาธิระดับนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกำลังอ่านหนังสือ หรือกำลังจดจ่อในการงานอยู่ และ ขะณิกะสมาธินี้ละ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ที่ปารถนาที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาสติปะฐาน 4 อันตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ต้องเริ่มจากขณิกะสมาธิก่อนเสมอ
   
2. อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย
    
3. ปฐมฌาน(ฌาน 1) เป็นสมาธิที่แนบแน่นสามารถแบ่งเป็น 2 กรณี คือ1.อารมณ์ทีเป็นองค์ฌาน หมายถึงมีความรู้สึกอยู่รับรู้อารมณ์อยู่ 2.อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ(วสี) ผู้ที่ได้ปฐมฌานต้องประสพทั้ง 2 กรณีไม่มีการยกเว้น มาอธิบายองค์ฌานของปฐมฌาน หรืออารมณ์ของฌาน 1 มี 5 อย่างดังนี้
          1.มีวิตกอยู่ในอารมณ์เดียว คือในอารมณ์กรรมฐานนั้น
          2.มีวิจารณ์ คือพิจารณาอยู่ในอารมณ์เดียว
          3.มีปีติ
          4.มีสุข
          5.มีอุเบกขา(เอกตา)
    
หมายเหตุ เรื่องฌานเป็นเรื่องที่ละเอียด และน้อยคนที่จะมีความอดทนปฏิบัติได้ถึง ถ้าผู้ที่ได้ฌานเรียกว่า ฌานลาภีบุคคล จึงไม่ขอเขียนอย่างละเอียด ผู้ที่สนใจก็หาอ่านในหนังสือพระไตรปิฏก ส่วนผู้ที่สนใจปฏิบัติก็ให้ฝึกตามสำนักต่างๆ

     4. ทุติยฌาน(ฌาน 2) เป็นสมาธิที่แนบแน่นยิ่งกว่า ฌาน 1 ก็มีอยู่ 2 กรณี คือ ที่เป็นอารมณ์องค์ฌาน กับที่เป็นอัปปะนาสมาธิ ผู้ที่ถึงฌาน 2 ต้องประสพทั้ง 2 กรณีไม่มีการยกเว้น และองค์ฌานของฌาน 2 มีดังนี้
          1.มีปีติ (วิตกวิจารณ์ หายไป)
          2.มีสุข
          3.มีอุเบกขา(เอกตา)

     5. ตติยฌาน(ฌาน 3) เป็นสมาธิที่แนบแน่นยิ่งกว่า ฌาน 2 ก็มีอยู่ 2 กรณี คือ ที่เป็นอารมณ์องค์ฌาน กับที่เป็นอัปปะนาสมาธิ ผู้ที่ถึงฌาน 3 ต้องประสพทั้ง 2 กรณีไม่มีการยกเว้น และองค์ฌานของฌาน 3 มีดังนี้
          1.มีสุข(ปีติ หายไป)
          2.มีอุเบกขา(เอกตา)

     6. จตุฌาน(ฌาน 4) เป็นสมาธิที่แนบแน่นยิ่งกว่า ฌาน 3 ก็มีอยู่ 2 กรณี คือ ที่เป็นอารมณ์องค์ฌาน กับที่เป็นอัปปะนาสมาธิ ผู้ที่ถึงฌาน 4 ต้องประสพทั้ง 2 กรณีไม่มีการยกเว้น และองค์ฌานของฌาน 4 มีดังนี้
          1.มีอุเบกขา(เอกตา อย่างเดียว)

     หมายเหตุ ฌานทั้ง 4 ที่กล่าวมาข้างบนเรียกว่ารูปฌาน และยังมีอีก 4 ฌานซึ่งมีสมาธิแนบแน่นกว่ารูปฌาน 4 เรียกว่าอรูปฌานอีก 4 ฌาน แต่ไม่ขอกล่าว ในที่นี้เพราะรู้สึกว่ามันเกินความจำเป็น สำหรับ สมัยนี้ในโลกโลกาภิวัตต์

     ผลของสัมมาฐิติสมาธิ ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งสงผลให้เห็นได้ชัดเจนสามารถแบ่งเป็นระดับได้ดังนี้
    
1.ผลของขนิกะสมาธิ ทำให้ศึกษาหรือเรียนรู้หรือการค้นคว้าทางโลกได้อย่างดี และเมื่อทำงานทำให้ผลงานที่ทำสำเร็จ และออกมาดีตามพื้นฐานความรู้ ถ้าใช้ในการพิจารณาวิปัสสนาสติปะฐาน 4.ก็อาจจะทำให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ และถ้ามีใจจดจอในการทำบุญทำกุศลโดยที่ไม่หวังผลตอบแทน ก็จะทำให้มีความสบายใจมีความอิ่มในบุญคือมีความสุขในการทำบุญนั้นทันที
    
2.ผลของอุปจารสมาธ ไม่ว่าจะเป็นงานทางธรรมหรือทางโลกสมารถทำการค้นคว้าหาเหตุผลได้ดีมีจิตใจตั้งมั่นและพฤติกรรมดูสงบเย็นกว่าบุคคลทั่วไปเพราะพยายามทรงอารมณ์สงบ ไม่ใช่การแสแสร้งเพราะการเรียนรู้สังคม จิตใจเริมมีปีติ สุข ซึ่งบุคคลทั่วไปไม่เคยประสพ แล้วก่อให้เกิดศรัทธาที่มากมาย (หมายเหตุ ตรงนี้และให้ระวังความยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคล ในตัวศาสนา ในตัวทาน ในตัวศีล ในตัวสมาธิ และในตัวข้อวัตรปฏิบัติตามแนวของตน ของสำนักตน ของกลุ่มตน)
    
3.ผลของอัปปะนาสมาธิ(ผลของ ฌาน 1 ถึง ฌาน 8) ผู้ที่ได้สมาธิถึงอัปปะนาสมาธิ กล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่แนบแน่นกับ ความสงบสุขที่ละเอียด มีจิตใจที่ติดอยู่กับความวิเวก และสามารถได้รับความปีติ สุข อุเบกขา ที่เห็นเป็นปัจจุบัน ส่วนมากผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิจะออกบวชหรือปฏิบัติตนเป็นฤษีหรือเป็นชีปะขาวเสียมากกว่า แต่ก็มีบางส่วนที่มีความจำเป็นหรือมีภาระพูกพันยังทรงเพศเป็นฆราวาสเป็นชาวบ้านธรรมดา และผลปัจจุบันสูงสุดของอัปปะนาสมาธิคืออภิญญา 5.
     
ตัวอย่างเรื่องของผลสมาธิที่บังเกิดเป็นปัจจุบันในตำรา
         
เรื่องมีอยู่ว่าได้มีผู้หญิงคนหนึ่งและพระอีก 3 รูป ผู้หญิงคนนี้เป็นคนใจบุญชอบตักบาตรทุกเช้า แต่มีความปารถนาอยากเกิดเป็นผู้ชายในชาติหน้า เลยได้ไปสนทนากับพระรูปหนึ่ง(ไม่ใช้พระ 3 รูปที่กล่าว) ท่านเลยแนะนำว่าถ้าปารถนาจะเป็นผู้ชายให้ปฏิบัติอย่างนี้
     1.
ต้องบำรุงสามีอย่างดี
     2.
ต้องบำรุงญาติฝ่ายสามีเหมือนญาติตน
     3.
ต้องมีศีล 5
     4.
เวลาทำบุญกุศลก็อธิฐาน ด้วยบุญที่ประพฤติปฏิบัติขอให้เกิดเป็นผู้ชายในชาติหน้า
    
เมื่อได้ทราบดังนี้ผูหญิงคนนี้ก็เอาไปปฏิบัติ และด้วยการทำบุญตักบาตทุกเช้าจึงได้ตักบาตกับพระที่เป็นสหายกันทั้ง 3 รูป และพระที่เป็นสหายกัน 3 รูป เป็นพระที่อยู่ในศีลในธรรม และก็เคยปฏิบัติสมาธิ ถึงปฐมฌาน แต่เนื่องจากอยู่เป็นหมู่คณะฌานก็เสื่อมและไม่สนใจในการที่จะทรงสมาธิ ปกติแล้วผู้ที่ได้ฌานเมื่อฌานเสื่อม ถ้าไม่ได้ทำผิดศีลอย่างแรงหรือมีฐิติผิดอย่างมาก ก็สามารถทรงฌานได้อีกโดยไม่อยาก แต่พระทั้ง 3 รูปมัวคลุกคลีกับหมู่คณะจึงไม่มีเวลาทรงฌาน เมื่อถึงเวลาที่ผู้หญิงคนนั้นและพระทั้ง 3 รูปถึงอายุขัยฝ่ายผู้หญิงก็ได้ไปจุติเป็นเทพบุตร ในเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นโอรสขององค์อัมรินท มีอยู่คราวหนึ่งมีงานพิธีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฝ่ายเทวดาชั้นจาตุก็ได้นำเทวดาฝ่าย นักร้อง ฟ้อนรำ และดนตรี ไปร่วมงาน ซึ่งในหมู่ของนักดนตรี ก็ได้มีเทวดาที่ชาติก่อนเป็นพระที่เป็นสหายกัน 3 รูปที่จุติมากเกิดเป็นเทวดาชั้นจตุ และได้แสดงดนตรีในงานนั้น พอจบการแสดงฝ่ายเทพบุตรโอรสของพระอินทร์ที่เป็นผู้หญิงเมื่อชาติก่อน ก็จำเทวดาทั้ง 3 ได้ ด้วยอำนาจที่เกิดเป็นเทวดาชั้นสูงกว่า จึงได้ชี้หน้าพูดออกมาดังๆว่า "เจ้าเทวดาจตุทั้ง 3 ชาติก่อนเจ้าเป็นพระภิกษุ ซึ่งข้าได้ทำบุญตักบาตให้เป็นประจำ ฉไหนเจ้าจึงได้เกิดเป็นเทวดาชั้นต่ำกว่าข้าแถมยังเป็นแค่เทวดาฝ่ายดนตรี แล้วบุญที่บวชเป็นพระหายไปไหนหมด" ฝ่ายเทวดาจตุทั้ง 3 พอได้ฟังจากเทวดาที่สูงศักดิ์กว่าดังนี้ทำให้ 2 องค์เกิดสลดใจ จึงลงนั่งสมาธิ ณ. ที่นั้นทันที่จึงทำให้บรรลุปฐมฌานอีกครั้งทันที (หมายเหตุ การที่ กล่าวว่าบรรลุปฐมฌาน ทำไม่ไม่กล่าวว่าทรงฌาน เพราะว่าเมื่อเปลี่ยนภพไปแล้วและฌานได้เสื่อมไปแล้วเมื่อ จะทำฌานก็ต้องเริ่มต้นใหม่) ด้วยผล(อานิสงส์)ของปฐมฌานทำให้จุติจากเทวดาชั้นจาตุไปเป็นพระพรหมทันที่ ส่วนอีกองค์หนึ่งยังคงสถานะเหมือนเดิม นี้และคืออานิสงส์ปัจจุบันของฌานของท่านที่เป็นทิพย์
    
ตัวอย่าง อานิสงส์ปัจจุบันของอัปปะนาสมาธิของท่านที่เป็นมนุษย์เล่าอย่างคร่าวๆ
    
มีมเหสีของกษัตริย์องค์หนึ่ง ในสมัยที่พระพุทธองค์มีประชนชีพอยู่และมีมเหสีรอง ซึ่งเป็นผู้อิจฉาริษยามาก ฝ่ายมเหสีเอกดำรงสถานะเป็นพระโสดาบัน มเหสีรองจึงหาเรื่องกลั่นแกล้ง จนราชาสั่งประ-หารมเหสีเอกพร้อมทั้งบริวารโดยให้ยืนเรียงแล้วยิงธนูใส่ ฝ่ายมเหสีเอกก็บอกกับบริวารว่าไม่ต้องตกใจ ให้แผ่เมตตาให้กับราชาและมเหสีรองกับเหล่าทหารทีกำลังยิงธนูใส่ เมื่อทหารยิงธนูใส่ลูกธนูเหมือนมีชีวิต พอวิ่งเข้ามาใกล้ก็หยุดทันที่และตกลงกับพื้น จนทำให้เป็นที่แปลกใจของทหารและราชา จึงทำการสอบสวนใหม่และปล่อยให้มเหสีพร้อมทั้งบริวารพ้นโทษ
   
  ผลของสมาธิที่เกิดเป็นการเห็นผิด ที่เป็นปัจจุบัน แต่อาจจะเห็นได้ยากเมื่อมีฐิติ และผลที่เห็นชัดเจนนั้นไม่เป็นอันตรายโดยตรงจนกว่าไปผิดศีล
    
1.ผลของ ขนิกะสมาธิที่ผิด เมื่อเอาสมาธิระดับนี้ไปวิเคราะห์ศึกษาสิ่งที่หวังกอบโกยเป็นของตน ก็มีโอกาศที่จะสำเร็จมากขึ้นทำให้เกิดการเบียดเบียนบังเกิดความทุกของสังคม เพราะไม่คอยมีคนดีทีไหนที่จะมาคอยนั่งคิดวิธีป้องกัน เพราะเขาก็ต้องมีภาระของเขา นอกจากรัฐบาล หรือผู้ปกครองในชุมชนนั้นๆ เป็นผู้แก้ไข แต่ผู้ที่กอบโกยก็อย่าเห็นความสุขเฉพาะตนเป็นใหญ่ เพราะถ้าสิ่งรอบข้างเป็นทุกข์แล้ว สักวันหนึ่งความทุกข์นั้นก็จะมาถึงตนในชีวิตนี้
    
2.ผลของอุปจารสมาธิที่เห็นผิด ผู้ที่ถึงอุปจารสมาธิมีโอกาสเห็นผิดได้คือ
  
        2.1 หลงตนว่าวิเศษและเข้าใจผิดยึดมั่นถือมั่นว่าวิธี ตนถูกต้องแล้ว ทั้งทีมีธรรมอื่นๆ  ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
          2.2 หลงยึดมั่นถือมั่นในครูบาอาจารย์ว่าวิเศษเลิศ เกินกว่ามนุษย์ ไม่ยอมรับสิ่งอื่น เพื่อพิจารณา
          2.3 หลงยึดแนวปฏิบัติของตนว่าถูกของผู้อื่นผิด ทั้งที่ เป็นข้อปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนา เหมือนกัน
          2.4 เข้าไปศึกษาคาถาอาคม แล้วเอาคาถาอาคมนั้น ใช้ประโยชน์ส่วนตนกอบโกย ลาภ ยศ สรรเสริญ เบียดเบียนผู้อื่น ผู้ที่หลงไปอย่างนี้จิตใจจะหาความสุขสงบไม่ได้เลย เพราะความสงบของคาถาอาคมที่ใช้ในการเบียดเบียน เมื่อออกมาสู่อารมณ์ปกติ จิตก็จะร้อนรนหาที่ระบาย
    
3.ผลของอัปปะนาสมาธิที่เห็นผิด มีลักษณะเห็นผิดคล้ายกับของอุปจารสมาธิ
    
ตัวอย่าง ผลของอัปปะนาสมาธิที่เห็นผิดได้แก่
            1.
พระเทวะทัด ใช้อภิญญาหลอก พระอชาติศรัทตรู เพื่อจะตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นฌานและอภิญญาเสื่อมไม่มีเหลือ แถมยังต้องตกอเวจีนรก

      ผลของสัมมาสมาธิที่ส่งข้ามภพข้ามชาติ
          1.
ขณิกะสมาธิและอุปจารสมาธิ ถ้าพยายามฝึกและไม่ผิดศีลก็จะเกิดเป็นเทวดาหรือ มนุษย์
          2.
อัปปะนาสมาธิ(ฌาน 1 ถึง ฌาน 8) ถ้าฌานไม่เสื่อมจะเกิดเป็นพระพรหมแน่นอน
    
ตัวอย่าง ผลของขณิกะสมาธิที่ส่งผลข้ามภพข้ามชาติ ตามตำรา
         
ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนชีพอยู่ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเมื่อได้รับมูลฐานกรรมฐานแล้วออกเข้าอยู่ป่า สงัดวิเวกอยู่องค์เดียวทำกรรมฐานอยู่นานหลายพรรษาก็ยังไม่มีธรรมเบื้องสูงเกิดขึ้นเลย ก็จึงตัดสินใจแบบยึดความดีเป็นหลักคือจะนั่งกำหนดกรรมฐานและไม่ยอมฉันอารหารจนกว่าจะมีธรรมเบื้องสูงเกิดขึ้น จึงเริ่มปฏิบัติตามความคิดที่ยึดดี พอถึงวันหนึ่งขนะนั่งกรรมฐานลมในท้องเกิดตีขึ้นอย่างรุนแรงทำให้ขาดใจตายในทันที ก็จุติเป็นเทวดาชั้นดาวดึงค์มีวิมานและบริวารเป็นของตนเองทันที่ด้วยผลบุญที่ยึดดี แต่เนื่องจากเป็นผู้ปารถนาในธรรม และยังมีกัลยามิตรอยู่คือพระพุทธเจ้า ดังนั้นพอจุติปัปยังไม่ได้เสวยสุขอะไรเลยก็รีบเหาะลงมาพร้อมทั้งบริวาร มาเผ้าพระพุทธองค์ทันที่เพราะเป็นช่วงกลางคืน แล้วเล่าความเป็นมาเป็นไปของตนเองให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์จึงเทศนาให้ฟัง ฝ่ายเทวดาที่มาเฝ้าก็บรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที หลังจากนั้นก็พาบริวารกลับวิมานของตนเองเสวยสุขตามฐานะ
     
ตัวอย่าง ผลสมาธิขั้นระดับอัปปะนาในช่วงหม้อข้าวเดือด ที่เกิดจากการแนะนำของพระสารีบุตร
     
เรื่องมีอยู่ว่ามีพราหมณ์ผู้หนึ่ง นับถือลัทธิพราหมณ์จนอายุใกล้ตาย ที่ตนเองหวังว่าจะได้เป็นสหายกับพระพรหมประพฤติปฏิบัติมานานแล้วไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าพอศาสนาพุทธเจริญขึ้น ก็ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้ามีแนวปฏิบัติเพื่อให้ถึงความเป็นสหายของพระพรหม ก็อยากศึกษาดูแต่ยังไม่กล้า เพราะยังติดฐิติอยู่กับความนับถือเก่า แต่เมื่อรู้ตัวว่าใกล้จะตายแล้ว จึงบอกให้ลูกหลานนิมนตร์พระสารีบุตรมาที่บ้าน  เมื่อพระสารีบุตรรับนิมนตร์    ก็ได้มาที่บ้านของพราหมณ์  ฝ่ายพราหม์ก็นิมนตร์ให้นั่งในที่สมควรเพราะตนเองนอนชมอยู่ด้วยโรคชราพราหมณ์ก็พูดว่า "ขอให้พระคุณท่านช่วยแนะนำการเป็นสหายกับพระพรหมในแนวทางของพุทธเจ้าให้กับกระผมด้วย เพราะชีวิตของกระผมเหลือน้อยเต็มทีแล้ว" พระสารีบุตร์ จึงกล่าวกับพราหมณ์ให้ทำใจให้สงบแล้วจงตั้งใจฟังพิจารณาตามไปด้วย ท่านจึงเริ่มกล่าวตั้งแต่การเสียสละทาน(ทำทาน) และการนึกถึงทานที่ให้แล้วแบบที่เป็นกุศล แล้วกล่าวถึงศีลพรตอันไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น และการนึกศีลพรตทีปฏิบัติมาแล้ว แล้วพระสารีบุตรก็ให้พิจารณาดูลมหายใจในอานาปาณะสติ ได้สักครู่หนึ่งพราหมณ์ชราก็มรณภาพพร้อมกับได้ปฐมฌานมีกำลังอย่างกลางจึงได้จุติเป็นพระพรมหชั้นที่ 2 เรียกว่าปุโรหิตพรหมคือเป็นสหายกับท้าวมหาพรหม (ท้าวมหาพรหม คือผู้ที่ได้ปฐมฌานอย่างแก่กล้า และการทีพราหมณ์คนนี้ทำได้ถึงปฐมฌาน เพราะว่าท่านเป็นพราหมณ์ที่ดีมีการให้ทานและรักษาศีลที่ไม่เบียดเบียนเป็นพื้นฐาน และพบกัลยามิตรอย่างพระสารีบุตร)

     อันสมาธิควรปฏิบัติไว้                    เพื่อสบายปัจจุบันและภายหน้า
ฝึกให้เบื่อระอาในกามา                      ไม่หลงบ้ากามารมณ์ตามโลกเป็น
ปฏิบัติเห็นธรรมตามปราชญ์กล่าว     ดังเล่าขานกันมาให้สงบเย็น
สร้างปัญญาวางกิเลสให้เป็น             ให้ได้เช่นอริยะชนก่อนก่อนเอย.
                                                                               28
มี.38

    อ่านหน้าต่อไป 204.html                 กลับไปหน้าแรก   100.html